กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนก้าวไกลไปกับงานคุ้มครองผู้บริโภค
รหัสโครงการ 60-2986-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำตำบลตะโละแมะนา
วันที่อนุมัติ 2 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2560 - 25 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 18,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเจ๊ะเสาะสาแม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะโละแมะนา อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.604,101.401place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 90 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบบันจากสถิติการป่วยและเสียชีวิตของคนไทยพบว่าป่วยด้วยโรคที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพเป็นอันดับต้นๆ เช่น โรคมะเร็งทุกชนิด โรคหัวใจขาดเลือด โรคเส้นเลือดในสมองอุดตันเป็นต้น ซึ่งสาเหตุหนึ่งจากการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย อาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยที่จำเป้นต่อการดำรงชีวิต การบริโภคอาหารที่ไม่สะอาดเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ โดยมีเชื้อโรคและสารปนเปื้อนหลายชนิดที่เป็นอันตรายถึงชีวิต หลักสำคัญในการเลือกอาหารนอกเหนือจากรสชาติอาหารแล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงและพิจารณาควบคู่ไปด้วย คือ คุณค่าตามหลักโภชนาการ คุณภาพ ความสะอาดและปราศจากสารปนเปื้อน การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข เป็นงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับประชาชน และต่อสภาวะเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ มีความครอบคลุมในเรื่องของความปลอดภัย คุณภาพมาตรฐาน การปะกอบธุรกิจและการโฆษณาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยในปัจจุบันพบการปนเปื้อนของอาหารจากสารที่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภคในหลายพื้นที่ของประเทศ ซึ่งเป็นปัญหาสำหรับการคุ้มครองผู้บริโภค โดยสารปนเปื้อนในอาหารที่พบมากคือ สารบอแรกซ์ สารฟอกขาว และน้ำยาดองศพ ซึ่งปนเปื้อนกับอาหารที่ผู้บริโภคโดยส่วนใหญ่นิยมรับประทาน ทั้งนี้ผู้จำหน่ายบางรายอาจไม่ทราบถึงผลิตภัณฑ์ที่ตนเองจำหน่ายว่ามีการปนเปื้อนสารเหล่านี้อยู่ หรือบางรายอาจทราบแต่ยังไม่ตระหนักถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค ซึ่งหากทราบถึงปัญหา จะได้มีการดำเนินการแก้ไขและทำการเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ที่เสี่ยงต่อการใส่สารดังกล่าวให้ผู้บริโภคได้รับความปลอดภัย ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายมีความตระหนักถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคให้มากขึ้น ตำบลตะโละแมะนา มีร้านอาหาร จำนวน 14 ร้าน ร้านขายของชำ จำนวน 23 ร้าน และแผงลอย จำนวน 12 แผง ซึ่งนับว่ามากพอสมควร ถ้าเราปล่อยปะละเลย ไม่ให้ความสำคัญ ไม่มีการควบคุมคุณภาพ ผู้บริโภคอาจได้รับอันตรายจากการบริโภคผลิตภัณฑ์จากร้านค้า ร้านอาหารเหล่านี้ได้ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข เล็งเห็งถึงความสำคญในส่วนนี้ จึงได้จัดทำโครงการชุมชนก้าวไกลไปกับงานคุ้มครองผู้บริโภคอาหารปลอดภัยขึ้นในปี งบประมาณ 2560 เพื่อให้มีการทราบถึงปัญหาที่พบและเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องกับท้องถิ่น รวมถึงการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้ทราบถึงอันตรายที่เกิดจากการใส่สารปนเปื้อน ดังกล่าวต่อไปนี้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.1 เพื่อเพิ่มพูนองค์ความรู้และเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการและผู้บริโภคให้ตระหนักและเฝ้าระวังตนเองจากการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม 1.2 เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารและร้านจำหน่ายอาหารภายในชุมชน 1.3 เพื่อสร้างภาคีเครือข่ายและความเข้มแข็งให้กับผู้บริโภค

    1. ผู้ประกอบการร้านค้า ร้านอาหารและแผงลอย เข้าร่วมกิจกรรม ร้อยละ 80     2. ผู้ประกอบการร้านค้า ร้านอาหารและแผงลอยมีความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ  90     3. ร้านอาหารผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 100

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

2.1 อบรมให้ความรู้เรื่องอาหารปนเปื้อน สารเคมีตกค้าง กระบวนการผลิตอาหารปลอดภัยในชุมชนมาตรการคุ้มครองสินค้าที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพในร้านค้าชุมชน เช่น เหล้า บุหร่ี่ ยาชุด เครื่องสำอางและอาหารที่ไม่มีตรา อย. แก่ ผู้ประกอบการร้านค้า ร้านอาหาร แกนนำสร้างสุขภาพ 2.2 เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพและความปลอดภัยด้านอาหาร เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและแก้ไขปัญหาสารปนเปื้อนในอาหารของชุมชน 2.3 พัฒนาสื่อสุขศึกษาและช่องทางการถ่ายทอดความรู็ด้านอาหารปลอดภัย แก่ผู้บริโภค/ผู้ประกอบการและเงื่อนไขการดำเนินงาน 2.4 ส่งเสริมการสนับสนุนการสร้างกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการตรวบจสอบ ประเมินและแก้ไขปัญหาสารปนเปื้อนในอาหารของชุมชน 2.5 ดำเนินการตรวจร้านค้า ร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารภายในเขตตำบลตะโละแมะนาตามมาตรฐานการจัดตั้งร้านค้า ร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายที่ถูกหลักสุขภิบาล 2.6 จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์แสดงผลการตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหาร ให้ผู้ประกอบการทราบ โดยติดไว้ที่สาธารณะชุมชน 2.7 จัดทำป้าย Clean Food Good Test มอบแก่ร้านอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้บริโภคทั้งภายในตำบลตะโละแมะนาและภายนอกได้รับความปลอดภัย ส่งผลให้ประชาชนในตำบลตะโละแมะนาได้รับความคุ้มครองความปลอดภัยในการบริโภคอาหารอย่างครอบคลุมมากขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2560 15:15 น.