กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจสารเคมีตกค้างในร่างกาย ตำบลสวี อำเภอสวี จังหวัดชุมพร ปีงบประมาณ 2561
รหัสโครงการ 11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสวี
วันที่อนุมัติ 25 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 12 กันยายน 2561 - 20 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 19 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายกฤษฎ์กัมพล บัวยุบล
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาววันเพ็ญ ชวงศ์
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสวี อำเภอสวี จังหวัดชุมพร
ละติจูด-ลองจิจูด 10.247,99.081place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 12 ก.ย. 2561 20 พ.ย. 2561 15,000.00
รวมงบประมาณ 15,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

วิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกร คิดเป็นร้อยละ 80 ของประชากรในประเทศ จากสภาพเศรษฐกิจและสังคมยุคปัจจุบันการแข่งขันให้ได้ผลผลิตทางการเกษตร เพื่อให้มีกำไรมากที่สุด ใช้ระยะเวลาในการผลิตน้อยลง เกษตรจึงคิดค้นหาวิธีการใหม่ๆ รวมทั้งการใช้สารเคมรเพื่อเร่งผลผลิต หรือกำจัดศัตรูพิชอย่างแพร้หลายเป็นผลให้เกษตรกรมีความเสี่ยงที่จะได้รับสารเคมีเข้าสะสมในร่างกายและตกค้างในกระแสเลือดได้ ซึ่งสารเคมีเหล่านี้มีทั้งที่ทำให้เกิดพิษต่อร่างกายทันที อาจมีอาการเล็กน้อยจนถึงขั้นมีอาการรุนแรง ได้แก่ อาการปวดศรีษะ วิงเวียนศรีษระ หน้ามืด ตาลาย ปวดแน่นท้อง ชัก ตับวาย หัวใจวาย บางรายอาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตในที่สุด และสารเคมีบางชนิดสามารถสะสมในร่างกายนานๆ จะก่อพิษเรื้อรังทำอัตรายต่อตับ ไต กดภูมิคุ้มกันในร่างกาย ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนแก่เกษตรกรได้ง่าย พื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสวี อำเภอสวี จังหวัดชุมพร เป็นพื้นที่หนึ่งที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมากถึงร้อยละ 80 ของพื้นที่ทั้งหมดซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ปลูกยางพารา ปาล์มนำ้มัน สวนทุเรียน สวนสับปะรด สวนผลไม้ชนิดต่างๆ เป็นจ้น ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช จึงกระจายและขยายวงกว้าง ซึ่งในการนำสารเคมี ในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืชมาใช้นั้น เกษตรกรยังขาดความรู้ วิธีการใช้สารเคมี และวิธีการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีที่ถูกต้อง จึงทำให้เกิดผลกระทบกับด้านสุขภาพโดยตรง จากสถานการณ์ข้างต้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสวี ได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรในเขตพื้นที่รับผิดชอบ จึงได้จัดทำโครงการตรวจสารเคมีตกค้างในร่างกาย ตำบลสวี อำเภอสวี จังหวัดชุมพร ปีงบประมาณ 2561 ขึ้นเพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่รับผิดชอบ ได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือด เพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใดเพื่อทำการเฝ้าระวังและเสริมสร้างความรู้และความตระหนักถึงอันตรายจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช และมีพฤติกรรมในการประกอบอาชีพที่ถูกต้องต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 15,000.00 0 0.00
20 ก.ย. 61 ฝึกอบรม 0 15,000.00 -
  1. จัดอบรมเกษตรกรและผู้สัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเรื่องการใช้สารเคมี การป้องกันตนเองจากการได้รับสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย การปฐมพยาบาลเมื่อได้รับสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย
  2. จัดทำทะเบียนเกษตรกรและผู้สัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพื่อประเมินความครอบคลุมการตรวจคัดกรองหาระดับปริมาณสารเคมีตกค้างในเลือด
  3. บริการตรวจคัดกรองหาระดับปริมาณสารเคมีตกค้างในเลือดแก่เกษตรกรและผู้สัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพิช
  4. บริการแจ้งค่าและอธิบายความหมายพร้อมคำแนะนำในการปฏิบัติตัวที่เหมาะสม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกษตรกรและผู้สัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้รับความรู้ในการปฏิบัติตวเพื่อป้องกันอันตรายจากสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย
  2. เกษตรกรและผู้สัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้รับการตรวจคัดกรองหาระดับสารเคมีตกค้างในเลือด และทราบผลระดับความเสี่ยงของจนเอง
  3. กลุ่มเสี่ยงได้รับการดูแลและสามารถดูแลตนเองได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 พ.ย. 2561 20:33 น.