กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการร่วมใจ DPAC ร่วมใจลดโรค Metabolic
รหัสโครงการ 60-L8302-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลย้านสะโล
วันที่อนุมัติ 28 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 17,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนิอาซิ นิจินิการี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมะรือโบตะวันตก อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.337,101.66place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 95 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564)แผนงานสาธารณสุขได้เน้นหนักโรคไม่ติดต่อกลุ่มหลอดเลือดที่เป็นภัยมือคร่าชีวิตประชาชนอย่างมากในปัจจุบันกอปรกับเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยเจริญก้าวหน้าในทุกด้านและมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ววัฒนธรรมตะวันตกแพร่กระจายมากขึ้น ส่งผลต่อวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนทั้งในเมืองและสู่ชนบท ซึ่งจะส่งผลการดำเนินชีวิตเปลี่บนเแปลงไป ที่มีการแข่งขันในทุกด้าน เช่น มีการแข่งขันสร้างความมั่นคงให้กับครอบครัว การเร่งรีบในการทำงาน การบริโภคอาหารโดยไม่ได้คำนึงคุณค่าทางโภชนาการ มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ขาดออกกำลังกาย ภาวะเครียด ซึ่งจะส่งต่อสุขภาพของร่างกายโดยรวมทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลิตสูง เบาหวาน จัดเป็นโรคเรื้อรัง"รักษาได้ แต่ส่วนใหญ่ไม่หายขาด"โรคไม่ติดต่อกลุ่มหลอดเลือดที่เป็นภัยมืดคร่าชีวิตประชาชนอย่างมากในปัจจุบันประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลกระทบดังกล่าวมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตและสุขภาพของประชาชนไทยเป็นอย่างมาก ซึ่งโรคไม่ติดต่อเหล่านี้สามารถป้องกันได้และไม่เกิดโรคแทรกซ้อน โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ และมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม จะช่วยลดและไม่ให้เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคไตวายเรื้อรัง ซึ้งล้วนแต่สร้างความทุกข์ทรมาน ต่อทั้งตัวผู้ป่วยเองและญาติ เช่น ภาวะหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองตีบหรือแตก ทำให้เกิดภาวะอัมพฤกษ์หรืออัมพาตและยังก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายของการรักษาที่สูงมาก ดังนั้นการดำเนินการในการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของประเทส จำเป็นจะต้องพัฒนาประชาชนให้มีองค์ความรู้ และทักษะที่จำเป็นและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม ทั้งระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชนครอบคลุม กลุ่มประชากรเป้าหมาย เพื่อให้ประชาชนสามารถส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้แกตนเอง ครอบครัวและชุมชนได้ ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวจำเป็นจะต้องส่งเสริมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพที่สำคัญ ๆ ที่ก่อให้เกิดปัญหาสาธาณสุขของประเทศ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านสะโล ได้สนองตอบนโยบายสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ช่วยคนไทยห่างไกลโรค มีเป้าหมายที่สำคัญ คือ การสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชนในพื้นที่โดยเฉพาะเขตกองทุนฯเทศบาลตำบลมะรือโบตก รวมถึงในพื้นที่เขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสะโล ลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาว โดยใช้กระบวนการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เป็นหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนให้การดำเนินงานช่วยตนไทยห่างไกลโรคให้บรรลุผลสำเร็จ เพื่อให้มีความรู้ และทักาะในการดูแลตนเองและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยใช้หลัก 3 อ. เป็นหลัก เพื่อให้มีสุขภาวะในทุกด้าน หลังการตรวจคัดกรองความเสี่ยงเพื่อ ค้นหาโรคในระยะเริ่มต้น จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นและขอสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลมะรือโบตก เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดการเกิดโรคเรื้อรังและภาวะแทรกซ้อนได้ในที่สุด และกลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้และสามารถนำไปปฏิบัติได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังการเกิดโรคในกลุ่มเป้าหมาย และสามารถป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนฉับพลัน

จำนวนผู้ป่วยรายใหม่ลดลง และภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วยเก่าลดลง

2 เพื่อค้นหาและลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรค ลดอัตราป่วยด้วยโรคเรื้อรังในชุมชนและลดภาวะแทรกซ้อน

อัตราป่วยของโรคเรื้อรังในชุมชนลดลง

3 เพื่อให้ประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงมีความรู้การบริโภค และพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องสามารถควบคุมความเสี่ยงได้

ประชาชนมีความรู้ และมีพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้อง

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อเฝ้าระวังการเกิดโรคในกลุ่มเป้าหมาย และสามารถป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนฉับพลัน

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อค้นหาและลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรค ลดอัตราป่วยด้วยโรคเรื้อรังในชุมชนและลดภาวะแทรกซ้อน

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อให้ประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงมีความรู้การบริโภค และพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องสามารถควบคุมความเสี่ยงได้

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

ขั้นตอนก่อนการดำเนินการ 1.ประชุมกลุ่มเพื่อทำแผนงานและจัดทำโครงการ 2.แต่งตั้งคณะกรรมการทำงาน 3.เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติและขอสนับสนุนงบประมาณ ขั้นตอนการดำเนินการ 1.ประชุมชี้แจงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบนโยบายและวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อให้มีความเข้าใจในแนวเดียวกัน 2.จัดทำแผนการออกปฏิบัติงานเชิงรุกในการดำเนินงานคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมองและภาวะอ้วนลงพุงประชากร 35 ปีขึ้นไปในเขตรัดชอบ 3.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอความร่วมมือและสนับสนุนกิจกรรมการตรวจคัดกรองความเสี่ยงในชุมชน เช่น เทศบาล ผู้นำท้องถิ่น อสม.และภาคีเครือข่าย 4.ประชาสัมพันธ์การคัดกรองความเสี่ยงเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้เข้าร่วมโครงการฯ 5.จัดเตรียมเอกสาร วัสดุ ครุภัณฑ์ ต่างๆในการเก็บข้อมูลการคัดกรองความเสี่ยงให้เพียงพอในการดำเนินงาน 6.ติดต่อวิทยากร อาหารสำหรับการจัดอบรมสำหรับผู้มีภาวะเสียง Metabolic 7.ประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ 8.ดำเนินงานตามโครงการที่ไดรับอนุมัติ 9.ประเมินผล สรุป หลังเข้าร่วมโครงการ 6 เดือน บันทึกข้อมูลในโปรแกรม JHCIS ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 10.รายงานผลการดำเนินงานต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อภาระโรคMetabolic 2.ประชาชนตระหนัก และใส่ใจในการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัวและชุมชน สามารถจัดการสุขภาพตนเองโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ได้อย่างเหมาะสม 3.ภาคีเครือข่ายมีบทบาทในการดำเนินงานป้องกัน ควบคุมโรค Metabolic
4.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมการออกกำลังกายเพิ่มขึ้นสภาพร่างกายแข็งแรงจนสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ และไม่มีภาวะแทรกซ้อนของโรคได้ในที่สุด

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2560 01:39 น.