กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมป้องกันโรคหัด หมู่ที่ 5-7 ตำบลดุซงญอ
รหัสโครงการ 62-L2476-1-24
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.กาแย-กาเต๊าะ
วันที่อนุมัติ 17 ธันวาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 1,630.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอนุ พันธ์โภชน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กเล็กที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคหัดระบาด(คน)
3.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

วัคซีนเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพและความคุ้มทุนมากที่สุดชนิดหนึ่ง ในการป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อที่เป็นปัญหาต่อสุขภาพของประชาชนทั่วโลก ประเทศไทยใช้วัคซีนเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการป้องกันโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนอย่างเป็นระบบและกว้างขวางมาตั้งแต่ปี 2520 ด้วยการจัดตั้งแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค มีวัตถุประสงค์เพื่อลดอัตราป่วยและอัตราตายด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน โดยการใช้วัคซีนเป็นเครื่องมือในการป้องกันควบคุมโรคแก่ประชากรกลุ่มเป้าหมายและผสมผสานเข้ากับงานบริการสาธารณสุขในระบบปกติ โรคหัดก็เป็นโรคติดต่ออีกโรคหนึ่ง ที่มีลักษณะอาการของโรค คือ ไข้ออกผื่น พบได้ทุกวัย และพบได้บ่อยในเด็กเล็ก อายุ 1-6 ปี เกิดจากเชื้อไวรัส Measles ซึ่งพบได้ในจมูกและลำคอของผู้ป่วย ติดต่อกันได้ง่ายมาก โดยการไอ จาม หรือพูดกันในระยะใกล้ชิด เชื้อไวรัสจะกระจายอยู่ในละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย และเข้าสู่ร่างกายโดยทางการหายใจ บางครั้งเชื้ออยู่ในอากาศเมื่อหายใจเอาละอองที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสเข้าไป ก็ทำให้เป็นโรคได้ ถ้าไม่มีภูมิต้านทาน ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเป็นเด็กที่ยังไม่ได้รับวัคซีน นอกจากนี้โรคหัดยังอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
สถานการณ์โรคหัดในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกาแย-กาเต๊าะ ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาสระหว่างวันที่ 1-30เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2561 พบผู้ป่วยจำนวน 2 รายและมีการระบาดของโรคหัดเป็นระยะดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกาแย-กาเต๊าะร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลดุซงญอจึงได้จัดทำโครงการควบคุมและป้องกันการระบาดของโรคหัด เพื่อป้องกันควบคุมโรคหัดอย่างมีประสิทธิภาพ และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ห่างไกลจากโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้แกนนำสุขภาพประจำบ้านมีความรู้ มี่ส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพและป้องกันไม่ให้ป่วยด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้

 

0.00
2 เพื่อพัฒนาศักยภาพ ทักษะส่วนบุคคลและชุมชนให้เกิดความพร้อมในการเฝ้าระวังและควบคุม ป้องกันโรค

 

0.00
3 เพื่อให้เด็กได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดเข็มที่ 1 และเข็มที่ 2 ครอบคลุมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 95

 

0.00
4 เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับชุมชนในการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัด

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 1,630.00 2 1,630.00
??/??/???? กิจกรรมประชุมให้ความรู้เกี่ยวกับวัคซีนหัดกับหลักศาสนา 0 930.00 930.00
??/??/???? ประชาสัมพันธ์โครงการ 0 700.00 700.00
  1. จัดประชุมชี้แจงคณะทำงานที่รับผิดชอบในการจัดทำโครงการ ฯ เพื่อขอรับงบประมาณจากกองทุน ฯ อบต.ดุซงญอ
  2. ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานตามโครงการแก่เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครสาธารณสุขเพื่อวางแผนในการดำเนินงาน ของ รพ.สต.บ้านกาเต๊าะ
  3. จัดประชุมชี้แจงพร้อมทั้งให้ความรู้เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องวัคซีนหัดกับหลักศาสนาอิสลามแก่ผู้ปกครองเด็กกลุ่มเป้าหมาย
  4. รณรงค์และติดตามกลุ่มเป้าหมายที่ไม่มารับวัคซีนตามที่นัดและกลุ่มที่ไม่เคยมารับบริการ
  5. สรุปผลการตรวจคัดกรอง คัดแยกกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคไม่ติดต่อ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราการป่วย/ตายด้วยโรคหัดในพื้นที่ลดลง
  2. ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจ ที่ถูกต้อง และได้ตระหนักถึงการรับวัคซีนป้องกันโรคหัดของเด็ก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ธ.ค. 2561 00:00 น.