กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานและดูแลผู้ป่วยส่งกลับห่างไกลภาวะแทรกซ้อน
รหัสโครงการ 59-L4127-1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเจาะ
วันที่อนุมัติ 31 พฤษภาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2558 - 30 กันยายน 2559
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 34,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสันต์เดะุแอ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวซารีฟาห์กะแวมือแน
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.212,101.291place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 2960 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาช ประชาชนมีการแข่งขันสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัว นิยมวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น จึงทำให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง เช่่น การเร่งรีบกับการทำงาน บริโภคอาหารโดยไม่คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการ ีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ขาดการออกกำลังกาย เครียด ทำใหมีโอกาศเสี่ยงต่อการเจ็บปวยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข เป็นกลุ่มโรคที่มีปัจจัยสาเหตุการนำสู่โรคจากปัจจัยเสี่ยงร่วม และเสียชวิตก่อนวัยอันควร ซึ่งโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ และมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม จากผลการการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเจาะ ปี 2559 พบว่า มีกลุ่มเสี่ยงด้วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 339 คน และกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน จำนวน 172 คน นอกจากนี้กลุ่มป่วยที่รับยาที่ รพสต. ตั้งแต่ปี 2554 - 2559 จำนวนทั้งสิ้น 95 ราย สามารถแบ่งกลุ่มตามปิงปองจราจรชีวิต 7 สี ดังนี้ สีเขียวเข้ม 63 ราย สีเหลือง 21 ราย สีส้ม 9 ราย สีแดง 2 ราย มีผู้ป่วยที่ถูกส่งกลับไปยังโรงพยาบาลบันนังสตา เนื่องจากมีภาวะแทรกซ้อน จำนวน 2 ราย นอกจากนี้ จากการตรวจประเมินค่าความดันโลหิตและน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยแต่ละราย พบว่า ผู้ป่วยบางรายยังไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลและความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้อย่างสมำ่เสมอ ซึ่งจะส่งผลกระทบนั่น คือ การเกิดภาวะแทรกซ้อนในอนาคตได้ ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเจาะ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว และตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในกลุ่มดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดการเกิดโรคเรื้อรังและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันดลหิตสูง

ร้อยละของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันดลหิตสูง

2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาภตามหลัก 3 อ. 2 ส.

ร้อยละของกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3 อ. 2 ส.

3 เพื่อให้กลุ่มป่วยได้รับการดูแลรักษาและได้รับการส่งต่อตามแนวทางปิงปองจราจรชีวิต 7 สี

ร้อยละของกลุ่มป่วยได้รับการดูแลรักษาและได้รับการส่งต่อตามแนวทางปิงปองจราจรชีวิต 7 สี

4 เพื่อลดอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคความดันดลหิตสูงและเบาหวาน

ร้อยละของการลดอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคความดันดลหิตสูงและเบาหวาน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเจาะ และแกนนสุขภาพเพื่อชี้แจงการดำเนินงานโครงการ
  2. เสนอโครงการเพื่อให้ประธานอนุมัติ
  3. คัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานเชิงรุกโดยเจ้าหน้าที่และ อสม.
  4. จัดอบมให้ความรู้เรื่อง3 . 2 ส. ในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย
  5. จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้งาน DPAC ในชุมชน
  6. จัดประกวดผู้ที่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้สำเร็จทั้งในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยฃ
  7. ประเมินผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนอาใยุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมาตรฐานตามเกณฑ์
  2. กลุ่มเสี่ยงได้รับการเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3 อ. 2 ส. และมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสมอย่างต่อเนื่อง
  3. อัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ