โครงการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกฤดูกาลระบาด
ชื่อโครงการ | โครงการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกฤดูกาลระบาด |
รหัสโครงการ | 62-L1521-1-07 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลาเส |
วันที่อนุมัติ | 12 ธันวาคม 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤศจิกายน 2561 - 30 กันยายน 2562 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2562 |
งบประมาณ | 34,600.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | เงินบำรุงกองทุนหมุนเวียนบัตรประกันสุขกาพ สอ.ต.กะลาเส โดย นางเพ็ญศรี บัวขำ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลาเส |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลกะลาเส อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.744,99.326place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 พ.ย. 2561 | 30 ก.ย. 2562 | 34,600.00 | |||
รวมงบประมาณ | 34,600.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา สภาวะแวดล้อมมีการปรับเปลี่ยนไปถึงสภาวะทางทางสังคมและการดำเนินชีวิตของมนุษย์ที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะแวดล้อม และได้พบว่ามีปัญหาต่างๆตามมาอีกมากมายโดยเฉพาะปัญหาทางด้านสุขภาพได้มีโรคติดต่อที่เป็นปัญหาใหม่เกิดขึ้น เช่น โรคมือเท้าปาก โรคไข้หวัดใหญ่ ๒๐๐๙ เป็นต้น รวมถึงโรคที่เป็นปัญหาอย่างต่อเนื่อง เช่น โรคไข้เลือดออก โรคอุจาระร่วง ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์โดยตรง และยังส่งผลกระทบไปถึงภาพรวมทั้งระบบสังคมและเศรษฐกิจ สถานการณ์ การระบาดโรคไข้เลือดออกโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลาเส ยังทวีความรุนแรงและมีผู้ป่วยมากขึ้น ปี ๒๕๖๐-๒๕๖๑ มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจำนวน ๕ รายและ ๓ รายตามลำดับ ไม่มีผู้เสียชีวิต คิดเป็นอัตราป่วย ๙๒.๑๑ ต่อแสนประชากร และ ๕๕.๒๖ ต่อแสนประชากร ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขมีเป้าหมายลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิน ๕๐ ต่อแสน สถานการณ์โรคระบาดยังมีแนวโน้มการระบาดกระจายในพื้นที่อยู่และยังทวีความรุนแรง จึงจำเป็นต้องร่วมมือกันในการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายของโรคอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพ ในด้านการป้องกันควบคุมโรค ให้มีประสิทธิภาพและเป็นไปอย่างยั่งยืน ในการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่ ซึ่งจะเป็นกลไกที่สำคัญในการจัดการปัญหาโรคดังกล่าว และเป็นการพัฒนาเครือข่ายป้องกันควบคุมโรคให้มีประสิทธิภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลาเสจึงได้จัดทำโครงการขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ๑. เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ๑.อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกไม่เกินร้อยละ ๕๐ ต่อแสนประชากร ๒.อัตรการตายด้วยโรคไข้เลือดออกไม่เกินร้อยละ ๐ ต่อแสนประชากร |
50.00 | |
2 | ๒. เพื่อทำลายและควบคุมแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย กำจัดลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย HI น้อยกว่า ๑๐,CI เท่ากับ ๐
|
0.00 | |
3 | ๓. เพื่อกระตุ้นปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการป้องกันโรค
|
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 34.00 | 0 | 0.00 | 34.00 | |
14 ธ.ค. 61 | ประชุมชี้แจงให้ความรู้แต่ละหมู่บ้านประจำทุกเดือน,รถแห่ประชาสัมพันธ์ในพื้นที่,อสม.รณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลาย,สำรวจผู้ป่วยในชุมชนแนะนำวิธีรักษา,จัดกิจกรรมประชุมกลุ่มสอบสวนโรค | 0 | 34.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 34.00 | 0 | 0.00 | 34.00 |
๑. จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกะลาเส
๒. จัดเตรียม วัสดุ อุปกรณ์ในการจัดกิจกรรม
๓.ประชุมชี้แจ้งให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายผ่านการประชุมประจำเดือนของแต่ละหมู่บ้าน
๕.รถประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อกระตุ้นปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันโรค
๖.อสม. ออกรณรงค์สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
๗.สำรวจผู้ป่วยในชุมชนเพิ่มเติมเพื่อแนะนำและรักษาที่ถูกวิธี
๘.กรณีมีผู้ป่วยในพื้นที่รับผิดชอบ
๘.๑.จัดกิจกรรมประชุมกลุ่มสอบสวนโรคเฉพาะรายฉีดสเปรย์กำจัดยุงในบ้านเรือนผู้ป่วยทายากันยุง ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม
๘.๒.ประสานงานองค์การบริหารส่วนตำบลกะลาเส ในการพ่นหมอกควันในเขตละแวกบ้านผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและละแวกใกล้เคียงรัศมี ๑๐๐ เมตร พร้อมพ่นหมอกควันในโรงเรียนก่อนเปิดภาคเรียน วัด และที่สาธารณะในชุมชน
๙.สรุปผลและดำเนินงานตามโครงการ
๑.ลดการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ ๒.ประชาชน ชุมชน มีความตระหนักและการมีส่วนร่วมในการปรับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก ๓.โรงเรียน ชุมชน วัด ปลอดลูกน้ำยุงลาย
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2561 17:49 น.