กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเลดี้เช็ค เช็คก่อน ชัวร์ก่อน
รหัสโครงการ 60-L8302-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะรือโบตก
วันที่อนุมัติ 28 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2560 - 31 ธันวาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 61,650.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมาหามะนาวาวี หะยีอูเซ็ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมะรือโบตะวันตก อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.337,101.66place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

มะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกมีอัตราการเกิดโรคสูงเป็นอันดับหนึ่งและสองในกลุ่ม สตรีวัยทำงานเนื่องจากกลุ่มสตรีวัยทำงานซึ่งประกอบด้วยสตรีช่วงวัยเจริญพันธ์และสตรีช่วงวัยทอง จะมีการเปลี่ยนแปลงของสภาพร่างกายตามวัยและสภาพแวดล้อมและมีวิถีการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงวัย ทำให้มีโอกาสเกิดความเสี่ยงของโรคต่างๆ สตรีไทยจึงจำเป็นต้องได้รับการป้องกันและการสร้างเสริมสุขภาพให้ามารถลดพฤติกรรมเสี่ยงและลดภาวะเสี่ยงต่างๆโดยเฉพาะมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ซึ่งพบได้มากในสตรีช่วงวัยดังกล่าว การบริการที่ครอบคลุมสุขภาพและเน้นการคัดกรองโรคที่เกิดกับสตรีจึงมีความสำคัย และคาดหวังว่าจะทำให้สตรีมีการดำรงชีวิตในช่วงวัยนี้อย่างเป็นสุข จากสถานการณ์ดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะรือโบตกได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องและพัฒนากระบวนการดำเนินงานตามสภาพปัญหาในพื้นที่และสอดคล้องกับนโยบายปี 2558 กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดตัวชี้วัด ให้สตรีอายุ 30-60 ปีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ภายใน 5 ปี เริ่มตั้งแต่ปี 2558 - ปี 2562
ในปี 2558-2559โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะรือโบตกได้ดำเนินการคัดกรองค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกมีผลงานสะสม 2 ปี(2558-2559)เป้าหมาย 976 คน ได้รับการตรวจคัดกรอง 263 คน คิดเป็นร้อยละ 26.95 ซึ่งไม่ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัด ดังนั้นในปี 2560 โดยสร้างทีมงานการทำงานเป็นทีม ประชาสัมพันธ์ปลุกกระแส รณรงค์การตรวจ pap smear และกำหนดมาตรการสำรวจกลุ่มเป้าหมายทุกพื้นที่ ค้นหา/จูงใจให้รับการตรวจ pap smear เพื่อที่จะเฝ้าระวังและดูแลสุขภาพตนเองให้ปลอดภัยจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้อย่างยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อปลุกกระแสและรณรงค์เรื่องการส่งเสริมกิจกรรมการป้องกัน เฝ้าระวังการเกิดโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก ในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

จำนวนประชาชนเข้าร่วมโครงการ/กิจกรรม

2 เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธ์กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกัน เฝ้าระวังการเกิดโรคด้วยตนเอง

 

3 เพื่อพัฒนาองค์ความรู้แกนนำสตรี อสม.ในชุมชน

แกนนำสตรี อสม.มีความรู้ในเรื่องมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก

4 เพื่อเร่งรัดการตรวจpap smear ในหญิงวัยเจริญพันธ์อายุ 30-60 ปีไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20

pap smearในกลุ่มเป้าหมายเกินร้อยละ 20

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.สำรวจข้อมูลหญิงวัยเจริญพันธ์ที่มีอายุ 30-60 ปี 2.จัดทำแผนปฎิบัติงาน กำหนดวัน เวลา เพื่อดำเนินการ 3.จัดเตรียมวัสดุการแพทย์ ตามโครงการ 4.จัดทำเอกสารแผ่นพับ บทความเสียงตามสาย เรื่องมะเร็งปากมดลูกและเต้านม 5.แจ้ง - ประสาน กรรมการกองทุน ประชาสัมพันะ์ กำหนดการดำเนินงาน ในชุมชน 6.จัดกิจกรรมปลุกกระแส รณรงค์และประชาสัมพันธ์ เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในชุมชน 7.จัดอบรมหญิงวัยเจริญพันธ์อายุ 30-60 ปี 8.จัดกิจกรรมตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในกลุ่มเป้าหมาย 9.จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้แกนนำสตรี และอสม. ให้นำเสนอรูปแบบการป้องกัน เฝ้าระวังการเกิดโรคมะเร็งที่ถุกต้องเหมาะสม และทบทวนปรับปรุงระบบให้ได้มาตรฐาน 10.สรุปและประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ชุมชนเกิดการตื่นตัว ในเรื่องการป้องกันและเฝ้าระวังการเกิดโรคมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก อย่างต่อเนื่อง 2.หญิงวัยเจริญพันธ์กลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกัน เฝ้าระวังการเกิดโรคด้วยตนเอง 3.แกนนำสตรี อสม.ในชุมชนมีความรู้เพิ่มขึ้น 4.หญิงวัยเจริญพันธ์อายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจ pap smear ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 มี.ค. 2560 13:42 น.