ใส่ใจสุขภาพสูงวัยอนามัยดี
ชื่อโครงการ | ใส่ใจสุขภาพสูงวัยอนามัยดี |
รหัสโครงการ | 60-L3360-2-08 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมผู้สูงอายุ หมู่ ๑ บ้านโหล๊ะพันหงส์ ตำบลร่มเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง |
วันที่อนุมัติ | 27 มกราคม 2560 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กุมภาพันธ์ 2560 - 30 กันยายน 2560 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 20,200.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | ชมรมผู้สูงอายุ หมู่ ๑ บ้านโหล๊ะพันหงส์ตำบลร่มเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลร่มเมือง อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.556,100.008place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 70 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คาดว่าในปี ๒๕๖๓ จะมีประชากรที่มี อายุตั้งแต่ ๖๐ ปีอยู่ราว ๑ ใน ๒ ของประชากรทั้งหมด กล่าวตามนิยามของสหประชาชาติ คือเมื่อประเทศใดมี ประชากร อายุ ๖๐ ปีขึ้นไป เกินร้อยละ ๑๐ หรือ ประชากรอายุ ๖๕ ขึ้นไป เกินร้อยละ ๗ ของประชากรทั้งหมด ถือว่าประเทศนั้นได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในปี ๒๕๖๗ หรืออีก ๙ ปีข้างหน้า เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมีผลกระทบอย่าง กว้างขวาง ทั้งในระดับมหภาค ได้แก่ ผลต่อ GDP รายได้ต่อหัวประชากร การออม การลงทุน งบประมาณของ รัฐบาลและการคลัง ผลิตภาพแรงงานและการจ้างงาน และในระดับจุลภาคได้แก่ ผลต่อตลาดผลิตภัณฑ์และ บริการด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านการเงินและด้านสุขภาพ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรดังกล่าว ประชากรวัยทำงานจะต้องเลี้ยงดูประชากรวัยเด็กและวัยสูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้น โดยที่ยังมิได้คำนึงถึงเรื่อง ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูซึ่งสูงขึ้นตามอายุ ซึ่งขณะที่อัตราส่วนภาระพึ่งพิงของประชากรวัยสูงอายุเพิ่มขึ้น อาจจะ นำไปสู่ปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม รวมถึงปัญหาในด้านสุขภาพของผู้สูงอายุด้วย เนื่องจากผู้สูงอายุเป็นวัยบั้น ปลายของชีวิต เป็นวัยที่ต้องพึ่งพาบุตรหลาน เพราะมีภาวะด้านสุขภาพที่เปลี่ยนแปลง มีความเสื่อมของร่างกาย อวัยวะต่างๆทั่วไปเริ่มอ่อนแอและเกิดโรคง่าย ปัญหาด้านสุขภาพที่พบได้บ่อยๆในผู้สูงอายุได้แก่ เกิดภาวะ กระดูกหักง่าย สายตาไม่ดี หูตึง ฟันไม่ดี เป็นลมบ่อย เรอบ่อย ท้องผูก เบาหวาน หลงลืมบ่อย หัวใจและหลอด เลือด และปัญหาทางอารมณ์ ผู้สูงอายุเป็นวัยที่พึ่งพาตนเองได้น้อยลง มีภาวะด้านสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไปตามระยะของการ พัฒนาการ ซึ่งมีภาวะร่างกายที่เสื่อมถอยลง มีโอกาสที่จะเจ็บป่วยได้ง่าย ภูมิต้านทานโรคน้อยลง รวมถึงมีการ เปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจและสังคม สาเหตุเนื่องจากผู้สูงอายุและครอบครัวให้ความสำคัญในการดูแลรักษาด้านสุขภาพน้อยลง เช่น เรื่องการบริโภคอาหาร การขาดการออกกำลังกาย การไม่ได้อยู่ร่วมกันในครอบครัว ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆขึ้นได้ จากการสำรวจผู้สูงอายุหมู่ ๑ บ้านโหล๊ะพันหงส์ จำนวน๑๔๒คนพบเป็นโรคเรื้อรัง๒๖คน ร้อยละ๑๘.๔๓ ที่ต้องรับการรักษาอย่างต่อเนื่องซึ่งเป็นปัญหาทางด้านสุขภาพที่ต้องเฝ้าระวังภาวะโรคเรื้อรังในผู้สูงอายุบ้านโหล๊ะพันหงส์ ดังนั้นทางชมรมผู้สูงอายุหมู่๑ บ้านโหล๊ะพันหงส์ได้ตระหนักถึงคุณค่าและสุขภาพของผู้สูงอายุ รวมถึง เข้าใจสภาพปัญหาต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุในทุกๆด้านดังที่กล่าวมาข้างต้น จึงได้ดำเนินการส่งเสริม สุขภาพผู้สูง อายุ และจัดกิจกรรมต่างๆให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการของผู้สูงอายุบ้านโหล๊ะพันหงส์ รวมถึงกลุ่มชมรมผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรต้นแบบ “ด้านสุขภาวะ” โดยมุ่งหวังให้เกิดการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน องค์กรปกครองท้องถิ่น และหน่วยงานภาครัฐ ทั้งนี้ได้มุ่งเน้นในด้าน การส่งเสริมพัฒนาเกี่ยวกับสุขภาพ สังคม และเศรษฐกิจภูมิปัญญาของผู้สูงอายุและครอบครัว และเพื่อเป็นการส่งเสริมกิจกรรมด้านการส่งเสริมสุขภาพ ของผู้สูงอายุ การต่อยอด การพัฒนาผู้สูงอายุไปสู่เป้าหมาย ให้เป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพทางสังคม ภูมิปัญญา
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ๑. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองและมีส่วนร่วมในกิจกรรมในชุมชน
|
||
2 | ๒. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองตรวจประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ
|
||
3 | ๓. เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพและแก้ปัญหาด้านสุขภาพด้วยตนเอง
|
||
4 | ๔. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีการพบปะ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์
|
||
5 | ๕. เพื่อให้ผู้สูงอายุเกิดกระบวนการในการสรรหาบุคคลต้นแบบสุขภาพดีในกลุ่มผู้สูงอายุมาสร้างเครือข่ายผู้สูงวัยไร้อโรคยา
|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
๑. จัดประชุมคณะกรรมการพัฒนางานผู้สูงอายุเพื่อกำหนดหน้าที่บทบาท และแผนการทำงาน
๒. ประชาสัมพันธ์ให้คณะกรรมการพัฒนางานผู้สูงอายุและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านกับบทบาทหน้าที่ในการจัดทำโครงการใส่ใจสุขภาพผู้สูงวัยอนามัยดี
๓. จัดให้มีการคัดกรองตรวจประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ เพื่อคัดกรองภาวะไขมันในเลือด ,น้ำตาลในเลือด ,ตรวจการทำงานของไต และเฝ้าระวังภาวะโลหิตจาง
๔. ให้ความรู้ทั้งด้านโภชนาการ การออกกำลังกาย ส่งเสริมการมีกิจกรรมส่วนกลางของชมรม
๕. เชื่อมโยงกิจกรรมร่วมกับโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก เช่น สสส.
๖. สรุปผลการตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ พร้อมประเมินการตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อดำเนินการติดตามบุคคลต้นแบบผู้สูงวัยอนามัยดี เพื่อสร้างเครือข่ายผู้สูงวัยไร้อโรคยา
๗. รายงานผลสรุปโครงการ
๑. ผู้สูงอายุมีการพัฒนาในด้านสุขภาพ จิตใจ สังคม ภูมิปัญญาและเศรษฐกิจ ๒. ผู้สูงอายุสามารถดูแลสภาพร่างกายภายนอกของตนเองได้อย่างเหมาะสมและดูดี ๓. ผู้สูงอายุมีปฏิสัมพันธ์ และอยู่ร่วมกันได้ภายใต้สังคมผู้สูงอายุและครอบครัว ๔. ครอบครัว ชุมชน องค์กรภาครัฐ เอกชน ได้มีส่วนร่วมและให้ความสำคัญในด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2560 15:34 น.