กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

โครงบทสรุป โครงการดูแลสุขภาพชาวสาวอห่างจากโรคเรื้อรัง โครงการดูแลสุขภาพชาวสาวอห่างจากโรคเรื้อรัง  ดำเนินโครงการ/กิจกรรม โดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสาวอ มีการจัดกิจกรรมร่วมกันเมื่อวันที่ ๑๘ – ๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๐ ณ.ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสาวอ เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการตรวจคัดกรองความดัน/เบาหวาน สามารถค้นหาและคัดกรองกลุ่มเสี่ยง กลุ่มปกติ กลุ่มผู้ป่วยได้ ร้อยละ ๙๐ และเพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากโรคเรื้อรัง  กลุ่มผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ถูกต้องและป้องกันตนเองไม่ให้มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคอื่นๆ และได้รับการส่งต่อผู้ป่วยร้อยละ ๑๐๐ สรุปผลการดำเนินโครงการดูแลสุขภาพชาวสาวอห่างจากโรคเรื้อรัง    ก่อนดำเนินโครงการพบว่า ประชาชนอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป เข้าถึงบริการสาธารณสุข ไม่ครอบคลุม ด้วยอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอกับภาระงาน ประกอบกับการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการดูแลโรคเรื้อรังไม่ทั่วถึงทำให้ประชาชนได้รับในการดูแลคัดกรองโรคเรื้อรังไม่ครอบคลุมร้อยละ ๙๐ ประกอบกับเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  มีการแข่งขันสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัว การเร่งรีบกับการทำงาน  บริโภคอาหารโดยไม่ได้คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการ  มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง  ภาวะเครียด  ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังเพิ่มขึ้น  ซึ่งในพื้นที่พบผู้ป่วยเบาหวาน ถูกตัดขาจากการดูแลบาดแผลไม่ถูกวิธี ทำให้ผู้ป่วยสูญเสียโอกาสและกระทบต่อสุขภาพจิตใจและความเป็นอยู่  ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข ก่อนดำเนินงาน ประชาชนอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป จำนวน ๖๕๐ คน ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง จำนวน ๕๗๕ คิดเป็นร้อยละ ๘๘.๔๖ พบกลุ่มปกติ ๓๔๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๐.๓๔ กลุ่มเสี่ยง ๒๐๑ คน ร้อยละ ๓๔.๙๕ กลุ่มป่วย ๒๗  คน ร้อยละ ๔.๖๙  และจำนวนประชาชนอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป จำนวน ๖๕๐ ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน จำนวน ๕๗๕ คน ร้อยละ ๘๘.๔๖ พบกลุ่มปกติ ๕๐๒ ร้อยละ ๘๗.๓๐ กลุ่มเสี่ยง จำนวน ๗๐ คน ร้อยละ ๑๒.๖๙  ช่วงดำเนินโครงการได้มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการโดยฟื้นฟูความรู้และฝึกทักษะการตรวจวัดความดันโลหิตสูง และวิธีการเจาะเลือดที่ปลายนิ้วเพื่อคัดกรองโรคเบาหวานให้แก่ อสม.และแยกกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป  แยกรายหมู่บ้านจำนวน ๔ หมู่บ้าน เพื่อติดตามคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานจนค้นหากลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย และส่งต่อหน่วยบริการได้เร็วขึ้น มีการประชาประชาสัมพันธ์โครงการได้มากขึ้น ทำให้ประชาชนให้ความสนใจสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองและครอบครัว  คือประชาชนอายุ๓๕ ปีขึ้นไป จำนวน ๖๕๐ คน ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง จำนวน ๖๔๑ คิดเป็นร้อยละ ๙๘.๕๑  พบกลุ่มปกติเพิ่มขึ้น ๔๗๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๗๓.๒๓ กลุ่มเสี่ยง ๑๔๖ คน ร้อยละ ๒๒.๔๖ กลุ่มป่วย ๑๘  คน ร้อยละ ๒.๗๖  และจำนวนประชาชนอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป จำนวน ๖๕๐ ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน จำนวน ๖๔๑ คน ร้อยละ ๙๘.๕๑  พบกลุ่มปกติ ๖๓๙ ร้อยละ ๙๙.๖๘ กลุ่มเสี่ยง    จำนวน ๒ คน ร้อยละ ๐.๓๒  จะเห็นว่ามีการคัดกรองโรคเรื้อรังเพิ่มขึ้น การควบคุมผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง/ป่วยเป็นโรค ยังเกินร้อยละ ๑๐ ซึ่งยังไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด จากการจัดทำโครงการมีผู้ป่วยรายใหม่ที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนในเขตรับผิดชอบ ที่รับยาจากสถานบริการอื่นๆ เช่น คลินิก รพ.เอกชน ผู้ป่วยไม่ได้รับการคืนข้อมูลจำนวน ๘ คน ซึ่งเป็นปัญหาที่ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสาวอร่วมกับแม่ข่าย ต้องร่วมค้นหาผู้ป่วยในพื้นที่เพื่อการดูแลและติดตามผู้ป่วยให้ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ข้อเสนอแนะ ในการทำโครงการครั้งต่อไปควรมีการจัดกิจกรรมคัดกรองและประชาสัมพันธ์โรคเรื้อรังในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง โดยทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายและผู้นำชุมชนอย่างจริงจัง เพื่อลดภาวะเสี่ยงที่จะเกิดผลกระทบกับคนในพื้นที่ ก่อนที่โรคภัยจะคุกคามจนทำให้คนในพื้นที่สูญเสียกำลังสำคัญของชาติและคนในชุมชนต่อไป
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสาวอ ผู้รับผิดชอบโครงการ การดูแลสุขภาพชาวสาวอห่างไกลจากโรคเรื้อรัง

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 ๑. อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการตรวจคัดกรองความดัน/เบาหวานสามารถค้นหาและคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในเขตรับผิดชอบของตนเองได้ ร้อยละ ๙๐
ตัวชี้วัด :

 

2 ๒. อาสาสมัครสาธารณสุขสามารถดูแล ติดตามกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยและรายงานผลให้เจ้าหน้าที่รับผิดชอบงาน ได้ร้อยละ ๙๐
ตัวชี้วัด :

 

3 3. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง
ตัวชี้วัด :

 

4 4. เพื่อให้กลุ่มผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ถูกต้องและไม่มีภาวะแทรกซ้อน
ตัวชี้วัด :

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 128
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 128
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ๑. อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการตรวจคัดกรองความดัน/เบาหวานสามารถค้นหาและคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในเขตรับผิดชอบของตนเองได้ ร้อยละ ๙๐ (2) ๒. อาสาสมัครสาธารณสุขสามารถดูแล ติดตามกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยและรายงานผลให้เจ้าหน้าที่รับผิดชอบงาน ได้ร้อยละ ๙๐ (3) 3. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง (4) 4. เพื่อให้กลุ่มผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ถูกต้องและไม่มีภาวะแทรกซ้อน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh