กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อน เฉลิมพระเกียรติฯสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ ปีงบประมาณ ๒๕๖๐
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯตำบลปูยุด
วันที่อนุมัติ 27 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 29 มีนาคม 2560 - 20 เมษายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 19,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรอปีเยาะโตะอาดัม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 110 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กรมควบคุมโรคโดยสถาบันราชประชาสมาสัยได้น้อมนำพระราชปณิธานแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นประทีปนำทางที่จะให้โรคเรื้อนหมดไปจากประเทศไทย ทุกๆปี กรมควบคุมโรค ร่วมกับมูลนิธิราชประชาสมาสัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดโครงการ “20ปีแห่งความสำเร็จของการกำจัดโรคเรื้อนสมดังพระราชปณิธาน” สถาบันราชประชาสมาสัย และ มูลนิธิราชประชาสมาสัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของทุกพระองค์ที่ทรงมีเมตตาต่อผู้ป่วยโรคเรื้อนและงานควบคุมโรคเรื้อนมาโดยตลอด ในปีนี้จึงได้กำหนดจัดกิจกรรมเร่งรัดค้นหาผู้ป่วยที่ยังตกค้างอยู่ในชุมชนเพื่อกำจัดโรคเรื้อนในหมดไปอย่างสิ้นเชิงโดยกระตุ้นให้อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) หน่วยงานสาธารณสุขอื่นๆ รวมถึงประชาชนทุกภาคส่วน เฝ้าสังเกตสมาชิกในครอบครัว หรือชุมชนของตน หากพบอาการสงสัยเป็นโรคเรื้อน คือ ผิวหนังเป็นวงด่าง มีอาการชา หรือผิวหนังเป็นผื่น ตุ่มนูนแดง ไม่เจ็บ ไม่คัน ให้เข้ารับการตรวจวินิจฉัยได้ที่สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯตำบล โรงพยาบาลทุกแห่งทั่วประเทศเพื่อให้การรักษาและฟื้นฟูสภาพจนผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม สถานการณ์โรคเรื้อน ในตำบลปูยุด อำเภอเมืองปัตตานีปี 255๙ มีผู้ป่วยโรคเรื้อน ระยะเฝ้าระวัง จำนวน จำนวนทั้งสิ้น 2 ราย ซึ่งเป็นผู้ป่วยในวัยเด็กจำนวน 1 ราย และจากการดำเนินงานสำรวจและค้นหาผู้ที่เป็นโรคผิวหนัง แล้วรักษาไม่หาย โดยอาสาสมัครสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ในปี ๒๕๕๙ พบคนไข้รายใหม่อีก ๑ รายซึ่งแสดงถึงการเกิดการระบาดในชุมชน ซึ่งมีความจำเป็นที่ต้องมีการค้นหา เพื่อกวาดล้างโรคเรื้อนให้หมดจากพื้นที่
สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯตำบลปูยุด จึงขอเชิญชวนประชาชนร่วมมือกันทำให้โรคเรื้อนหมดไปจากประเทศไทย สมดังพระราชปณิธาน ด้วยการแนะนำให้ผู้ป่วยโรคเรื้อนที่ยังไม่รู้ตัวให้รีบไปรับการรักษา และขอให้ประชาชนสำรวจตนเอง คนในครอบครัว หรือชุมชน หากมีอาการน่าสงสัย ได้แก่ ผิวหนังเป็นวงด่าง สีขาวหรือสีแดง มีอาการชา เป็นผื่น ตุ่มนูนแดง ไม่คัน ไม่เจ็บ ใช้ยากินหรือยาทา 3 เดือนแล้วไม่หาย ให้รีบไปพบแพทย์ หากวินิจฉัยเป็นโรคเรื้อน สามารถรักษาฟรีได้ที่โรงพยาบาลของรัฐทุกแห่งทั่วประเทศเมื่อกล่าวถึง โรคเรื้อน ในอดีต มีผู้คนเจ็บป่วยด้วยโรคนี้เป็นจำนวนมากด้วยพระบารมีปกเกล้า ฯ การควบคุมโรคเรื้อนในประเทศไทยจึงมีการพัฒนาและประสบความสำเร็จจนสามารถกำจัดโรคเรื้อนได้ ในการนี้ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯตำบลปูยุด จึงได้จัดทำ โครงการโครงการค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อน
เฉลิมพระเกียรติฯสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ปีงบประมาณ ๒๕๖๐เพื่อประชาสัมพันธ์ สร้างกระแส ให้ประชาชนเกิดความตระหนักในการเข้ารับการตรวจรักษาได้อย่างทันท่วงที และเพื่อเป็นการคัดกรองประชาชนให้ได้รับการรักษาอย่างทั่วถึง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกครัวเรือนมีความรู้ความเข้าใจและร่วมมือในการควบคุมป้องกันและได้รับการตรวจรักษา อย่างทันท่วงทีและต่อเนื่อง

 

2 เพื่อส่งเสริมให้เครือข่ายตระหนักในการสำรวจ และค้นหาผู้ป่วยด้วยโรคผิวหนัง

 

3 เพื่อเป็นการสร้างกระแส และเฝ้าระวัง ควบคุมโรคในพื้นที่ ลดอัตราการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00

1.จัดทำโครงการเสนอเพื่อขออนุมัติ 2.ประสานงานผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดทำแผน 3. จัดกิจกรรม โดยมีขั้นตอนและวิธีการดำเนินการดังนี้ 3.1 ประชุมชี้แจงผู้นำชุมชน/อบต./อสม./และประชาชนในหมู่บ้านเพื่อรับทราบแนวทางการดำเนินงานในครั้งนี้ 3.2 ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนทางหอกระจายข่าวแจกเอกสารแผ่นพับ
3.3 สำรวจและค้นหาผู้ที่เป็นโรคผิวหนัง แล้วรักษาไม่หาย โดยอาสาสมัครสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่3.4 ร่วมกับเจ้าหน้าที่จากสถาบันราชประชา สมาสัย ร่วมคัดกรอง และตรวจรักษาโรคผิวหนัง
3.6 จัดวางระบบ และวางแผนการปฏิบัติงาน เพื่อความต่อเนื่องในการเฝ้าระวังและควบคุมโรค 3.7 สรุปผล และจัดทำรายงานการดำเนินงานประชุม 4. ประเมินผลหลังเสร็จสิ้นโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 ประชาชนทุกครัวเรือนมีความรู้ความเข้าใจและร่วมมือในการควบคุมป้องกันโรคและเกิดการเฝ้าระวัง
ในครอบครัว 2 ประชาชนได้รับการตรวจคัดกรองเพิ่มขึ้น สามารถลดอัตราการเกิดโรค และเกิดภาวะแทรกซ้อนของ โรคผิวหนัง 3 ประชาชนรับรู้ถึงสถานการณ์การเกิดโรค มีความตระหนักและเกิดการตื่นตัว และสนใจในการตรวจคัด กรองเพิ่มขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 มี.ค. 2560 14:02 น.