กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการเรียนรู้การดูแลตนเองด้านสุขภาพแบบองค์รวมในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
รหัสโครงการ 60-2986-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลตะโละแมะนา
วันที่อนุมัติ 2 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 27,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางภัทรพรรัตนซ้อน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะโละแมะนา อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.604,101.401place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 11 ส.ค. 2560 11 ส.ค. 2560 4,800.00
2 22 ก.ย. 2560 22 ก.ย. 2560 4,200.00
3 29 ก.ย. 2560 29 ก.ย. 2560 18,400.00
รวมงบประมาณ 27,400.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 56 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานที่สำคัญ คือ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมซึ่งส่วนมากเป็นปัจจัยที่เป็นผลจากพฤติกรรมสุขภาพ ได้แก่ การไม่ควบคุมน้ำหนัก ขาดการออกกำลังกาย บริโภคไม่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ รวมถึงการสูบบุหรี่และพฤติกรรมด้านความเครียด
ผลกระทบจากโรคเบาหวาน เมื่อมีโรคแทรกซ้อนเฉียบพลันและเรื้อรัง ได้แก่ โรคแทรกซ้อนเฉียบพลัน ได้แก่ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ น้ำตาลในเลือดสูงรุนแรง โรคแทรกซ้อนเรื้อรัง เช่น โรคแทรกซ้อนเรื้อรังที่ตา ไต ระบบประสาท ปัญหาที่เท้า ตลอดจนกลุ่มโรคทางเมตาบอลิก อันมีโรคเบาหวานเป็นตัวการสำคัญ ซึ่งกำลังเป็นปัยหาและภาวะคุกคามมั่นคงความมั่นใจในสุขภาวะของประชาชนชาวไทยมากขึ้นทุกปี คุกคามทั้งคุณภาพชีวิต ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยโรคแทรกซ้อนทางหลอดเลือดขนาดใหญ่ ร้อยละ 75 ตำบลตะโละแมะนาเห็นความสำคัญในการเฝ้าระวังให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีการจัดการและมีคุณภาพชีวิตที่ดี จึงมีการดำเนินงาน DHS คือ อำเภอจัดการสุขภาพระดับอำเภอ และตำบลตะโละแมะนาเป็นตำบลนำร่องในการดูแลสุขภาพผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถดูแลสุขภาพตนเองและคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนกันเอง โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ ปี 2557-2559 และเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องของงาน DHS จึงต้องจัดการการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอในชุมชน จากการสำรวจข้อมูลผู้ป่วยเบาหวานในตำบลตะโละแมะนา ปี 2559 พบว่า มีผู้ป่วย จำนวน 43 ราย ขาดนัด จำนวน 8 ราย ควบคุมน้ำตาลไม่ได้ จำนวน 26 ราย ในปี 2559 มีผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มขึ้นเป็น 56 ราย จากการดำเนินงานที่ผ่านมาแกนนำแบ่งกลุ่มผู้ป่วยตามกลุ่ม จราจร 7 สี พบว่าอยู่ในกลุ่ม มีภาวะแทรกซ้อน จำนวน 10 ราย และมีกลุ่มที่ปรับเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น บางรายก็สามารถรักษาระดับน้ำตาลไม่ให้เพิ่มขึ้นได้ โดยแยกการดูแลเป็นรายหมุ่บ่้าน ผลการดำเนินงาน ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนสัญลักษณ์สีไปทางที่ดีขึ้น ร้อยละ 10 , 10.20 , 8.51 ผู้ป่วยเปลี่ยนสัญลักษณ์สี แบบคงสภาพเดิม ร้อยละ 67.5 , 71.42 , 80.85 ,
ตำบลตะโละแมะนาเริ่มดำเนินการเป็นชุมชนนำร่องงานพัฒนาระบบสุขภาพระดับอำเภอในเรื่อง การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งมาดำเนินกิจกรรมมาอย่างต่อเนื่อง และจำเป็นต้องให้ผู้ป่วยเกิดการเรียนรู้ในการเฝ้าระวังสสุขภาพ และชุมชนให้ความสำคัญ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์การดำเนินงานในพื้นที่ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.1 เพื่อค้นหาผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน ให้ได้รับการส่งต่อและรักษาอย่างเหมาะสม 1.2 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดตามสถานะปิงปองจราจร 7 สี ในระดับคงสภาพ และเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น

 

56.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
28 ก.ย. 60 กิจกรรมที่ 1 อบรม ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติ กิจกรรมที่ 2 เวทีพบปะคืนข้อมูลและเรียนรู้สถานะสุขภาพตามแบบปิงปองจราจร 7 สี สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน 56 27,400.00 -
รวม 56 27,400.00 0 0.00
  1. ขั้นเตรียมการ 1.1จัดประชุมชี้แจงแกนนำชุมชนตำบลตะโละแมะนา 1.2จัดทำแผนปฏิบัติการโครงการ 1.3 จัดทำโครงการเสนอผู้มีอำนาจเพื่อขออนุมัติโครงการ
  2. ขั้นดำเนินการ 2.1ประชุมชี้แจงทีมงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ 2.2สำรวจกลุ่มเป้าหมาย คืนข้อมูลผู้ที่เกี่ยวข้อง 2.3ประชาคมและคืนข้อมูลสุขภาพ แกนนำ/ อสม./ จิตอาสา/ ผู้นำชุมชน/ ผู้ป่วยเรื้อรังเพ่อหามตินโยบายสาธารณร่วมกัน 2.4จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติ ในการดูแลตนเอง 2.5ประชุมพบปะ คืนข้อมูลและผู้ป่วยเรียนรู้สถานะตนเอง ตามแบบ ปิงปองจราจร 7 สี
    2.6กิจกรรมชมรม เพื่อนช่วยเพื่อน ตามหลัก 3 อ 2 ส " กินในสิ่งที่ปลูก ปลูกในสิ่งที่มี ที่เหลือแบ่งปัน " 2.7กิจกรรมชมรม เพื่อนช่วยเพื่อน แกนนำเยี่ยมบ้านผู้ป่วยในชมรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนได้รับการส่งต่อและรักษาอย่างเหมาะสม
  2. ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดตามสถานะปิงปองจราจร 7 สีในระดับคงสภาพ และเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ร้อยละ 10
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2560 15:06 น.