กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเล่านิทานสำหรับผู้ปกครองในการสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดใน “เด็กปฐมวัย”
รหัสโครงการ 60-L2486-3-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทิดไท้องค์ราชันบ้านกูบู และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบาเดาะมาตี
วันที่อนุมัติ 7 มีนาคม 2017
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2017 - 30 กันยายน 2017
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 14,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรอกีเย๊าะ บินมะยะโกะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลไพรวัน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.3,101.958place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 140 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สำนักงาน ป.ป.ส กระทรวงยุติธรรม ร่วมมือกับ กระทรวงศึกษาธิการ จัดทำโครงการสร้างคุ้มกันยาเสพติดในกลุ่มเด็กปฐมวัย โดยใช้ 'นิทาน' เป็นสื่อเสริมสร้างพัฒนาการทางสมองในการบริหารจัดการชีวิต สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดหรือ สำนักงาน ป.ป.ส. กระทรวงยุติธรรม ลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกับ กระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การดำเนินงานด้านการสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติด ในกลุ่มเด็กและเยาวชนในสถานศึกษาโดยเริ่มต้นจากกลุ่มเด็กปฐมวัย หรือ เด็กอายุระหว่าง 3 ถึง 6 ปี ด้วยการเสริมสร้างความสามารถในการบริหารจัดการชีวิต หรือ เอ็กเซ็กคูทีฟ ฟังก์ชัน หรือ อีเอฟ (Executive Functions : EFs) ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ในป้องกันปัญหายาเสพติด ตั้งแต่ปี 2558 ถึง 2562 ของรัฐบาล สำนักงาน ป.ป.ส. ในกลุ่มเด็กปฐมวัย หรือ เด็กนักเรียนระดับชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 1 ถึง 3 วิธีการเสริมสร้างพัฒนาการทางสมองในการบริหารจัดการชีวิต หรือ "อีเอฟ"ในวัยเด็กเล็ก จึงเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดที่เข้มแข็ง เนื่องจากสมองจะเปิดรับการเรียนรู้ในการจัดการตนเอง และจดจำไปตลอดชีวิตซึ่งเด็กอายุระหว่าง 2 ถึง 6 ปี มีพัฒนาการที่สามารถเรียนรู้วิธีการนี้ได้ดีที่สุด ดังนั้น เพื่อเป็นการสร้างจิตสำนึกในทิศทางการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของประเทศ ตระหนักถึงความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดให้กับคนไทยตั้งแต่ระดับปฐมวัย (แรกเกิด – 6 ปี) เพื่อสร้างพลเมืองรุ่นใหม่ให้เข้มแข็งและห่างไกลจากยาเสพติด จากสถิติผู้เข้ารับการบำบัดรักษายาเสพติดตั้งแต่ปี 2553 – 2558 พบว่า ผู้เสพหน้าใหม่เข้ารับการบำบัดรักษา มีสัดส่วนของเด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 15 ปี เพิ่มสูงขึ้น เป็นเหตุให้ สำนักงาน ป.ป.ส. เห็นถึงความสำคัญจึงต้องเพิ่มน้ำหนักการทำงานด้านการป้องกันเชิงรุก โดยการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับกลุ่มเด็กปฐมวัย องค์ความรู้สำคัญที่จะนำมาใช้ในการสร้างภูมิคุ้มกันในกลุ่มเด็กปฐมวัย คือ องค์ความรู้ด้านประสาทวิทยา ในเรื่อง อีเอฟ (EFs หรือ Executive Functions) ซึ่งหมายถึง ความสามารถของสมองในการบริหารจัดการชีวิต เป็นทักษะในการคิดและรู้สึก เช่น ยับยั้งชั่งใจ คิดก่อนทำ รู้จักควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมให้เหมาะสม ความมุ่งมั่นพากเพียร และรู้จักปรับตัวกับสถานการณ์ ล้มแล้วลุกได้ โดยที่ EFs มีช่วงระยะที่จะพัฒนาได้อย่างดี คือ ในช่วงอายุ 2 – 6 ปี ดังนั้น หากต้องการพลเมืองที่มีภูมิคุ้มกันที่เข้มแข็งต่อยาเสพติดและปัญหาอื่นๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพัฒนาอย่างถูกวิธีในช่วงอายุนี้” ดังนั้น เพื่อเป็นการสร้างจิตสำนึกสำหรับเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในพื้นที่ตำบลไพรวัน ในการสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติด ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในพื้นที่ตำบลไพรวัน ได้ดำเนินการจัดทำ โครงการเล่านิทานสำหรับผู้ปกครองในการสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดใน “เด็กปฐมวัย” เพื่อให้ผู้ปกครองได้สอดแทรกการป้องกัน ยาเสพติดในนิทานที่เล่าให้แก่เด็กได้รับฟัง โดยเด็กได้ซึมซับเกิดการเรียนรู้ว่ายาเสพติดเป็นอันตรายต่อชีวิต เมื่อเขาเติบโตขึ้น จะได้ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดตลอดไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างจิตสำนึกให้กับผู้ปกครองในการป้องกันยาเสพติด

 

2 เพื่อให้เด็กปฐมวัย ได้รับรู้และรับทราบถึงปัญหาและพิษภัยของยาเสพติด

 

3 เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ทักษะทางความคิด สร้างภูมิคุ้มกันทางด้านร่างกายจิตใจให้กับเด็ก ไม่ตกเป็นทาสของอบายมุขด้วยวิถีพุทธ

 

4 เพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลและร่วมแก้ปัญหายาเสพติดในชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม

 

5 เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหายาเสพติดในครอบครัวและสังคม

 

6 เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในครอบครัวโดยใช้นิทานเป็นสื่อในการสร้างภูมิคุ้มกัน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นเตรียมการ 1.1 สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมายเด็กอายุ 2-5 ปี
    1.2 จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ
  2. ขั้นดำเนินการ 2.1 ให้ความรู้แนวทางในการเล่านิทานการสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดอย่างถูกต้องสำหรับผู้ปกครอง 2.2 ฝึกผู้ปกครองปฏิบัติจริง 2.3 สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครองมีจิตสำนึกในการป้องกันยาเสพติด
  2. เด็กปฐมวัย ได้รับรู้และรับทราบถึงปัญหาและพิษภัยของยาเสพติด
  3. เด็กมีคุณภาพชีวิต ทักษะทางความคิด สร้างภูมิคุ้มกันทางด้านร่างกายจิตใจให้กับเด็ก ไม่ตกเป็นทาสของอบายมุขด้วยวิถีพุทธ
  4. ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหายาเสพติดในครอบครัวและสังคม
  5. ครอบครัวมีภูมิคุ้มกันยาเสพติดโดยใช้นิทานเป็นสื่อในการสร้างภูมิคุ้มกัน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2017 15:42 น.