กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมให้ความรู้การคัดแยกขยะจากต้นทาง ลดขยะ ลดโรค ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2562
รหัสโครงการ 62-L3031-12-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุรักษ์สุขภาพตำบลเมาะมาวี
วันที่อนุมัติ 3 ธันวาคม 2018
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 ธันวาคม 2018 - 30 กันยายน 2019
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2019
งบประมาณ 61,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายดิง ยาบี
พี่เลี้ยงโครงการ นายแวอับดุลรอแม มะยีแต
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเมาะมาวี อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.67,101.303place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันคนไทยกว่า 65 ล้านคนสามารถสร้างขยะมูลฝอยทั่วประเทศได้มากถึง 14.4 ล้านตัน ต่อปีหรือ 39,240 ตันต่อวัน (สถานการณ์ด้านการกำจัดขยะมูลฝอยของประเทศไทย (กรมควบคุมมลพิษ) โดยมีค่าเฉลี่ยการผลิตขยะคนละ 0.6 กิโลกรัมต่อวัน ซึ่งขยะโดยส่วนใหญ่ประกอบด้วยขยะประเภทบรรจุภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) และแปรรูปกลับมาใช้ซ้ำ (Recycle) แต่ความสามารถในการจัดเก็บขยะกลับมีไม่ถึง 70% ของขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น จึงทำให้เกิดปริมาณขยะมูลฝอยตกค้างตามสถานที่ต่างๆ หรือมีการนำไปกำจัดโดยวิธีกองบนพื้นซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมตามมา สำหรับสถานการณ์ขยะของตำบลเมาะมาวี มีการผลิตขยะเฉลี่ย 0.3 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน มีการจัดเก็บประมาณ 69 ตันต่อเดือน มีการเก็บค่าใช้จ่ายการกำจัดขยะครัวเรือนละ 10 บาทต่อเดือน ซึ่งน้อยกว่าต้นทุนที่จัดเก็บจริง ที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 80,000 บาทต่อเดือน จากการสังเกตพบว่าขยะส่วนใหญ่ประกอบด้วยถุงพลาสติก เศษผ้าออมสำเร็จรูปที่ปนเปื้อนประมาณร้อยละ 40 เศษพืชผัก อาหารจากครัวเรือน ขยะอินทรีย์อื่นๆ ร้อยละ 30 ขยะรีไซเคิลได้ร้อยละ 20 และขยะอื่นๆ ซึ่ง
      ขยะเป็นแหล่งเพาะโรคต่าง ๆ มากมายและเป็นแหล่งการแพร่ของเชื้อโรค ที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ โรคในระบบทางเดินอาหาร โรคในระบบผิวหนัง การเกิดอุบัติเหตุ จะเห็นว่าจะเป็นตัวบั่นทอนอายุของประชาชนให้สั้นลงได้ ทุกระบบของการเกิดโรคมีสาเหตุจากขยะเกือบทั้งสิ้น ขยะบางชนิดก็มีประโยชน์ถ้ามีวิธีการนำกลับมาใช้จะได้คุณค่าอย่างแท้จริงการกำจัดขยะไม่ว่าโดยวิธีใดย่อมมีผลกระทบต่อสิ่งแวด ล้อมไม่มากก็น้อยทั้งในระยะสั้นและระยะยาวโดยเฉพาะในบ้านเราไม่ได้มีการแยกขยะอันตรายที่มีสารเคมีและโลหะหนักออกไปกำจัดให้ถูกต้องก็ยิ่งน่าเป็นห่วงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน การหาวิธีกำจัดขยะในรูปแบบต่าง ๆ เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ การกำจัดขยะให้ได้ผล ต้องแก้ที่ต้นเหตุ คือ “ คน"ซึ่งเป็นผู้ก่อให้เกิดขยะ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากการผลิตขยะโดยขาดสำนึกรับผิดชอบ ไปสู่การสร้างตระหนักและรับผิดชอบขยะที่ตนเองผลิตให้ลดลง ทิ้งเท่าที่จำเป็นและร่วมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะ
ประกอบกับรัฐบาลโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้กำหนดนโยบายและแผนงานโดยถือเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกภาคส่วนต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาขยะโดยเน้นการจัดการขยะจากต้นทาง นั่นคือจากประชาชนผู้ทิ้งขยะ จึงจำเป็นต้องดำเนินการโครงการนี้เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์อันมหาศาลต่อสังคมและประเทศชาติต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ชุมชนมีพฤติกรรมการจัดการขยะอย่างยั่งยืน

1.ร้อยละ 90 ของประชาชนเทศบาลตำบลบ้านคอกช้างที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ มีความเข้าใจ ในด้านการจัดการขยะที่ถูกต้อง

2.มีครัวเรือนเข้าร่วมเป็นเครือข่ายโครงการนำร่อง ไม่น้อยกว่า 40 ครัวเรือน 3.ปริมาณขยะลดลง อย่างน้อย 200 กิโลกรัม/วัน

4.มีเครือข่ายเยาวชนตาสัปรด เฝ้าระวังการทิ้งขยะ

0.00
2 เพื่อให้ประชาชน ศาสนสถานและสถานศึกษา มีการจัดการขยะให้ครอบคลุมทุกพื้นที่เป้าหมายเพื่อลดภาวะเสี่ยงของการเกิดโรคจากมลภาวะของขยะ

1.เกิดพื้นที่ ที่สามารถใช้ประโยชน์ทดแทนกองขยะอย่างน้อย 6 จุด และเกิดวันทำความสะอาดประจำปีของชุมชน 2.สภาพแวดล้อมของชุมชน สะอาด เรียบร้อย น่าอยู่อาศัย ไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์พาหะนำโรค เช่น แหล่งเพาะพันธุ์ยุง แมลงวัน เป็นต้น

0.00
3 เพื่อให้มีการแยกขยะจากครัวเรือน

มีการแยกขยะจากต้นทาง

0.00
4 พื่อให้ประชาชนในตำบลเมาะมาวีสุขภาพดีถ้วนหน้า

การเจ็บป่วยของประชากรในตำบลเมาะมาวีลดลง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินการดังนี้ 1. เสนอโครงการเพื่อพิจารณาอนุมัติ
2. ประชุม เตรียมความพร้อมและชี้แจงการจัดงาน 3. กิจกรรม อบรมให้ความรู้เรื่องกระบวนการจัดการขยะอย่างครบวงจร ตั้งแต่ การลด การตัดแยก การจัดเก็บ การกำจัด และการใช้ประโยชน์ 4. กิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ของผู้นำในชุมชนและผู้นำทางศาสนา

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับมลพิษที่เกิดจากขยะและผลกระทบของขยะต่อสิ่งแวดล้อม
          2. กลุ่มเป้าหมายรู้วิธีการลดขยะในศาสนสถาน สถานศึกษาและในชุมชน       3. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการแยกขยะประเภทต่างๆ
          4. มีการนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่ รีไซเคิลใหม่
          5. กลุ่มเป้าหมายนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน รวมไปถ่ายทอดให้กับผู้อื่น
    1. ประชาชนในตำบลเมาะมาวีมีสุขภาพดีถ้วนหน้า (กลุ่มเป้าหมายผู้นำในชุมชน ผู้นำศาสนาและประชาชนในชุมชน )
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ธ.ค. 2018 12:22 น.