กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการผสาน "ศาสน์"กับ"ศาสตร์" RDU เครือข่ายรู้ ผู้บริโภคปลอดภัย
รหัสโครงการ 62-L3042-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตาแกะ
วันที่อนุมัติ 1 มกราคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2562 - 31 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 32,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวฟัตฮียะห์ ตาแม
พี่เลี้ยงโครงการ นางวรรณพร บัวสุวรรณ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตาแกะ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุรา , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 10 เม.ย. 2562 10 เม.ย. 2562 22,850.00
2 18 มิ.ย. 2562 18 มิ.ย. 2562 9,600.00
รวมงบประมาณ 32,450.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล การส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชนตำบลตาแกะ ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2560 ตามโครงการ “ส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล คนตาแกะปลอดภัย” เริ่มจากการสร้างความตระหนักรู้แก่แกนนำชุมชน เกิดรูปธรรมการดำเนินงาน โดยเฉพาะกระแสตื่นตัวในชุมชน มีภาคีเครือข่ายในพื้นที่เพื่อร่วมผลักดัน RDU ในระดับชุมชน ได้แก่ ตัวแทนอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน , โต๊ะอิหม่าม และกำนัน เป็นต้น ปีที่ 2 ได้พัฒนาต่อภายใต้โครงการ “เครือข่ายขันแข็ง RDU เข้มข้น ตำบลตาแกะ” ซึ่งมีจุดเน้นให้มีการขยายการสร้าง Awareness สู่เครือข่าย อย.น้อย และการสร้างเครือข่ายการเฝ้าระวังการขายยาอันตรายในร้านชำ โดยมีกิจกรรมการให้ความรู้แก่ตัวแทน อย.น้อย ใน 3 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนบ้านฝาง , โรงเรียนเฑียรยา และโรงเรียนชุมชนบ้านตาแกะ และได้คัดเลือกโรงเรียนบ้างฝาง เป็นโรงเรียนต้นแบบ RDU เนื่องจากผ่านเกณฑ์การประเมินมาตรฐาน อย.น้อยระดับดีเยี่ยม อีกทั้งยังมีการผนวกกิจกรรม RDU ให้เข้ากับกิจกรรมประจำปีของโรงเรียน เพื่อสร้างกระแส RDU ในโรงเรียน ผลจากการให้ความรู้และการจัดกิจกรรม พบว่า นักเรียนและครูเริ่มมีความตื่นรู้เกี่ยวกับการใช้ยามากขึ้น มีทูตน้อย RDU ซึ่งสามารถให้ความรู้ บอกต่อแก่เพื่อน พี่น้องในโรงเรียนได้ และอีกหนึ่งกิจกรรรม คือ การบูรณาการหลักการอิสลามกับการขายยาอันตรายในร้านชำโดยการจัดอบรมการดูแลสุขภาพตามแบบฉบับของอิสลาม รวมถึงการใช้ยาอย่างสมเหตุผล เพื่อมุ่งหวังให้เกิดจิตสำนึกแก่ผู้ประกอบการร้านชำเกี่ยวกับการขายยาอันตรายที่อาจส่งผลเสียแก่คนในชุมชนได้ ผลการลงพื้นที่ติดตาม เฝ้าระวังการขายยาอันตรายในร้านชำทั้งหมด 18 ร้านร่วมกับเครือข่ายอสม. พบว่า ทุกร้านไม่มีการขายยาอันตราย และมีการมอบป้ายภาพรายการยาสามัญประจำบ้าน ที่ร้านชำสามารถขายได้ตามกฎหมาย และป้ายภาพยาอันตรายที่ร้านชำไม่สามารถขายได้ เพื่อเป็นความรู้ให้แก่คนในชุมชน จากการดำเนินงานใน 2 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ประชาชนในตำบลตาแกะ มีความรู้ ความเข้าใจมากขึ้น ปรับทัศนคติที่มีต่อการใช้ยา ไม่ว่าจะเป็นยาปฏิชีวนะและการใช้ยาในผู้ป่วยโรคเรื้อรังให้มีการใช้ยาอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาต่อยอดเป็นปีที่ 3 ซึ่งจะเน้นให้มีการสร้างความเข้มแข็งของภาคีเครือข่ายในการเฝ้าระวังความเสี่ยงด้านยาในชุมชน โดยการส่งต่อองค์ความรู้ด้าน RDU ร่วมกับการคุ้มครองผู้บริโภค ผสมผสานกับหลักการทางศาสนาให้เข้าถึงประชาชนมากขึ้นด้วยมุ่งหวังให้เครือข่ายและประชาชนสามารถพึ่งตนเองด้านยา รู้เท่าทันผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย ชุมชนสามารถจัดการความเสี่ยงที่พบได้ภายในโครงการ “ผสาน”ศาสน์” กับ “ศาสตร์” RDU เครือข่ายรู้ ผู้บริโภคปลอดภัย”

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มองค์ความรู้ด้าน RDU ผสมผสานกับหลักการทางศาสนา แก่เครือข่ายในชุมชน

ร้อยละ 60 ของเครือข่ายในชุมชน มีองค์ความรู้ด้าน RDU ผสมผสานกับหลักการทางศาสนา

60.00
2 เพื่อให้เครือข่าย สามารถให้ความรู้ RDU แก่คนในชุมชนได้

ร้อยละ 60 ของเครือข่ายในชุมชน สามารถให้ความรู้ RDU แก่คนในชุมชนได้

60.00
3 เพื่อให้เกิดการเฝ้าระวังความเสี่ยงจากผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัยในชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของเครือข่าย

ร้อยละ 50 ในตำบลตาแกะไม่มีการขายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย

50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 22,200.00 2 32,450.00
??/??/???? 1.พัฒนาศักยภาพเครือข่ายเกี่ยวกับองค์ความรู้ RDU ผสมผสานกับหลักการทางศาสนา 0 12,600.00 22,850.00
??/??/???? 2. อบรมเชิงปฏิบัติการให้เครือข่ายเกี่ยวกับแนวทางการให้ความรู้ RDU ผสมผสานหลักการทางศาสนา 0 9,600.00 9,600.00

ขั้นที่ 1 การเตรียมการ
1.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติดำเนินโครงการ 2.กำหนด รูปแบบการดำเนินการ สื่อ, อุปกรณ์, ที่จำเป็นต้องใช้ในการดำเนินการ, ความรู้และทักษะที่จำเป็นเกี่ยวกับการใช้ยา การปรับบรรทัดฐานและพฤติกรรมการใช้ยาของประชาชน ขั้นที่ 2 การดำเนินกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 : พัฒนาศักยภาพเครือข่ายเกี่ยวกับองค์ความรู้ RDU ผสมผสานกับหลักการทางศาสนา 1.จัดอบรมให้ความรู้ RDU ผสมผสานหลักการทางศาสนาเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตามวิถีอิสลาม แก่เครือข่ายในชุมชน 2.จัดทำสื่อ RDU ผสมผสานหลักการทางศาสนา เพื่อให้เครือข่ายสามารถให้ความรู้แก่คนในชุมชนต่อได้ 3.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้เครือข่ายเกี่ยวกับแนวทางการให้ความรู้ RDU ผสมผสานหลักการทางศาสนาตามสื่อที่ผลิต ให้สามารถให้ความรู้แก่ ผู้รับบริการใน รพ.สต. เพื่อให้เครือข่ายสามารถนำไปใช้กับชุมชนและโรงเรียนต่อได้ กิจกรรมที่ 2 : การเสริมพลังให้เครือข่ายมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังและจัดการการขายยาอันตรายใน ร้านชำ รวมถึงผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ปลอดภัยในชุมชน 1.เฝ้าระวังการขายยาอันตรายในร้านชำ โดยเครือข่ายในชุมชน
2.สุ่มเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เพื่อเฝ้าระวังการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ปลอดภัย 3.รวบรวม วิเคราะห์ ข้อมูลที่พบในชุมชน 4.คืนข้อมูลปัญหาที่พบในชุมชน กระตุ้นให้ชุมชนวางแผนจัดการ และติดตามปัญหา
5.ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อติดตามปัญหาความเสี่ยงในชุมชน ขั้นที่ 3 สรุปผล
1.สรุปผลการดำเนินโครงการ 2.คืนข้อมูลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เครือข่ายในชุมชน สามารถให้ความรู้และสื่อสาร RDU ผสมผสานหลักการทางศาสนาแก่ประชาชนในชุมชนได้
  2. เครือข่ายมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง และจัดการผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ปลอดภัยในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2562 00:00 น.