โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลท่าแพ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2560
ชื่อโครงการ | โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลท่าแพ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2560 |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลท่าแพ |
วันที่อนุมัติ | 28 กุมภาพันธ์ 2560 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2560 - 30 กันยายน 2560 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 94,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาววรรณีปาทาน |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลท่าแพ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.791,99.964place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
สถานการณ์ไข้เลือดออกในจังหวัดสตูล มีผู้ป่วยแล้วทุกอำเภอ โดยตั้งแต่เดืออนมกราคม ถึงเดือนธันวาคม ๒๕๕๙ จำนวน ๓๔๖ ราย คิดอัตราป่วย ๑๑๐.๔๗ ต่อแสนประชากร ผู้ป่วยเสียชีวิตื จำนวน ๒ ราย อัตราป่วยร้อยละ ๑.๐๓ โดยจะพบมากที่สุดในเด็กอายุระหว่าง ๑๐-๑๔ ปี รองลงมาเด็กอายุระหว่าง ๕-๙ ปี นับเป็นจังหวัดที่มีจำนวนผู้ป่วยมาก (สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล ปี ๒๕๕๙) สำหรับพื้นที่ตำบลท่าแพ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกในทุกหมู่บ้าน โดยเริ่มพบผู้ป่วยตั้งแต่เดือนมกราคม จนถึงเดือนธันวาคม ปี พ.ศ.๒๕๕๙ จำนวน ทั้งสิ้น ๒๔๐ ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๒,๑๘๑.๘๒ ต่อแสนประชากร ซึ่งถือว่ามีอัตราป่วยที่สูงมาก และเป็นพื้นที่เสี่ยงสูงในการระบาดของโรคไข้เลือดออกในปี ๒๕๖๐ และคาดว่าจะมีการระบาดไปเรื่อยๆถ้าไม่มีการป้องกัน ดังนั้นเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกไม่ให้เกิดการระบาดขึ้นในพื้นที่ตำบลท่าแพ กลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัวและบริการปฐมภูมิโรงพยาบาลท่าแพ ได้เล็งเห็นความสำคัญจึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกขึ้น เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ตำบลท่าแพปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และลดค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชน โดยค่า HI น้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 และค่า CI เท่ากับ 0
|
||
2 | 2. เพื่อป้องกันและลดปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่
|
||
3 | 3. เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนตระหนักและเห็นความสำคัญของการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่อง
|
||
4 | 4. เพื่อป้องกันควบคุมโรคอย่างมีประสิธิภาพไม่เกิด Second Generation
|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
- ขั้นเตรียมการ
1.1. ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินงาน
1.2.ประสานวานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบล สำนักงานสาธารณสุขอำเภอท่าแพ
1.3.จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและเสนอขออนุมัติโครงการ
- ขั้นดำเนินการ
2.1.ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่ดำเนินโครงการ ทราบรายละเอียดโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 2.2.สำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย 2.3. พ่นหมอกควันในโรงเรียนทุกแห่งก่อนเปิดเทอม โดยพ่นสารเคมี 2 ครั้งเพื่อทำลายยุงพาหะตัวแก่นำโรคไข้เลือดออก 2.4 .พ่นหมอกควันในหมู่บ้านทุกแห่งในพื้นที่อำเภอท่าแพ โดยพ่นสารเคมี 2 ครั้้งเพื่อทำลายยุงพาหะตัวแก่นำโรคไข้เลือดออก
- สรุปและรายงานผลการดำเนินงานโครงการให้หน่วยงานเกี่ยวข้องทราบ
- ประชาชนในพื้นที่ตำบลท่าแพมีสุขภาพดีปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก
- ประชาชนมีส่วนร่วมและให้ความสำคัญกับการป้องกันไข้เลือดออกตลอดจนการดูแลสุขภาพและอนามัยชุมชน
- การป้องกันและควบคุมไข้เลือดออกเป็นไปตามเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุขซึ่งกำหนดไว้ว่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายในบ้านเรือนให้ีค่า HI ไม่เกิน 10 และ CI ไม่เกิน 0
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2560 08:59 น.