กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกัน ระงับโรคติดต่อนำโดยแมลง ตำบลบ้านควน ปีงบประมาณ 2562
รหัสโครงการ 62-L5307-5-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มป้องกันควบคุมโรค ตำบลบ้านควน
วันที่อนุมัติ 15 มกราคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2562 - 31 ธันวาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 มกราคม 2563
งบประมาณ 57,920.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางฮอดีย๊ะ ตะหวัน ประธานกลุ่มป้องกันและควบคุมโรคตำบลบ้านควน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านควน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 15 ม.ค. 2562 31 ธ.ค. 2562 57,920.00
รวมงบประมาณ 57,920.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 11022 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 พบการระบาดของโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายแต่ละหมู่บ้าน(จำนวนหมู่บ้าน)
7.00
2 จำนวนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด(คน)
74.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้ปวดข้อยุงลายหรือชิคุนกุนยา (Chikungunya fever) จากการรายงานในระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 - 2560 พบผู้ป่วยสูงสุดในปี พ.ศ. 2557 จ านวน 190 ราย อัตราป่วย 0.29
ต่อประชากรแสนคน แต่ในปี พ.ศ. 2558 - 2560 ผู้ป่วยลดลงอย่างต่อเนื่องและลดลงตำ่สุดในปี พ.ศ. 2560 จำนวน 10 ราย อัตราป่วย 0.01 ต่อประชากรแสนคน ยังไม่รายงานผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 – 20 พฤศจิกายน 2561 พบผู้ป่วยสะสม 890 ราย อัตราป่วย 1.35 ต่อประชากรแสนคน สูงกว่าในรอบ 5 ปีที่ผ่านมาถึง 37 เท่า เป็นผู้ป่วยเพศหญิง 552 ราย เพศชาย 338 ราย อัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิงเท่ากับ 1 : 1.63 พบผู้ป่วยได้ทุกกลุ่มอายุ ส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงานและสูงสุดใน กลุ่มอายุ 10 – 14 ปี อัตราป่วย 2.45 ต่อประชากรแสนคน รองลงมาคืออายุ30 -34 ปี (2.01)อายุ25 -29ปี(1.96) อายุ 20 – 24 ปี (1.86) และ 35 - 39 ปี(1.66) ตามลำดับ ประกอบอาชีพรับจ้างหรือกรรมกรมากที่สุด ร้อยละ 35.73 รองลงมาคือนักเรียน (26.63) และงานบ้าน (12.92) สัปดาห์ที่ (14 -20 พฤศจิกายน 2561) มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้ปวดข้อยุงลายรายใหม่จ านวน 248ราย จาก 8 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ภูเก็ต สงขลา สตูล ตรัง พัทลุง ปัตตานี และนราธิวาส ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในภาคใต้ อัตราป่วย 9.43 ต่อประชากรแสนคน ได้แก่ จังหวัดสตูล นราธิวาส สงขลา ภูเก็ต และตรัง อัตราป่วย 68.83, 28.29, 25.85, 5.67 และ 3.74 ต่อประชากรแสนคนตามลำดับและพบมากในช่วงฤดูฝนตามจำนวนประชากรยุงมีรายงานผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือน พฤษภาคมและสูงสุดในเดือนพฤศจิกายน ร้อยละ 28.20 รองลงมาคือเดือนตุลาคม (24.27) สิงหาคม (14.61) และกันยายน (11.24)
จำนวนและอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนโรคไข้ปวดข้อยุงลาย รายจังหวัดและอ าเภอที่พบผู้ป่วย พ.ศ. 2561จังหวัดสตูล พบผู้ป่วยในเขตอำเภอเมืองสตูล ควนโดน ท่าแพ ละงู ทุ่งหว้า จำนวน 221อัตราป่วยต่อประชากรแสนคน 68.83 สถานการณ์โรคไข้ปวดข้อยุงลายสัปดาห์นี้ยังคงระบาดในพื้นที่ภาคใต้ และพบประปรายบางจังหวัดในภาคกลางและภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยพบว่า ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 มี ผู้ป่วยถึง 890 รายและมีแนวโน้มการระบาดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้นจึงควรมีมาตรการและการเฝ้าระวังโรคโดยเฉพาะในกลุ่มวัยทำงานที่มีความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ รับจ้างหรือเกษตรกรรมที่พบมีการรายงานสูงกว่ากลุ่มวัยอื่นๆ ปัจจัยส าคัญที่ทำให้เกิดการระบาดของโรค ไข้ปวดข้อยุงลายคือยุงพาหะนำโรค ดังนั้นการการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงยังคงเป็นมาตรการที่ต้องเน้นยำ้ และให้ความสำคัญและเพื่อควบคุมการระบาดของโรคนอกจากการเฝ้าระวังและคัดกรองกลุ่มเสี่ยงแล้ว การสื่อสาร ให้ประชาชนตระหนักในการป้องกันตนเองจากการถูกยุงกัด เช่น การสวมเสื้อแขนยาวขายาว ทายากันยุง เป็นต้น
จากสถานการณ์ข้างต้นอาจคาดการณ์ว่าในปี 2562 อาจมีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกและไข้ปวดข้อยุงลาย ตลอดทั้งปีจึงจำเป็นต้องมีมาตรการเฝ้าระวังป้องกันควบคุม เตรียมทั้งด้านงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ เพื่อความพร้อมในการดำเนินงาน กลุ่มป้องกันควบคุมโรคตำบลบ้านควน จึงขอแสนอโครงการป้องกันควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง ตำบลบ้านควน ปีงบประมาณ2562 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออกและไข้ปวดข้อยุงลาย

อัตราป่วยต่อประชากรแสนคน ไม่เกิน 50 ต่อ แสนประชากร

0.00
2 เพื่อลดจำนวนประชากรยุงลายที่เป็นสาเหตุของโรคไข้เลือดออกในสถานศึกษา

พ่นสารเคมีกำจัดยุงตัวแก่ในสถานศึกษาอย่างน้อย 1 ครั้ง ต่อ ปี (สถานศึกษาในพื้นที่ จำนวน 8 แห่ง)

8.00
3 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการป้องกัน ระงับโรคติดต่อนำโดยแมลง ทุกภาคส่วนในตำบล

มีการประชุมเครือข่ายสุขภาพระดับตำบล อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ม.ค. 62 - 31 ธ.ค. 62 ป้องกันและระงับโรคติดต่อนำโดยแมลง 11022 51,000.00 35,500.00
11 มิ.ย. 62 ประชุมเครือข่ายสุขภาพตำบลบ้านควน 0 1,250.00 0.00
24 ก.ค. 62 ประชุมทำความเข้าใจร่วมกันของภาคีในการทำงานป้องกัน ระงับโรคในชุมชน 50 2,500.00 2,500.00
25 ก.ค. 62 ฟื้นฟูทักษะทีมงานพ่นสารเคมี 10 3,170.00 3,170.00
รวม 11,082 57,920.00 4 41,170.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถควบคุมและระงับโรคไข้เลือดออกและไข้ปวดข้อยุงลายในพื้นที่ตำบลบ้านควน
  2. ประชาชนให้ความร่วมมือในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในครัวเรือน
  3. เครือข่ายสุขภาพตำบล มีส่วนร่วมในการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกและไข้ปวดข้อยุงลาย อย่างต่อเนื่อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 พ.ย. 2561 00:00 น.