กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและโรคหัวใจ และหลอดเลือด ปี 2560 (รพ.สต.บ้านกูบู)
รหัสโครงการ 60-L2486-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกูบู
วันที่อนุมัติ 7 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2560 - 31 สิงหาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 45,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสัมพันธ์ ศิริพงษ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลไพรวัน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.3,101.958place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 610 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงเป็นโรคติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ และถือว่าเป็น “ภัยเงียบ” เพราะเป็นโรคที่ไม่ปรากฎอาการ และเป็นสาเหตุของโรคแทรกซ้อนในอวัยวะสำคัญหลายระบบของร่างกาย เช่น ตา ไต หลอดเลือด ในประเทศไทยนั้น อุบัติการณ์โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ในแต่ละปีเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากโรคเรื้อรังเป็นโรคที่จำเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง และยาวนาน มีค่าใช้จ่ายด้านการรักษาสูงมาก จากรายงานผลการคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกูบู ปี 2559 พบว่า มีอัตราผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ ร้อยละ 0.33 (เป้าหมายไม่เกินร้อยละ 4) อัตราผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ ร้อยละ 1.54 (เป้าหมายไม่เกินร้อยละ 8) และเป็นทั้งโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ร้อยละ 0.94 ซึ่งมากกว่าเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ จึงจำเป็นต้องคัดกรองในกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ได้รับการคัดกรอง ในปี 2559 มีกลุ่มเป้าหมายจำนวน 1,940 คน ซึ่งได้รับการคัดกรอง จำนวน 1,808 คน คิดเป็น ร้อยละ 93.20 เสี่ยงในการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน จำนวน610 คน คิดเป็น ร้อยละ 33.73 เพื่อนำผลการคัดกรองนั้นไปดำเนินการให้บริการลดเสี่ยงตามความเหมาะสมในกลุ่มต่างๆ ดังนั้น ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกูบู จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังและคัดกรองโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ปี 2560 ขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูงตามมาตรฐาน พร้อมทั้งรณรงค์ สร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพ มีพฤติกรรมที่ดี และได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ประชากรกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน เข้าร่วมโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 60

 

2 ประชากรกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน สามารถควบคุมภาวะสุขภาพให้ดีขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชาสัมพันธ์โครงการ และประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเข้าร่วมโครงการ
  2. ตรวจสุขภาพกลุ่มเสี่ยงทุกๆ 3 เดือนครั้ง เพื่อติดตามการควบคุมโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
  3. จัดกลุ่มละลายพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย ดังนี้ 3.1 จัดทีมสุขภาพสำหรับออกดำเนินงานคัดกรองความดันโลหิตสูงเบาหวานและโรคหัวใจและหลอดเลือด ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตำบลบ้านกูบู ตำบลไพรวัน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส 3.2 ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองให้เหมาะสม เช่น 3 อ. 2 ส. และการเฝ้าระวังด้วยตนเองโดยใช้ปิงปอง 7 สีนวัตกรรมอื่นๆที่มีในชุมชน 3.3 สาธิตและฝึกปฎิบัติตามหลัก 3 อ. 2 ส. และให้ความรู้ ประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องทั้งในสถานบริการและในชุมชนเกี่ยวกับบทบาทในการจัดการหรือการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว ชุมชนเพื่อป้องกันการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อน โดยอสม.และเจ้าหน้าที่อย่างต่อเนื่อง 3.4 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยบุคคลต้นแบบที่สามารถปฎิบัติตัวได้ถูกต้องและสามารถควบคุมความดัน และเบาหวานได้ 3.5 ส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษ
  4. ติดตามประเมินผลและรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน เข้าร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60
  2. ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน มีภาวะสุขภาพดีขึ้น
  3. ไม่พบผู้ป่วยโรคเรื้อรังรายใหม่เพิ่มขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 มี.ค. 2560 13:15 น.