กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเด็กยาบีสุขภาพฟันดี เริ่มต้นที่บ้าน
รหัสโครงการ 60-L3070-1-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยาบี
วันที่อนุมัติ 23 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวปาอีซะห์ กาโฮง
พี่เลี้ยงโครงการ นายแวฮาซัน โตะฮิเล
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยาบี อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.782,101.246place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สุขภาพช่องปากมีผลต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจของเด็ก หากเด็กเล็กมีฟันผุในระดับที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดหรือมีการติดเชื้อของฟัน จะมีผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมของเด็ก อาทิ การมีน้ำหนักส่วนสูงต่ำ และมีสติปัญญาช้ากว่าเด็กที่ไม่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก เพราะในภาวะที่เด็กมีความเจ็บปวดและอยู่ในระหว่างการติดเชื้อของฟัน เด็กจะรับประทานอาหารได้น้อยลง ในขณะเดียวกันอัตราการเผาผลาญพลังงานโดยรวมในร่างกายเพิ่มขึ้นเพื่อตอบสนองต่อการติดเชื้อ รวมถึงการมีความเจ็บปวดทำให้รบกวนการนอน ส่งผลต่อการหลั่งฮอร์โมนที่ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย ทำให้มีผลต่อพัฒนาการของเด็กในที่สุด นอกจากนี้ในเด็กที่มีการสูญเสียฟันน้ำนมด้านหน้าบนไปตั้งแต่อายุน้อยๆจะส่งผลต่อพัฒนาการในการพูดและความเชื่อมั่น ในตนเองของเด็กอีกด้วย
จากข้อมูลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพเด็กอายุ 0-3 ปีในตำบลยาบี ปีพ.ศ.2557 พบว่าเด็กมีฟันผุร้อยละ 78.2 ซึ่งสูงกว่าตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดตัวชี้วัดเกี่ยวกับสุขภาพช่องปากของเด็ก 0-3 ปี มีฟันน้ำนมผุไม่เกินร้อยละ 57 ฟันน้ำนมผุในเด็กเริ่มพบได้ตั้งแต่อายุ 9 เดือน และพบเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงอายุ 1-3 ปีฟันผุ ซึ่งสาเหตุหลักๆ เกิดจากการที่เด็กไม่ได้รับการแปรงฟันหรือแปรงฟันไม่สะอาดไม่ได้รับบริการเคลือบฟลูออไรด์ในสถานบริการ เนื่องจากผู้ปกครอง ร้อยละ 17.5 ปฏิเสธวัคซีนร้อยละ 20.2 ผู้ปกครองไม่มีเวลา ไม่สะดวกมารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ทำให้ขาดการทาฟลูออไรด์ และความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากทำให้มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีโทษต่อฟัน
จากปัญหาทันตสุขภาพดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยาบี จึงได้จัดทำโครงการ“ เด็กยาบีสุขภาพฟันดีเริ่มต้นที่บ้าน ” ขึ้น เพื่อส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในกลุ่มเด็ก 0-3 ปี ให้มีพัฒนาการสมวัยด้านทันตสุขภาพ คือมีฟันน้ำนมขึ้นตามช่วงอายุ และไม่สูญเสียฟันน้ำนมก่อนวัยอันควร ป้องกันตั้งแต่ฟันน้ำนมซี่แรกงอกอย่างต่อเนื่องโดยลงให้บริการทันตสุขภาพพื้นที่เชิงรุก เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อโรคฟันผุของเด็ก การให้ทันตสุขภาพแก่ผู้ปกครองเพื่อสร้างความตระหนักและก่อให้เกิดพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพเด็กได้อย่างเหมาะสมและได้รับฟลูออไรด์เฉพาะที่ เพื่อให้เด็กมีทันตสุขภาพที่ดีต่อไปในอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ปกครองเด็ก 0-3 ปีมีการทำความสะอาดช่องปากเด็กอย่างมีประสิทธิภาพ

 

2 2. เพื่อให้เด็ก 0-3 ปี ได้รับบริการทาฟลูออไรด์เชิงรุก

 

3 3. เพื่อให้เด็ก 0-3 ปี มีแนวโน้มฟันน้ำนมผุเฉลี่ยลดลงจากเดิม

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1. เพื่อให้ผู้ปกครองเด็ก 0-3 ปีมีการทำความสะอาดช่องปากเด็กอย่างมีประสิทธิภาพ

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : 2. เพื่อให้เด็ก 0-3 ปี ได้รับบริการทาฟลูออไรด์เชิงรุก

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : 3. เพื่อให้เด็ก 0-3 ปี มีแนวโน้มฟันน้ำนมผุเฉลี่ยลดลงจากเดิม

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

1.ขั้นเตรียมการ 1.1 สำรวจข้อมูลทั่วไปข้อมูลทันตสุขภาพ 1.2 รวบรวมข้อมูล 1.3 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการโยงใยสาเหตุของปัญหา และวางแผนการดำเนินการเครือข่ายผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน อสม. เจ้าหน้าที่สาธารณสุข
๑.๔ นำเสนอที่ปรึกษา ๑.๕ ร่างโครงการ 2.ขั้นดำเนินการ ๒.๑ อบรมฟื้นฟูอสม.ทันตเชิงรุกทักษะการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก0-3 ปีความรู้เรื่องอาหาร พฤติกรรมการบริโภคความรู้เรื่องจำนวน 15 คน 2.2 ให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กแก่ผู้ปกครอง ทักษะการดูแลช่องปาก, การเช็ดเหงือก, การแปรงฟัน, ให้ความรู้เรื่องฟลูออไรด์ , ให้ความรู้เรื่องอาหารและพฤติกรรมบริโภคอาหารที่เหมาะสมในเด็ก 0-3 ปี 2.3 พัฒนาระบบบริการทันตสุขภาพเชิงรุก ออกให้บริการในชุมชน ที่บ้านร่วมกับอสม.เชิงรุก หมอครอบครัวตำบลลงพื้นที่ ตำบลยาบีเดือนละครั้ง / คน ลงพื้นที่ตรวจฟัน,ให้ทันตสุขศึกษา , ทาฟลูออไรด์วานิช , ฝึกปฏิบัติการแปรงฟัน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ปกครองเด็ก 0-3 ปีมีการทำความสะอาดช่องปากเด็กอย่างมีประสิทธิภาพ 2.เด็ก 0-3 ปี ได้รับบริการทาฟลูออไรด์เชิงรุก
3.เด็ก 0-3 ปี มีแนวโน้มฟันน้ำนมผุเฉลี่ยลดลงจากเดิม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2560 16:33 น.