กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสตรียุคใหม่ ใส่ใจสุขภาพ รู้ทันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
รหัสโครงการ 60-2986-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลตะโละแมะนา
วันที่อนุมัติ 2 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 เมษายน 2560 - 31 สิงหาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 32,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางภัทรพร รัตนซ้อน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะโละแมะนา อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.604,101.401place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 18 ก.ย. 2560 18 ก.ย. 2560 1,200.00
2 21 ก.ย. 2560 21 ก.ย. 2560 7,000.00
3 26 ก.ย. 2560 29 ก.ย. 2560 24,400.00
รวมงบประมาณ 32,600.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นปัญหทางสาธารณสุขของโลก จากรายงานขององค์การวิจัยโรคมะเร็งนานชาติ (International Agency Research on Cancer : IARC) องค์การอนามัยโลก (WHO) ในปี พ.ศ. 2545 มีผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะลูกลามรายใหม่ปีละ 493,243 คน และตายปีละ 273,505 คน และใน 5 ปีจะมีผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกอยู่ 1,409,285 คน ซึ่งจะต้องได้รับการรักษา ในประเทศไทย โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบเป็นอับดับหนึ่งในสตรีไทย มีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณปีละ 6,300 ราย พบมากที่สุดระหว่างอายุ 45-50 ปี ระยะที่พบส่วนใหญ่อยู่ในระระลุกลาม อัตราการอยู่รอด 5 ปี ประมาณร้อยละ 60 จึงมีผู้ป่วยสะสมจำนวนมาก คาดประมาณว่าจะมีผู้ป่วยรายใหม่และรายเก่าที่ต้องติดตามทำการดูแลรักษาอยู่ไม่น้อยกว่า 60,000 คนทั่วประเทศ แต่อัตราการอยู่รอด 5 ปี จะดีขึ้นถ้าพบในระยะเริ่มแรก โรคมะเร็งเต้านมนั้นเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญและเป็นโรคที่พบมากเป็นอันดับที่ 2 ของมะเร็งในหญิงไทยรองจากโรคมะเร็งปากมดลูก แต่เนื่องจากแนวโน้มของุบัติการณ์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงหลัง โดยจากอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งเต้านมในหญิงไทยอยู่ที่ 20.5 รายต่อประชากร 100,000 คน ในปี พ.ศ.2553 เป็นต้นมา โรคมะเร็งเต้านมจึงกลายมาเป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดจากสถิติผู้ป่วยมะเร็งของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ และล่าสุดสถิติสาธารณสุขของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ปี พ.ศ. 2554 พบว่าผู้หญิงไทยป่วยเป็นโรคมะเร็งเต้านมราใหม่ 34,539 คน เสียชีวิต 2,724 คน เฉลี่ยถึงวันละ 7 คน จากจำนวนประชากรไทยกว่าครึ่งที่เป็นเพศหญิง คือ 32,546,885 คน ทำให้มะเร็งเต้านมถือเป็นสาเหตุการป่วยและเสียชีวิตของผู้หญิงไทยมากเป้นอันดับ 1
ทั้งโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมสามารถดูแลป้องกันรักษาได้ในระยะแรกๆ และการป้องกันที่ดีที่สุด คือ การค้นหาผุ้ป่วยให้เร็วที่สุด ดังนั้น การให้ความรู้ การสร้างความตระหนักและการกระตุ้นให้เกิดการดูแลและการป้องกันตัวเองในระยะแรกเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ตลอดจนลดอัตราป่วยและตายของสตรีจากโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม สถานการณ์ปี 2558 ของศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลตะโละแมะนา พบว่า กลุ่มเป้าหมายในชุมชนได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ประมาณปีละ 40 ราย ซึ่งจัดได้ว่าน้อยมากส่วนการตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นการตรวจขั้นต้นนั้น สตรีส่วนใหญ่ยังตรวจไม่ถูกต้อง ดังนั้น ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลตะโละแมะนา ได้เล็งเห็นความสำคัญของการค้นหาผู้ป่วยให้เร็วที่สุดจึงได้จัดทำ " โครงการสตรียุคใหม่ ใส่ใจสุขภาพ รู้ทันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ปี 2560 " ขึ้น เพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ในระยะเริ่มแรก เพื่อให้ครอบคลุมประชากรระดับหนึ่ง ซึ่งจะช่วยลดอัตราป่วยและอัตราด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และตระหนักในเรื่องของมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม และสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองได้อย่างต้อง 2. เพื่อค้นหาผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในระยะแรก 3. เพื่อลดอัตราป่วยและตายด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
  1. สตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30-60 ปี ตรวจเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้องและทำเป็นประจำมากกว่าร้อยละ 65
  2. สตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก มากกว่าร้อยละ 20
  3. ผู้ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อการตรวจวินิจฉัยทีถูกต้อง ร้อยละ 100
  4. ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งได้รับการรักษา ร้อยละ 100
400.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

เชิงรับ
1. จัดกิจกรรมรณรงค์ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในศูนย์สุขภาพชุมชนทุกวันจันทร์ พฤหัสบดี และวันศุกร์ ทั้งให้ความรู้เกี่ยวกับโรค การรักษา ผลกระทบ รวมถึงการป้องกันที่ถูกต้อง 2. สร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้รับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูกทุกคน 3. ให้การรักษาและส่งต่อในรายที่ผลการตรวจผิดปกติ เชิงรุก
1. จัดอบรมเครือข่ายสตรีอาสาต้านภัยมะเร็ง 2. เครือข่ายสตรีอาสาต้านภัยมะเร็ง ให้ความรู้ สร้างความตระหนัก ชักชวนให้สตรีกลุ่มเป้าหมายมารับการตรวจแจ้งแจ้งผลการตรวจมะเร็งปากมดลูกแก่ผู้รับบริการ 3. บริการเคลื่อนที่ (mobile) ในชุมชน โดยมีกิจกรรมตรวจมะเร็งปากมดลูก และตรวจเต้านม พร้อมทั้งให้ความรู้เรืื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและการตรวจเต้านมด้วยตนเอง 4. ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ผ่านสื่อต่างๆ เช่น แผ่นพับ โปสเตอร์ 5. สร้างแรงจุงใจแก่ผู้รับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูกทุกคนและเครื่อข่าย 6. แลกเปลี่ยนประสบการณ์ของผู้ที่เคยมีผลการตรวจคัดกรองที่ผิดปกติ 7. เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร่วมกับเครือข่ายสตรีอาสาต้านภัยมะเร็ง ติดตามเยี่ยมผู้ตรวจพบความผิดปกติหรือผู้าป่วยมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม เพื่อให้เข้ากับการรักษาอย่างต่อเนื่องตามนัด

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกิดเครือข่ายต้านภัยมะเร็งในชุมชน และสามารถให้ความรู้เบื้องต้นแก่สตรีกลุ่มเป้าหมายได้
  2. สตรีกลุ่มเป้าหมายตระหนักถึงอันตรายของโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก และให้ความสนใจในการเข้ารับการตรวจมะเร็งปากมดลูก มากกว่า ร้อยละ 20
  3. ผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มต้นได้รับการรักษา
  4. อัตราป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมลดน้อยลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2560 14:38 น.