กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประชาชนในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง รพ.สต.บ้านบาเลาะ ตำบลปะเสยะวอ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประชาชนในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง รพ.สต.บ้านบาเลาะ ตำบลปะเสยะวอ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านบาเลาะ
วันที่อนุมัติ 7 ธันวาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 29,350.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรอดียะห์ ยูโซะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะเสยะวอ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.733,101.606place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเป็นสาเหตุการตายจากโรคมะเร็งของสตรีในประเทศไทย ซึ่งท้าให้เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ โดยเฉพาะโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งของมะเร็งในสตรี พบได้ถึง ๓ คน ในประชากรหนึ่งแสนคน ในแต่ละปีมีผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกเสียชีวิต ประมาณ ๔,๕๐๐ ราย ส่วนใหญ่มีอายุประมาณ ๓๐ - 6๐ ปี ซึ่งที่ผ่านมาใช้วิธีการตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยการตรวจ Pap Smear และหากทำทุก ๒ ปี สามารถลดการเป็นมะเร็งระยะลุกลามได้ ๙๒ % ถึงแม้กระบวนการตรวจเพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูก จะง่าย สะดวก ราคาถูก แต่ยังพบว่าสตรีจ้านวนมากไม่เห็นความสำคัญ มีทัศนคติ ที่ไม่ดีต่อการตรวจ Pap Smear ส่วนโรคมะเร็งเต้านม ผู้ป่วยมักไม่มีอาการผิดปกติในระยะเริ่มต้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นและสำคัญที่ต้องทำการตรวจค้นหามะเร็งเต้านมใน ระยะเริ่มต้น การรักษามะเร็งเต้านมในปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปมาก การค้นพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้นสามารถรักษาให้หายขาดได้ และการรักษาอาจทำได้โดยการตัดเฉพาะก้อนมะเร็งออกไม่จำเป็นต้องผ่าตัดทั้งเต้านม ในทางตรงกันข้ามหากไม่มีการตรวจค้นหามะเร็งเต้านม รอจนกระทั่งมีอาการผิดปกติ มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ แล้ว และไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้

สถานการณ์ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๐ - ๖๐ ในเขตพื้นที่ รพ.สต.บ้านบาเลาะ พบว่ากลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ปี ๒๕๕8-๒๕๕9 ร้อยละ 21.88 พบผู้ที่มีเซลล์ผิดปกติทั้งสิ้น 2 คน และกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๕ ปี ขึ้นไปได้รับการคัดกรองมะเร็งเต้านมร้อยละ ๙๐ แต่ไม่พบผู้ที่มีความผิดปกติเลย

จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นว่า กลุ่มคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่ยังไม่เข้ารับการตรวจมะเร็งปากมดลูกจะเป็นกลุ่มที่ยากต่อการติดตามเข้ารับบริการ และการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองที่ไม่พบความผิดปกติ อาจเกิดจาก การตรวจที่ไม่ถูกต้อง เทคนิคหรือแบบการตรวจคัดกรองที่มีความซับซ้อนไม่เข้าใจ พร้อมทั้งกลุ่มเป้าหมายและ อสม. ยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

ดังนั้น รพ.สต.บ้านบาเลาะ จึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในสตรีกลุ่มเสี่ยง ปี ๒๕60 เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมแบบยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงมีส่วนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพร้อยละ 50

2 เพื่อสร้างแกนนำในการจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนสุขภาพสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงในชุมชน

แกนนำ อสม.ออกติดตามพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงในชุมชนร้อยละ 100

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑.ขั้นเตรียมการ

๑.๑ ประชุมเจ้าหน้าที่ใน รพ.สต.บ้านบาเลาะ อาสาสมัคสาธารณหัวหน้าสตรีในแต่ละหมู่บ้าน เพื่อค้นหาและเลือกวิธีการใหม่ๆในการชักชวนกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและสำรวจกลุ่มเป้าหมายที่อาศัยอยู่จริงในพื้นทีรับผิดชอบ

๑.๒ จัดอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แก่ อสม และแกนนำครอบครัวกลุ่มเป้าหมายกับผู้ป่วยที่ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมที่กำลังได้รับการรักษาอยู่ในขณะนี้

1.3 แบ่งพื้นที่กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่แก่ อสม ผู้รับผิดชอบครัวเรือนและแกนนำครอบครัว เพื่อติดตามและแนะนำและนำส่งกลุ่มเป้าหมายเข้าตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกช่วงรณรงค์

1.4 ประชาสัมพันธ์โครงการโดยใช้ป้ายประชาสัมพันธ์ 3 ชุด

1.5 แจ้งแผนการตลาดแก่กลุ่ม อสม. ที่สามารถนำกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการตรวจคัดกรองโดยกำหนด กลุ่มเป้าหมาย 1 คน สะสมแต้มได้ 5แต้ม

๒.ขั้นตอนดำเนินการ

2.1 จัดรณรงค์ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและเชิญชวนเจ้าหน้าที่ข้างเคียง ช่วยตรวจ มะเร็งปากมดลูก จำนวน 4 ครั้ง และกำหนดตรวจในสถานบริการ

๑.เพื่อค้นหาวิธีหรือรูปแบบใหม่ๆในการจูงใจให้สตรีกลุ่มเป้าหมายตามกลุ่มอายุ ถึง 60 ปี ในพื้นที่

2.2ให้บริการเชิงรุกแก่กลุ่มเป้าหมายที่ไม่สามารถเดินทางเข้ารับการตรวจในสถานบริการที่กำหนด ในครัวเรือน

2.3 เยี่ยมบ้านสร้างสัมพันธภาพ เยี่ยมบ้านด้วยใจหมออนามัย

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.สตรีกลุ่มเป้าหมายสามรถตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้องและต่อเนื่องเป็นประจำต่อเนื่อง

2.ครอบครัวและชุมชนตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเพื่อเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

3.พบผู้ป่วยรายใหม่ของมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้นที่สามารถรักษาให้หายขาดได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2560 14:45 น.