โครงการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล
ชื่อโครงการ | โครงการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล |
รหัสโครงการ | 62-L2996-04-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | สำนักงานเลขาฯกองทุน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบ้านนอก |
วันที่อนุมัติ | 19 กันยายน 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 57,611.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสริดา เส็นหล๊ะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางสาวอาซีซะ กาเรง |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบ้านนอก อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.812,101.479place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] | 25 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่นับเป็นนวัตกรรมที่สำคัญในระบบสุขภาพของประเทศในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพของประชาชนจากหลายภาคส่วนในสังคม โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญในการประสานหน่วยงาน องค์กร และภาคีเครือข่ายในพื้นที่เข้าร่วมค้นปัญหาและความต้องการของประชาชน ร่วมวางแผน และส่งเสริมเกิดการมีส่วนร่วมดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพ โดยสามารถติดตามประเมินผลการดำเนินงานให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมกับประชาชน กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบ้านนอก นอกจากมีเจตนารมณ์ในการสร้างการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เข้ามีบทบาทในการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่แล้วยงสนับสนุนให้ประชาชนได้แสดงบทบาทในการพึ่งตนเอง ทั้งยังส่งเสริมให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเกิดความตระหนักต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนสามารถดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเอง และการสร้างกลไกในสังคมที่จะต้องเข้ามาร่วมกันแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่มีผลต่อสุขภาพได้ด้วยตนเองแและการสร้างกลไกในสังคมที่จะต้องเข้ามาร่วมกันแก้ปัญหาต่างๆที่มีผลต่อสุขภาพให้ลุล่วง ดังนั้นเพื่อให้การบริหารจัดการกองทุนบรรลุวัตถุประสงค์ จึงต้องมีระบบการจัดทำข้อมูล มีการจัดทำแผนงานที่ใช้เป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาและกำหนดทิศทางการดำเนินงานในการสนับสนุนงบประมาณให้แก่หน่วยบริการประชาชน และภาคีที่เกี่ยวข้อง การจัดทำแผนงานดังกล่าวอาจใช้เครื่องมือ เช่น แผนสุขภาพชุมชน เป็นต้น เพื่อนำมาเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการกองทุน เพื่อพัฒนาให้เกิดสุขภาวะของประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ ซึ่งแผนสุขภาพชุมชน หมายถึง แผนงานด้านสุขภาพของประชาชนโดยประชาชนเพื่อประชาชน เป็นกระบวนการที่ชุมชนมีส่วนร่วมคิด ร่วมค้นหา ร่วมเรียนรู้ ร่วมกำหนดทิศทาง ร่วมจัดกิจกรรมการพัฒนา และร่วมรับผลประโยชน์ เพื่อให้การจัดการสุขภาพชุมชนที่ต้องส่งเสริมให้ประชาชนแสดงบทบาทในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว ชุมชน สภาพแวดล้อมและสังคมโดยรวมได้อย่างยั่งยืน ด้วยความตั้งใจ เต็มใจ มีจิตสำนึกที่ดีและมีศรัทธาในการพัฒนา ซึ่งหัวใจของความสำเร็จ คือการเปลี่ยนพฤติกรรม ด้วยเหตุนี้ ทางกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบ้านนอก จึงเห็นสมควรจัดทำโครงการนี้เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการกำหนดแผนสุขภาพของท้องถิ่นตามแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในตำบลในการดูแลสุขภาพ จึงขอเสนอโครงการนี้
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมภาครัฐและภาคประชาชน
|
0.00 | |
2 | เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนทั่วไปสามารถขอรับทุนจากกองทุนสุขภาพตำบล
|
0.00 | |
3 | เพื่อรับทราบปัญหา ความต้องการของประชาชนในการกำหนดแนวทางการจัดทำแผนสุขภาพตำบล
|
0.00 | |
4 | เพื่อส่งเสริมการทำงานที่มีการบูรณาการกระบวนการจัพทำแผนและงบประมาณเพื่อแก้ไขแบบองค์รวม
|
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 พ.ย. 61 - 30 ก.ย. 62 | ค่าใช้จ่ายเดินทางไปราชการของคณะกรรมการกองทุนฯ/คณะอนุกรรมการกองทุนฯ | 25 | 18,411.00 | - | ||
1 พ.ย. 61 - 30 ก.ย. 62 | ประชุมคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล | 25 | 22,680.00 | - | ||
20 พ.ย. 61 | ประชุมคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล | 18 | 4,230.00 | - | ||
3 - 7 ธ.ค. 61 | ประชุมเพื่อคัดเลือกตัวแทนชุมชนหรือหมู่บ้านเป็นคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล ประจำปี 2562 | 300 | 9,000.00 | - | ||
11 ธ.ค. 61 | ประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล | 14 | 3,290.00 | - | ||
รวม | 382 | 57,611.00 | 0 | 0.00 |
- ประชุมคณะกรรมการกองทุนเพื่อร่วมปรึกษาหารือการจัดทำโครงการและร่วมกันวางแผนงานกิจกรรมโครงการและอนุมัติโครงการ
- ประชาสัมพันธ์โครงการให้กับกลุ่มเป้าหมายได้เข้าร่วมกิจกรรมโครงการ
- ขั้นตอนการดำเนินโครงการ 3.1 ลงประชาคมในพื้นที่ตำบลบ้านนอกเพื่อรับทราบปัญหา ค้นหาข้อมูลที่เป็นปัจจุบันและครอบคลุมทุกด้าน 3.2 นำปัญหาของชุมชนโดยนำข้อมูลที่ได้จากการประชาคมนำมาวิเคราะห์สภาพปัญหาของชุมชนตามสถานการณ์จริงมาร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมตัดสินใจ และมีข้อสรุป 3.3 จัดลำดับความสำคัญของปัญหาและความยากง่ายในการแก้ไขปัญหา 3.4 เขียนแผนงาน/โครงการ 3.5 นำเสนอแผนงาน/โครงการให้กองทุนพิจารณาเพื่อดำเนินกิจกรรม
1.ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดแผนสุขภาพของตนเองในตำบล 2.แผนพัฒนาสุขภาพตำบลมีความหลากหลายและเข้าถึงปัญหาของประชาชนมากขึ้น 3.มีกระบวนการจัดทำแผนและงบประมาณเพื่อแก้ไขปัญหาแบบองค์รวม 4.มีกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนมีการพัฒนาสู่ความยั่งยืน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2561 13:54 น.