กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังปัญหาการเจริญเติบโตไม่สมวัยในเด็ก อายุ 0-72 เดือน (รพ.สต.บ้านกูบู)
รหัสโครงการ 60-L2486-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกูบู
วันที่อนุมัติ 7 มีนาคม 2017
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2017 - 30 กันยายน 2017
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 56,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสัมพันธ์ ศิริพงษ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลไพรวัน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.3,101.958place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ทุกคนอยากมีสุขภาพดี ไม่เจ็บป่วย ซึ่งการกินอาหารถูกต้องเหมาะสมและพอเพียงจะทำให้มีโภชนาการดี และนำไปสู่การมีสุขภาพดี ในทางตรงกันข้ามหากกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ไม่เพียงพอจะทำให้ขาดสารอาหาร หรือถ้ากินอาหารมากเกินไป ก็จะทำให้เป็นโรคอ้วน หรือโภชนาการเกิน“โภชนาการ” จึงเป็นเรื่องของการกิน “อาหาร” ที่ร่างกายเรานำ “สารอาหาร” จากอาหารไปใช้ประโยชน์และดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข อาหารและโภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชากรในวัยต่าง ๆ ในวงจรชีวิตมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัยทั้งเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ฯโดยเฉพาะในเด็กวัยก่อนเรียนเป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นวัยรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา จึงเป็นวัยที่มีความสำคัญเหมาะสมที่สุดในการวางพื้นฐานเพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะในระยะ 2 ปี แรกของชีวิต เป็นระยะที่ร่างกายและสมองมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุดเพื่อส่งเสริมพัฒนาการรอบด้าน อาหารและภาวะโภชนาการที่ดีเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของเด็กวัยก่อนวัยเรียน ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัยจากโรคขาดสารอาหารภาวะโภชนาการเกินการขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลง การให้อาหารตามวัยแก่เด็กเร็วเกินไปและไม่ถูกต้องและจากการประเมินผลการเฝ้าระวังทางภาวะโภชนาการเด็ก 0-72 เดือน จะพบว่าในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกูบู ในช่วงไตรมาสที่ 4/2559 (กรกฎาคม–กันยายน 2559) มีเด็กทั้งหมด 585 คน ชั่งน้ำหนักทั้งหมด 583 คน คิดเป็นร้อยละ 99.65 พบเด็กปัญหาภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 3.43 และเด็กน้ำหนักค่อนข้างน้อยจำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 1.71 จากการทำโครงการใน ปี 2559 เด็กที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ ตามเกณฑ์ จำนวน 5 คน จากจำนวนเด็กที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ 25 คน คิดเป็นร้อยละ 20.00
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกูบู ตำบลไพรวัน ได้เล็งเห็นความสำคัญของการเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการในเด็กอายุ 0-72 เดือน เพื่อให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัย เติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติต่อไป จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังปัญหาการเจริญเติบโตไม่สมวัยในเด็ก อายุ 0-72 เดือน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการ ในกลุ่มเด็กอายุ 0-72 เดือน ที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการ

 

2 เพื่อส่งเสริมให้เด็ก 0-72 เดือน มีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย

 

3 เพื่อให้ผู้ปกครองของเด็กมีความรู้ ความเข้าใจ ถึงภาวะโภชนาการในเด็ก 0-72 เดือน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดทำโครงการเพื่อของบประมาณ
  2. ประชาสัมพันธ์โครงการ
  3. ประสาน อสม. ทั้ง 5 หมู่บ้าน ในการเตรียมชุมชน และสถานที่ ในการทำกิจกรรมชั่งน้ำหนักเด็ก 0-72 เดือน และประเมินพัฒนาการเด็ก ทุกๆ เดือน พร้อมกับแปลผลโดยใช้กราฟแสดงเกณฑ์ อ้างอิง การเจริญเติบโตสำหรับเด็ก 0-72 เดือน
  4. เด็ก 0-72 เดือนได้รับการชั่งน้ำหนักและผ่านการประเมินพัฒนาการ ทุกๆ 3 เดือนครั้ง
  5. เด็ก 0-72 เดือนที่มีภาวะทุพโภชนาการต้องได้รับการดูแลจากเจ้าหน้าที่ทุกๆ เดือน
  6. ติดตามเยี่ยมในกลุ่มเด็กที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการทุกคน เพื่อติดตามพัฒนาการและการเจริญเติบโตของเด็ก
  7. จัดกิจกรรมสาธิตอาหารให้กับผู้ปกครองเด็กที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการทุกคน จำนวน 2 ครั้ง
  8. จ่ายอาหารเสริมแก่เด็กภาวะทุพโภชนาการ เป็นเวลา 3 เดือน
  9. เด็กที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการได้รับการพบแพทย์ทุกรายเพื่อได้รับการวินิจฉัยได้ถูกต้อง
  10. ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงานโครงการฯ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กอายุ 0-72 เดือน ที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการได้รับการเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการ
  2. เด็กอายุ 0-72 เดือน มีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย
  3. ผู้ปกครองเด็กที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ มีความรู้ ความเข้าใจ ด้านโภชนาการศึกษาในเด็ก 0-72 เดือน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 มี.ค. 2017 14:00 น.