กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหมู่บ้านพิชิตลูกน้ำยุงลาย ป้องกันไข้เลือดออกพื้นที่ตำบลท่าแพ
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลท่าแพ
วันที่อนุมัติ 28 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 76,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาววรรณีปาทาน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าแพ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.791,99.964place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์ไข้เลือดออกในจังหวัดสตูลมีผู้ป่วยแล้วทุกอำเภอ โดยตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม 2559 จำนวน 346 ราย คิดอัตราป่วย 110.47 ต่อแสนประชากร ผู้ป่วยเสียชีวิตจำนวน 2 รายอัตราป่วยร้อยละ 1.03 โดยจะพบมากที่สุดในเด็กอายุระหว่าง 10-14 ปี รองลงมาเด็กอายุระหว่าง 5-9 ปีนับเป็นจังหวัดที่มีจำนวนผู้ป่วยมาก(สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล,2559)
สำหรับพื้นที่ตำบลท่าแพ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล มีการระบาดของไข้เลือดออกในทุกหมู่บ้านโดยพบผู้ป่วยตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงเดือนธันวาคมปี 2559 จำนวนทั้งสิ้น 240 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 2,181.82 ต่อแสนประชากร ซึ่งถือว่ามีอัตราป่วยที่สูงมากและเป็นพื้นที่เสี่ยงสูงในการระบาดของโรคไข้เลือดออกในปีพ.ศ.2560และคาดว่าจะมีการระบาดไปเรื่อยๆถ้าไม่มีการป้องกัน จาการสุ่มประเมินค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายในพื้นที่หมู่ที่ 6 และหมู่ที่5 ตำบลท่าแพจำนวน 3 ครั้ง พบว่ามีค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลาย ครั้งที่ 1 เท่ากับ 36.66 ครั้งที่ 2 เท่ากับ 26.66 และครั้งที่ 3 เท่ากับ 20.00 ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเกิดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ จากความเป็นมาและประเด็นปัญหาดังกล่าวข้างต้น ทางโรงพยาบาลท่าแพจึงทำโครงการกำจัดลูกน้ำ ป้องกันไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลท่าแพ เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีความรู้ ความตระหนัก และเห็นความสำคัญของการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ของลูกน้ำ เพื่อควบคุมและป้องการเกิดโรคไข้เลือดออกไม่ให้มีการแพร่ระบาดเพิ่มมากขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 -เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และความตระหนักในเรื่องโรคไข้เลือดออก

 

2 -เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ของลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน

 

3 -เพื่อสร้างบ้านต้นแบบปลอดลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชุมชี้แจง เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง 2.ประชาสัมพันธ์กิจกรรมกำจัดลูกน้ำยุงลายของหมู่บ้าน 3.สำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ของลูกน้ำยุงลาย โดยทีมระดับตำบล 4.อบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกในกลุ่มประชาชนทั่วไป 5.สรุปและรายงานผลการดำเนินงานโครงการให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ค่าดัชนีความชุมของลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน (HI)ไม่เกิน10 2.ประชาชนมีความรู็และความตระหนักในเรื่องการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ของลูกน้ำยุงลาย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 มี.ค. 2560 08:57 น.