โครงการรณรงค์ บ้าน วัด ชุมชน โรงเรียนปลอดลูกน้ำยุงลาย ปี 2560
ชื่อโครงการ | โครงการรณรงค์ บ้าน วัด ชุมชน โรงเรียนปลอดลูกน้ำยุงลาย ปี 2560 |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขเทศบาลตำบลท่าข้าม |
วันที่อนุมัติ | 2 กุมภาพันธ์ 2560 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2560 - 30 กันยายน 2560 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 15,750.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวศศิธร บุณโยดม |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางสาวศศิธร บุณโยดม |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลท่าข้าม อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.127,99.699place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 4 เม.ย. 2560 | 30 ก.ย. 2560 | 15,750.00 | |||
รวมงบประมาณ | 15,750.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุข ที่มีผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพของประชาชนในแต่ละชุมชน ในแง่ของความเจ็บป่วยประชาชนทุกคนมีโอกาส หรือมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ด้วยกันทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี การเสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกยังคงมีให้พบเห็นได้อยู่เสมอ ถึงแม้นว่าในเขตเทศบาลตำบลท่าข้ามยังไม่พบผู้เสียชีวิตด้วยไข้เลือดออกก็ตาม แต่ในชุมชนต้องมีการเฝ้าระวังและป้องกันโรคไข้เลือดออกตามฤดูกาลอย่างต่อเนื่อง และเป็นประจำทุกปีในช่วงฤดูฝน เมื่อการระบาดของโรคไข้เลือดออกในชุมชนจะทำให้สูญเสียทั้งเวลาและงบประมาณค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลจำนวนมาก จึงจำเป็นจะต้องดำเนินการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องดังนั้นการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกที่สำคัญประการหนึ่งคือ การควบคุมลูกน้ำยุงลายดัชนีลูกน้ำยุงลายจะต้องไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน การควบคุมลูกน้ำยุงลายให้ได้ผลต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากประชาชนในแต่ละหมู่บ้าน ชุมชน วัด โรงเรียน ดำเนินการกำจัดลูกน้ำยุงลายทุกหลังคาเรือนอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นใหมีการดำเนินงานให้มีความครอบครุมมากขึ้น มีการนำระบบแผนที่หมู่บ้านมาใช้และช่วยในการประเมินผลและควบคุมลูกน้ำยุงลายให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อันจะส่งผลให้สามารถลดการระบาดของโรคลงได้ อีกทั้งยังต้องสร้างความตระหนักให้กับชุมชน ท้องถิ่น การให้ความรู้ข้อมูลข่าวสารที่เข้าถึงประชาชนได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว ซึ่งจะเป็นส่วนสนับสนุนให้การป้องกันโรคได้ผลมากยิ่งขึ้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขเทศบาลตำบลท่าข้ามจึงได้จัดทำโครงการรณรงค์บ้าน วัด ชุมชน โรงเรียนปลอดลูกน้ำยุงลาย ให้ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกขึ้น โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อลดอัตราป่วยของโรคไข้เลือดออกลงให้เหลือน้อยที่สุด
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อลดอัตราป่วยของดรคไข้เลือดออกของประชาชนในเขตเทสบาลตำบลท่าข้าม อัตราป่วยลดลงร้อยละ 20 |
||
2 | เพื่อลดความชุกชุมของลูกน้ำยุงลาย ร้อยละ 80 ของหมู่บ้านมีค่า ดัชนีลูกน้ำยุงลายน้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 และ ร้อยละ 100 ของโรงเรียนและวัดมีค่า (CI) เท่ากับ 0 |
||
3 | เพื่อเผยแพร่ ความรู้ ความเข้าใจ และให้ตระหนักถึงการป้องกันโรคไข้เลือดออก ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงการป้องกันโรคไข้เลือดออก ร้อยละ 70 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
21 ก.ย. 60 | จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องไข้เลือดออกและรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ูลูกน้ายุงลายในโรงเรียน ชุมชน วัด | 150 | 15,750.00 | ✔ | 9,206.00 | |
รวม | 150 | 15,750.00 | 1 | 9,206.00 |
1.ประชุมผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข ทุกชุมชน เพื่อชี้แจงรายละเอียดและเหตุผลความจำเป็นในการดำเนินงานโครงการ บ้าน วัด ชุมชน โรงเรียนปลอดลูกน้ำยุงลาย ปี 25602.จัดแบ่งละแวกบ้าน โดย อสม.ใช้แผนที่หมู่บ้าน ดูแลรับผิดชอบทุกครัวเรือน 3.จัดอบรมอาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นำชุมชน โรงเรียน เพื่อให้มีความรู้ในการดูแลตนเองเมื่อป่วยเป้นโรคไข้เลือดออก และการควบคุมและการกำจัดลูกน้ำยุงลายในบริเวณครัวเรือนฯ ชุมชน โรงเรียน 4.จัดเตรียมอุปกรณ วัสดุ ที่ใช้ในโครงการฯ เช่นเอกสารให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก ทรายกำจัดลูกน้ำยุงลาย น้ำมันดีเซลใช้ผสมสารเคมี และน้ำมันเบนซิน และสารเคมีที่ใช้พ่นหมอกควันกำจัดยุงลาย 5.อสม.ดำเนินการรณรงค์เร่งรัดการกำจัดลูกน้ำยุงลายในละแวกบ้านที่รับผิดชอบ ทุกหมู่บ้าน เป็นประจำทุกเดือน และร่วมรณรงค์ในรอบการรณรงค์ 2 ครั้งต่อปี 6.ออกดำเนินการพ่นสารเคมี(หมอกควัน) กำจัดยุงลายตัวแก่ในพื้นที่เสี่ยง และแหล่งชุมชน ทุกหมู่บ้าน 7.ประธาน อสม. สรุปผลการดำเนินการตามโครงการฯของหมู่บ้านและชุมชนที่รับผิดชอบ 8.อสม. และเทศบาลตำบลท่าข้าม อภิปลายปัญหาพร้อมหาแนวทางการแก้ไขปัยหา เป็นแนวทางการในครั้งต่อไป
1.ประชาชน สมาชิกในครอบครัว ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก2.ประชาชนในเขตเทสบาลตำบลท่าข้าม มีความตระหนักและมีการกำจัดลุกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่อง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 มี.ค. 2560 10:21 น.