กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายฯ
รหัสโครงการ 60-L5215-1-4.4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านทุ่งใหญ่
วันที่อนุมัติ 24 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2560 - 31 สิงหาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 13,020.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเพ็ญศรี รอดอิน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.154,100.612place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.พ. 2560 31 ส.ค. 2560 13,020.00
รวมงบประมาณ 13,020.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 9 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เบาหวานและความดันโลหิตสูงเป็นทั้งปัญหาสุขภาพและสาธารณสุขที่สำคัญ สมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ (International Diabetes Federation; IDF) รายงานสถานการณ์โรคเบาหวานในปี 2558 ว่ามีผู้เป็นเบาหวานทั่วโลก 387 ล้านคนสาเหตุสำคัญ คือ การไม่ได้รับการวินิจฉัยหรือไม่ได้รับการตรวจคัดกรองว่าเป็นเบาหวานตั้งแต่เบื้องต้น ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้จัดให้อยู่ในกลุ่มเรื้อรังที่ไม่ติดต่อที่มีสาเหตุที่ซับซ้อนและมีปัจจัยเกื้อหนุนทั้งด้านพันธุกรรม พฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปจนเกิดโรคอ้วน ขาดการออกกำลังกาย มีพฤติกรรมสุขภาพด้านลบ เช่น สูบบุหรี่หรือบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มากเกินไป นอกจากนี้สภาวะแวดล้อมสังคมที่เร่งรีบและไม่กระตุ้นให้คนมีวิถีชีวิตที่ดีต่อสุขภาพ ด้วยเหตุนี้โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงจึงเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยและการตายสูงถึงร้อยละ 60 ของการตายทั่วโลก และส่วนใหญ่เกิดขึ้นในประเทศที่กำลังพัฒนา ประเทศไทยพบว่า ประชากรที่เป็นเบาหวานทั้งหมด 3.2 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 6.9ส่วนโรคความดันโลหิตสูงคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปมี ความดันโลหิตสูง ร้อยละ 35.82 หรือคิดเป็นจำนวน 17.64 ล้านคน (World Health Organization [WHO], 2002)ประชากรกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงจำนวน 1ใน 10 คน หากไม่ได้รับการดูแลที่เหมาะสมก็จะกลายเป็นผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ถึงร้อยละ 19-61 ภายในระยะเวลา 5-10 ปี (ชุมพจน์และบุญถนอม, 2550 ) และจะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆทั้งโรคหัวใจ โรคไขมัน ซึ่งเป็นโรคที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้คนที่เป็นโรคส่วนใหญ่มักจะเป็นหลายโรคพร้อมกัน การจัดการกับโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในปัจจุบันจึงเปลี่ยนจากการตั้งรับเพื่อการรักษา มาเป็นการมองว่าความเสี่ยงจะเป็นโรคมากน้อยเพียงไร และจะจัดการลดความเสี่ยงเหล่านั้นอย่างไร จากการศึกษาที่ผ่านมา พบว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคเบาหวานในกลุ่มเสี่ยง มีหลายปัจจัยด้วยกันได้แก่ ปัจจัยด้านอาหาร พันธุกรรม สิ่งแวดล้อม ความอ้วนการขาดการออกกำลังกายและปัจจัยอื่นๆ เช่น ความเครียดการใช้ยาบางชนิด สำหรับปัจจัยด้านอาหารพบว่ามีสาเหตุมาจากการมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารไม่เหมาะสมโดยบริโภคอาหารที่ให้พลังงานสูงและรับประทานผลไม้ที่มีรสหวานจัดบริโภคผัก ผลไม้ และธัญพืชลดลง เป็นเหตุให้มีภาวะน้ำหนักเกินเพิ่มสูงขึ้น ปริมาณไขมันในเลือดมากเกินไปจนทำให้เกิดโรคอ้วนส่งผลให้เกิด เบาหวานในเวลาต่อมา (กรรณิการ์, 2549; ณรงค์ฤทธิ์, 2551; เนตรนภิส, 2551; สมควร, 2552) และยังพบว่าพฤติกรรมด้านการบริโภคอาหารของกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง (กรรณิการ์, 2549; สุพิมพ์, 2550; เสกสันต์, 2551; สมควร, 2552) ผลการศึกษาสะท้อนให้เห็นว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ล้วนมาจากพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานทั้งสิ้น ในปี ค.ศ. 2002 มีการศึกษาวิจัยถึงโปรแกรมการป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน ที่ศึกษาในคนอ้วน (ดัชนีมวลกาย 35 กก./ม.2) พบว่า การเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิต การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย สามารถลดอัตราการเป็นเบาหวานได้ร้อยละ 58 ส่วนผู้ที่เสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงการปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตที่สำคัญ (สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย, 2551; seventh report of the Joint National Committee [JNC 7], 2003) ได้แก่ 1) การลดน้ำหนักให้ดัชนีมวลกาย (Body mass index) เท่ากับ 8.5-24. กก./ตร.ม.2) การออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายชนิดใช้ออกซิเจนอย่างสม่ำเสมอเช่น การเดินเร็ว อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน และเกือบทุกวัน 3) งดหรือลดการดื่มแอลกอฮอล์ 4) รับประทานผัก ผลไม้ ที่ไม่หวานจัด 5)ลดปริมาณไขมันในอาหาร โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว และ 6) การจำกัดเกลือในอาหารโดยลดการรับประทานเกลือโซเดียมให้น้อยกว่า 2,400 มิลลิกรัม ต่อวัน เพราะอาหารที่มีรสเค็ม หรือเกลือโซเดียม ถ้าได้รับปริมาณมากทำให้กล้ามเนื้อเรียบของผนังหลอดเลือดตึงตัว และระคายเคืองต่อต่อมหมวกไต จะทำให้หัวใจทำงานหนัก ส่งผลให้เกิดโรคหัวใจได้ง่าย (วิมลรัตน์, 2552) การปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตจะทำได้ต้องมีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการปรับปรุง ตั้งแต่การปลูกฝังค่านิยมในการดำเนินชีวิต การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การป้องกันการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงนั้นจะทำได้โดยการสร้างให้เขาเกิดความตระหนักในความเสี่ยงที่มีอยู่การจะทำให้การปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตได้สำเร็จนั้นผู้ที่มีความเสี่ยงต้องมีจิตใจที่ตั้งมั่นจะรับผิดชอบดูแลสุขภาพตนเอง ทีมรักษา เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจะทำหน้าที่สนับสนุนและช่วยให้ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคสามารถปฏิบัติการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้และเป็นไปตามแนวทางที่ถูกต้อง
ข้อมูลการวินิจฉัยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งใหญ่ ปี 2559 พบกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน 69 คน คิดเป็นร้อยละ 2.43 กลุ่มเสี่ยงได้รับการวินิจฉัยโรคเบาหวานรายใหม่ จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 13.04 กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 90 คน คิดเป็นร้อยละ 3.52 กลุ่มเสี่ยงได้รับการวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ จำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 26.66 ในปี 2560 พบกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน 51 คน คิดเป็นร้อยละ 1.78 กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 159 คน คิดเป็นร้อยละ 5.38 แสดงให้เห็นว่าร้อยละการวินิจฉัยผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่มากกว่าร้อยละ 5 ซึ่งเกินเกณฑ์มาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดขึ้น ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งใหญ่ จึงได้จัดโครงการปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตเพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงสำหรับผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคโดยใช้แนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ของแบนดูรา (Bandura, 1986) กล่าวว่า พฤติกรรมของคนเราส่วนมากจะเป็นการเรียนรู้โดยการสังเกต (Observational Learning) หรือการเลียนแบบจากตัวแบบ (Modeling) สำหรับตัวแบบไม่จำเป็นต้องเป็นตัวแบบที่มีชีวิตเท่านั้น แต่อาจจะเป็นตัวสัญลักษณ์ และถือว่าทั้งบุคคลที่ต้องการจะเรียนรู้และสิ่งแวดล้อมเป็นสาเหตุของพฤติกรรมและได้อธิบายการปฏิสัมพันธ์ ร่วมกับขั้นตอนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Transtheoretical model หรือ Stages of change ) ของโปรชาสการ์และคณะ (Prochaska etal., 1997 อ้างตาม อุมาพร, 2547) ที่กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญสู่ความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม บุคคลจะมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเมื่อพร้อมที่จะเปลี่ยนเท่านั้น และระยะของความพร้อมที่แตกต่างกัน ต้องอาศัยคำแนะนำหรือแรงกระตุ้นที่จำเพาะ คือ ร่างกาย จิตใจ บุคคลรอบข้าง สิ่งแวดล้อม และรูปแบบการดำเนินชีวิตที่เหมาะสม ในการผลักดันให้เกิดการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต (Lifestyle) นี้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะนำไปสู่การป้องกันการเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงของผู้ใช้บริการกลุ่มเสี่ยงสูงในที่สุด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และมีดัชนีมวลกาย (Body mass index) เท่ากับ 18.5-24. กก./ตร.ม

 

2 เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่

 

3 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความรู้และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายที่เหมาะสม

 

4 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความพึงพอใจกิจกรรมโครงการ “ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและออกกำลังกายสักนิด เพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง”

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
17 มี.ค. 60 กิจกรรมอบรมให้ความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร 59 13,020.00 13,020.00
รวม 59 13,020.00 1 13,020.00

1.ขั้นตอนการดำเนินงาน ชี้แจงวัตถุประสงค์และขั้นตอนการดำเนินงานกับทีมงาน ได้แก่ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งใหญ่ อาสาสมัครสาธารณสุขเขตพื้นที่รับผิดชอบ หมู่ที่ 3 และ 7 ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 2. ระยะดำเนินงาน 1) จัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2)จัดให้กลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้เข้าร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยจัดกิจกรรมค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ( Day Camp) กิจกรรมประกอบด้วย - การตรวจร่างกาย วัดความดัน ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว - ประเมินความรู้เรื่องโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง และพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และออกกำลังกาย ก่อนเข้าร่วมโครงการ- กิจกรรม “สาธิตโมเดลการไหลเวียนของเลือด” เป็นการให้ความรู้เรื่องกลไกการเกิดโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง - “อาหารกับพลังงานที่สมดุล” เป็นการให้ความรู้ คำแนะนำการปฏิบัติตนเรื่องการรับประทานอาหาร - “การออกกำลังกายโดยการแกว่งแขน”เป็นการส่งเสริมทักษะในเรื่องการ ออกกำลังกายที่เหมาะสม 3.ขั้นตอนการติดตามการดำเนินกิจกรรม 1)กลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคความดันโลหิตสูง ติดตามตรวจวัดความดันโลหิต วัดรอบเอว ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ประเมินดัชนีมวลกาย ลงบันทึกในสมุดประจำตัวกลุ่มเสี่ยง (ติดตามทุก 1 เดือน 3 เดือน และ 6 เดือน) 2) กลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวาน ติดตามตรวจวัดความดันโลหิต วัดรอบเอวชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูง ประเมินดัชนีมวลกาย ระดับน้ำตาลในเลือด โดยเจาะเลือดปลายนิ้ว ลงบันทึกในสมุดประจำตัวกลุ่มเสี่ยง (ติดตามทุก 1 เดือน 3 เดือน และ 6 เดือน)
3) ดำเนินการส่งต่อกลุ่มป่วยรายใหม่พบแพทย์ตามมาตรฐานการรักษา

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตได้ผ่านกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย
  2. กลุ่มเสี่ยงสูงมีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงและสามารถปฏิบัติพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
  3. จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตรายใหม่สูงลดลง
  4. ผู้ป่วยรายใหม่ได้รับการส่งต่อและรักษาตามมาตรฐาน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2560 14:14 น.