โครงการรณรงค์คัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

สรุปผลการดำเนินโครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ก่อนดำเนินโครงการ/กิจกรรมพบว่ากลุ่มเป้าหมายในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสาวอ ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการดูแลตรวจสุขภาพของตนเองในเรื่องการตรวจเต้านม น้อยกว่าร้อยละ ๙๐ และตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก น้อยกว่าร้อยละ ๔๐ สังเกตได้จากข้อมูลการมารับบริการในช่วงเดือน ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ ถึง ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๐ พบว่าผู้บริการมารับบริการการตรวจมะเร็งเต้านมเพียงร้อยละ ๕๐ และมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ ๑๐ เนื่องจากภาคีเครือข่ายมีการเชิญชวน ประชาสัมพันธ์และโน้มน้าวผู้มารับบริการค่อนข้างน้อย ประกอบกับกลุ่มเป้าหมายมีความเขินอายและไม่กล้าขอคำปรึกษาในเรื่องอวัยวะสำคัญของเพศหญิง เนื่องจากตนเองยังไม่มีอาการเจ็บป่วยหรือพบความผิดปกติใดๆในร่างกาย และยังสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติจึงไม่จำเป็นต้องตรวจสุขภาพแบบเร่งด่วน หลังจากดำเนินโครงการให้ความรู้ ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขเพื่อฟื้นฟูความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก/มะเร็งเต้านม สอนวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก/มะเร็งเต้านม รวมทั้งแลกเปลี่ยนเทคนิคการพูดและการโน้มน้าวกลุ่มเป้าหมายให้มาตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม/มะเร็งปากมดลูกร่วมกัน ทำให้มีประชาชนและกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ให้การตอบรับคำเชิญชวนและยินยอมเข้าร่วมรับฟังโครงการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและปากมดลูกร้อยละ ๑๐๐ ยินยอมให้เจ้าหน้าที่ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขคัดกรองมะเร็งเต้านมได้มากขึ้น คือ ร้อยละ ๙๕ ซึ่งบรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ คือ กลุ่มเป้าหมายต้องได้รับการคัดกรองมะเร็งเต้านมร้อยละ ๙๐ และยินยอมให้เจ้าหน้าที่ตรวจมะเร็งปากมดลูกได้ร้อยละ ๒๕ แต่ยังไม่ผ่านเกณฑ์ที่วางไว้ คือได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกไม่ถึง ร้อยละ ๔๐ เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายที่เหลือส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่ปฏิเสธการรับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยเหตุผลและขีดจำกัดมากมายเช่น ไม่สะดวกมารับบริการในวันที่ให้บริการ ไปรับบริการแล้วเจ้าหน้าที่ติดประชุม ไม่ยินยอมทำการตรวจเนื่องจากสามีไม่อนุญาตและด้วยเหตุผลอื่นๆอีกมากมาย แต่ทั้งนี้ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสาวอร่วมกับภาคีเครือข่ายก็มิอาจหยุดความพยายามและโน้มน้าวและประชาสัมพันธ์กลุ่มเป้าหมายโดยมีแผนให้บริการเชิงรุกตามบ้าน และคาดว่าจะมีผู้ยินยอมรับการตรวจมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนดต่อไป
ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานโครงการเพื่อการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น ควรมีการจัดดำเนินงานและให้ความสำคัญเกี่ยวกับการให้ความรู้ ติดตามและกระตุ้นให้มารับบริการอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ทีมงานเครือข่ายในชุมชนควรเป็นเสาหลักของชุมชน เพื่อเป็นฝ่ายขับเคลื่อนการดำเนินงาน/กิจกรรม และร่วมกันติดตาม ดูแล ให้ความสำคัญต่อสุขภาพขั้นพื้นฐานร่วมกับบุคลากรในหน่วยบริการอย่างต่อเนื่อง
ประกอบด้วย