กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโรคอ้วนในเด็กวัยเรียน "วัยใส ไร้พุง" เขตเทศบาลเมืองตากใบ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ปี 2560
รหัสโครงการ 60-L7487-01-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลตากใบ
วันที่อนุมัติ 2 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 กุมภาพันธ์ 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 54,925.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางหนึ่งฤทัย นิลกาญจน์
พี่เลี้ยงโครงการ นางดวงฤดีคงแสง
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 1797 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สืบเนื่องจากการจัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โรคอ้วนในเด็กวัยเรียน “วัยใส ไร้พุง” ในปีงบประมาณ 2559 ณ โรงเรียนตากใบ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส จำนวนเป้าหมาย 250 รายนั้น กลุ่มเป้าหมายมีความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 อ. 2 ส. ได้ดีขึ้น จำนวน 240 ราย คิดเป็นร้อยละ 96 พบกลุ่มเสี่ยงที่มีภาวะโภชนาการเกิน เริ่มอ้วน และอ้วน จำนวน 60 ราย คิดเป็นร้อยละ 24 ระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 เดือน มีนักเรียนที่อยู่ในกลุ่มสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ น้ำหนกลดลง 5 ราย คิดเป็นร้อยละ 8.3 น้ำหนักเท่าเดิม 44 ราย คิดเป็นร้อยละ 73.3 น้ำหนักเพิ่มขึ้น 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.6 ส่งต่อนักเรียนในกลุ่มเสี่ยงและสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้สมัครใจเข้าคลินิกไร้พุงโรงพยาบาลตากใบ2 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.3 นักเรียนในกลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจในการจัดโครงการจำนวน 244 รายคิดเป็นร้อยละ 97.6 ทางคลินิกไร้พุงโรงพยาบาลตากใบพอใจกับผลการดำเนินงาน จะเห็นได้ว่าจากกลุ่มเป้าหมาย 250 รายนั้น ได้รับความรู้และมีความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 อ. 2 ส.เพิ่มขึ้นร้อยละ 96 และมีความพึงพอใจกับการทำโครงการ ร้อยละ 97.6 จึงควรเพิ่มจำนวนกลุ่มเป้าหมายเป็นโรงเรียนมัธยมในเขตเทศบาลทั้งหมดเพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 อ. 2 ส. เพื่อลดการเกินภาวะโภชนาการเกิน เริ่มอ้วน และอ้วน เนื่องจาก โรคอ้วนในเด็กเป็นหนึ่งในปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและเป็นความท้าทายในการจัดการปัญหาดังกล่าวในศตวรรษที่ 21 มีการแพร่ระบาดของโรคอ้วนไปทั่วโลก และเพิ่มขึ้นกว่า เท่าตัวในรอบ 3 ทศวรรษที่ผ่านมาทำให้เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในหลายๆ ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี โดยเฉพาะเด็กวัยเรียน การแพร่กระจายของปัญหาภาวะอ้วนส่วนใหญ่จะพบมากในเขตเมืองทุกภูมิภาคของประเทศจากการศึกษาวิจัยในต่างประเทศพบว่าเด็กอ้วน 1 ใน 4 จะมีโอกาสเป็นผู้ใหญ่ที่อ้วน และหากเป็นวัยรุ่นอ้วนจะมีโอกาสสูงถึง 3 ใน 4 ผลกระทบจากการเป็นโรคอ้วนจะทำให้เกิดปัญหาทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และเศรษฐกิจทางด้านร่างกายพบว่าโรคอ้วนที่เกิดขึ้นในเด็กเป็นสาเหตุสำคัญของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอื่นๆ เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในผู้ใหญ่ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคปอดและทางเดินหายใจอุดตัน หัวใจวาย โรคกระดูกและข้อ โรคผิวหนังที่มีลักษณะผิวคล้ำหนาเหมือนกำมะหยี่ บริเวณซอกคอ รักแร้ ข้อพับต่างๆ และขาหนีบ หรือAcanthosisnigricansเป็นต้นในเด็กอายุ 5-17 ปี พบว่าเด็กอ้วนมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ และหลอดเลือดมากกว่าเด็กปกติ โดยมีแนวโน้มเป็นโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น 2-4.5 เท่า และภาวะไขมันในเลือดสูงเพิ่มขึ้น 3-7 เท่าทางด้านจิตใจพบว่าโรคอ้วนทำให้เสียบุคลิกภาพและถูกล้อเลียน จึงทำให้เด็กเกิดปมด้อยและมีความกดดันเด็กอ้วนบางคนแยกตัวออกจากกลุ่มเพื่อน มีปัญหาในการเข้าสังคมในเด็กที่อ้วนรุนแรงจะมีผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ ทำให้นอนกรน เนื่องจากร่างกายได้รับออกซิเจนน้อยเกิดการคั่งของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และหยุดหายใจขณะหลับเป็นช่วงๆ อาการเหล่านี้จัดอยู่ในกลุ่มที่เรียกว่าPickwickian Syndrome ซึ่งบางคนอาจมีอาการทางไตร่วมด้วย ผลเสียจากเกิดภาวะดังกล่าว ทำให้เด็กนอนหลับไม่เพียงพอ และจะนั่งหลับทุกครั้งเมื่อนั่งเรียนทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตกต่ำผลกระทบต่อเศรษฐกิจ เด็กอ้วนที่ป่วยเป็นโรคแทรกซ้อนทำให้ ครอบครัวต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น และทำให้ รัฐบาลต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลโรคเรื้อรังอันเกิดจากโรคอ้วนหลายพันล้านบาทต่อปีกรมอนามัย เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำแนวทางการคัดกรอง ส่งต่อ และแก้ปัญหาเด็กอ้วนกลุ่มเสี่ยง ในสถานศึกษา สถานบริการสาธารณสุข และคลินิก DPAC เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพเด็กวัยเรียน สามารถคัดกรองเบื้องต้น ช่วยเหลือ ส่งต่อเข้าระบบบริการสาธารณสุข โดยใช้เครื่องมือที่ง่ายและเหมาะสม สามารถคัดกรองความเสี่ยง และจำแนกเด็กอ้วนที่มีปัญหาโรคแทรกซ้อนออกจากเด็กอ้วนที่ไม่มีโรคแทรกซ้อนได้รวดเร็ว และส่งต่อเพื่อเข้ารับการรักษาได้ทันท่วงที จะช่วยป้องกันเด็กวัยเรียนทั้งประเทศมิให้เป็นโรคอ้วนขั้นรุนแรง (Morbid obesity) ที่มีโรคแทรกซ้อนและเจริญเติบโตเต็มศักยภาพ มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป ดังนั้น จึงจัดโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โรคอ้วนในเด็กวัยเรียน “วัยใส ไร้พุง”เพื่อให้ความรู้ ทักษะและสร้างเจตคติที่ดีในการดูแลสุขภาพ การออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร และการเปลี่ยนแปลงการบริโภคอาหารให้กับนักเรียน ครู ผู้ปกครอง เพื่อร่วมกันปลูกจิตสำนึกในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และลดปัญหาภาวะโภชนาการเกินของนักเรียน เพื่อให้นักเรียนเติมโตอย่างมีศักยภาพ มีสุขภาพอนามัยที่สมบรูณ์ แข็งแรง และมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไปในอนาคต เพื่อเป็นกำลังที่สำคัญที่จะพัฒนาประเทศชาติสืบไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ปลูกจิตสำนึกนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

 

2 2.เพื่อให้นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการที่มีภาวะโรคอ้วน/ภาวะน้ำหนักเกินมีความรู้ในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ที่ถูกต้อง

 

3 3. เพื่อช่องทางนำนักเรียนที่มีภาวะโรคอ้วนเข้าสู่คลินิกไร้พุงของโรงพยาบาลตากใบ เพื่อให้ได้รับการดูแลที่เฉพาะและเหมาะสมต่อไป

 

4 4. เพื่อส่งเสริมนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการนำความรู้ลงสู่ครอบครัว ชุมชน สังคมต่อไป

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2560 10:22 น.