กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการเครือข่ายสตรีร่วมใจตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและเต้านม เฉลิมพระเกียรติฯสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ปีงบประมาณ ๒๕๖๐

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเครือข่ายสตรีร่วมใจตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและเต้านม เฉลิมพระเกียรติฯสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ปีงบประมาณ ๒๕๖๐
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯตำบลปูยุด
วันที่อนุมัติ 27 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 21 เมษายน 2560 - 28 เมษายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 25,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรอปีเยาะโตะอาดัม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็ง นับเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของคนไทย มีผู้เสียชีวิตจัดเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมา คือ อุบัติเหตุและโรคหัวใจ ตามลําดับกลุ่มภารกิจด้านข้อมูลข่าวสารสุขภาพ สํานักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข แนวโน้มมีอุบัติการณ์การเกิดโรคมะเร็งเพิ่มสูงขึ้น จากสถิติพบว่า ๕ อันดับแรก ของโรคมะเร็ง ที่พบมากที่สุด ในเพศชาย และเพศหญิง ได้แก่ มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งลําไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก บางอย่างสามารถป้องกันได้ ปัญหาดังกล่าวก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และทางด้านเศรษฐกิจ เป็นอย่างมาก แต่จะสามารถป้องกันและรักษาให้หายขาดได้ถ้าพบผู้ป่วยโรคมะเร็งในระยะเริ่มแรก หากประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้และมีความเข้าใจ ตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการตรวจค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรกก็จะทำให้อัตราการเกิดโรค อัตราการป่วยและอัตราการตายลดลง กระทรวงสาธารณสุข ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้บรรจุแผนงาน/โครงการ เกี่ยวกับโรคดังกล่าว ขึ้น โดยกำหนดตัวชี้วัดไว้ คือ ร้อยละ ๘๐ ของสตรีที่มีอายุ ๓๐-๖๐ ปีต้องได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุกปี ร้อยละ ๘๐ ของสตรีที่มีอายุ ๓๐-๗๐ ปี ต้องได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ภายใน ๕ ปี(ตั้งแต่ปีงบประมาณ๒๕๕๘-๒๕๖๒) โดยตั้งเป้าหมายให้มีการตรวจคัดกรองฯ ในแต่ละปีไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๒๐
จากข้อมูล สํานักนโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข ในหลายปีที่ผ่านมา พบว่า อัตราป่วย และอัตราตายของโรคมะเร็งปากมดลูกและเต้านม แนวโน้มเพิ่มขึ้น ปัจจุบัน มะเร็งเต้านมขึ้นเป็นอันดับ ๑ ของมะเร็งที่เกิดขึ้นกับหญิงไทยแทนมะเร็งปากมดลูก การตรวจวินิจฉัยและให้การรักษาผู้ที่มีความผิดปกติของปากมดลูกตั้งแต่ระยะก่อนเป็นมะเร็งตามขั้นตอนที่ถูกต้องเหมาะสม สามารถลดอุบัติการณ์และอัตราการตายของโรคมะเร็งปากมดลูกได้เนื่องจากมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็ง ที่สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่เซลล์เริ่มผิดปกติโดยการทำPapsmear หรือ VIA (VisualInspectionofcervixwithAceticacid)ประกอบกับการดำเนินโรคเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป จะสามารถรักษาให้หายขาดได้โดยการรักษาตามระบบและการจี้เย็น (Cryotherapy) ในปี ๒๕๕๗-ปี ๒๕๕๙ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯตำบลปูยุด อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ตรวจพบผู้ที่มีก้อนที่เต้านม จำนวน ๒ ราย และส่งต่อเพื่อตรวจวินิจฉัย ผลการตรวจผิดปกติและได้รับการผ่าตัดรักษาที่โรงพยาบาลปัตตานี จำนวน ๒ ราย การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกพบกลุ่มเสี่ยงส่งต่อจำนวน ๓ ราย แต่ไม่พบผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯตำบลปูยุด อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี เล็งเห็นความสำคัญจึงจัดทำโครงการเครือข่ายสตรีร่วมใจตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและเต้านมขึ้น เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เครือข่ายสตรีในชุมชนชักชวนกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่มารับการตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

 

2 เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและรักษา

 

3 เพื่อค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรก

 

4 เพื่อลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมระยะลุกลาม และลดอัตราการตายจากมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. ประชุมอาสาสมัครสาธารณสุข เครือข่ายสตรีในชุมชน ชี้แจงแนวทางการดำเนินกิจกรรมตามโครงการพร้อมสำรวจกลุ่มเป้าหมายในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ๒. ทำสื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ เรื่องโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ๓. จัดบอร์ดประชาสัมพันธ์ เรื่อง มะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก
๔. จัดรณรงค์ให้กลุ่มเป้าหมายมารับบริการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ๕. ร่วมกับเครือข่าย อาสาสมัครสาธารณสุข ออกปฏิบัติงานรณรงค์ตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเชิงรุกในพื้นที่แบบเคาะประตูบ้าน ๖. ตรวจคัดกรองค้นหามะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมอย่างทั่วถึง ๒. สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ เกี่ยวกับโรค มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ๓.ส่งต่อผู้ป่วยไปรักษาอย่างถูกวิธี ในกรณีตรวจพบผิดปกติ ๔.กลุ่มเป้าหมายมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๐/ปี ๕.กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้และมีความเข้าใจ ตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการตรวจค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรกซึ่งจะทำให้อัตราการเกิดโรค อัตราการป่วยและอัตราการตายลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 มี.ค. 2560 14:40 น.