กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์การเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกัน และระงับการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ปี 2560 (อสม.รพ.สต.บ้านกูบู)
รหัสโครงการ 60-L2486-2-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (รพ.สต.บ้านกูบู)
วันที่อนุมัติ 7 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,880.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรีซาน มะมิง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลไพรวัน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.3,101.958place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากรายงานระบาดวิทยาของ ตำบลไพรวันในปี 2558 พบว่า มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก 4 รายคิดเป็นอัตราป่วย 45.77 ต่อแสนประชากร และในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกูบู พบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 3 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 51.24 ซึ่งอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกูบู เกินร้อยละ 50 ต่อแสนประชากร เนื่องจากชุมชนในปัจจุบันได้มีการขยายตัวมากขึ้น แต่ไม่มีการวางแผนควบคุมแมลงนำโรคโดยเฉพาะอย่างยิ่งแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย จึงส่งผลให้เกิดการแพร่พันธุ์ของยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก ซึ่งโรคนี้มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสายพันธุ์อยู่ตลอดเวลา จากอดีตที่ผ่านมาการระบาดของไข้เลือดออกมักจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูฝน แต่ปัจจุบันพบว่าโรคไข้เลือดออกสามารถเกิดได้ทุกฤดูกาล และนโยบายการพัฒนาบริการสาธารณสุขได้เปลี่ยนจากเชิงรับมาเน้นการให้บริการในเชิงรุกเพื่อส่งเสริมให้องค์กรในชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลและป้องกันสุขภาพของตนเองมากขึ้นขณะเดียวกันโรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่ป้องกันได้หากประชาชนมีพฤติกรรมป้องกันโรคที่ถูกต้อง การสร้างพฤติกรรมการป้องกันโรคและปลูกจิตสำนึกในการป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ได้ผลดีนั้น จำเป็นที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากประชาชน องค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น
ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร

 

2 เพื่อให้มีการดำเนินกิจกรรมรณรงค์ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00
  1. จัดทำโครงการและเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
  2. ประชุมชี้แจงโครงการแก่อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นำชุมชน
  3. ประชาสัมพันธ์เฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกัน และระงับการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก
  4. กิจกรรมจัดสิ่งแวดล้อมให้ถูกสุขลักษณะภายในบริเวณบ้าน และร่วมกันสำรวจแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย

- สำรวจลูกน้ำบริเวณบ้านโดยอาสาสมัครสาธารณสุขในเขตรับผิดชอบร่วมกับเจ้าของบ้าน อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง/หมู่ - ประชาสัมพันธ์การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายทุกวันศุกร์ของสัปดาห์ที่ 1 และ 2 ของทุกเดือน - จัดกิจกรรมรณรงค์ ป้องกันโรคในชุมชน ได้แก่พ่นหมอกควัน แจกโลชั่นกันยุงและสเปรย์กำจัดยุง ทรายอะเบทให้แก่ครัวเรือนที่มีผู้ป่วยและครัวเรือนใกล้เคียงเพื่อควบคุมโรคเบื้องต้น 5. ควบคุมการระบาดของโรคจากผู้ป่วยที่เกิดโดยการพ่นหมอกควัน 6. สรุปผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ไม่เกิน 50 คนต่อแสนประชากร
  2. เกิดความร่วมมือระหว่างประชาชน องค์กรในชุมชน ในการมีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
  3. ลดความชุกของลูกน้ำยุงลาย และอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2560 09:57 น.