กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการกาย จิต สัมพันธ์ สร้างพลังต้านภัยโรค
รหัสโครงการ 62-L7580-3-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลฉลุง
วันที่อนุมัติ 17 ธันวาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 27 ธันวาคม 2561 - 30 เมษายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 มีนาคม 2562
งบประมาณ 95,690.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายจเรรัตน์ โต๊ะหวันหลง
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวนิสากร บุญช่วย
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลฉลุง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.725,100.035place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุรา , แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันสถานการณ์ประชากรทั้งหมดของประเทศไทยปี 2560 ที่ผ่านมา พบว่ามีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 67.6 ล้านคน และมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปจำนวน 11.3 ล้านคน หรือ 16.7% ของจำนวนประชากรทั้งหมด วัยทำงานอายุ 15-59 ปี จำนวน 44.60 ล้านคน วัยเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จำนวน 11.60 ล้านคน โดยวัย ผู้สูงอายุยังคงทำงานอยู่ราว 3.9 ล้านคน จากการคาดการณ์ว่าประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ในปี 2564 จะมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป สัดส่วนสูงถึง 20% และในปี 2574 ประเทศไทยจะมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปสูงถึง 28% ทั้งในปัจจุบันสัดส่วนวัยทำงานดังกล่าวยังสามารถดูแลผู้สูงอายุได้ 1 ต่อ 4 คน แต่ในปี 2574 สัดส่วนการดูแลผู้สูงอายุจะเฉลี่ยที่ 1 : 1 (สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) สำหรับปัญหาสุขภาพซึ่งเป็นเรื่องที่มีความสำคัญยิ่งกับผู้สูงอายุพบว่าผู้สูงอายุอยู่ในสภาวะติดเตียง ร้อยละ 2 ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ร้อยละ 19 และยังพบว่าผู้สูงอายุเป็นโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 41 เป็นโรคเบาหวานร้อยละ 18 และเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง ลดหลั่นลงมา ซึ่งโรคเหล่านี้หากไม่ได้รับการรักษาดูแลอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง จะก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในหลายระบบของร่างกาย ทั้งภาวะแทรกซ้อนแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง ทำให้เกิดความพิการและตายก่อนวัยอันควร โดยปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังแบ่งเป็น ปัจจัยที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เช่น อายุ เพศ และพันธุกรรม และปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงได้ เช่น การสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม การขาดการออกกำลังกาย และการดื่มแอลกอฮอล์ ปัจจัยเหล่านี้ทำให้เกิดภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน ความดันโลหิตสูง น้ำตาลในเลือดสูง และภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ และนอกจากโรคเรื้อรังดังกล่าวยังพบอีกว่าผู้สูงอายุมีโรคข้อเข่าที่เกิดจากความเสื่อมของระบบการทำงานของร่างกาย โดยเฉพาะระบบกล้ามเนื้อและการไหลเวียนเลือด ไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ และจะมีความรุนแรงมากน้อยต่างกันไป ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุลดน้อยลงขาดความสุขในการดำรงชีวิตประจำวัน สถานการณ์เหล่านี้ส่งผลต่อภาวะสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ ซึ่งพบผู้สูงอายุผู้หญิงเป็นโรคซึมเศร้าอยู่ใน 5 อันดับแรกของการสูญเสียปีสุขภาวะ รองจากโรคเรื้อรัง ซึ่งสุขภาพจิตที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ คือ ความวิตกกังวล ซึมเศร้านอนไม่หลับ ภาวะสมองเสื่อม ปัญหาเรื่องเพศ นอกจากนี้การสำรวจสุขภาพจิตผู้สูงอายุโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติด้วยแบบคัดกรองความสุข 15 ข้อ พบว่าคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าคนทั่วไปโดยประมาณ 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุ เป็นผู้ที่มีความเปราะบางทางจิตใจ และมีสาเหตุมาจากโรคเรื้อรัง ความรู้สึกที่มีคุณค่าในตัวเองลดลง เขตเทศบาลตำบลฉลุง เป็นพื้นที่หนึ่งที่ประสบกับปัญหาดังกล่าวข้างต้นเช่นเดียวกัน ผลจากการดำเนินงานของอาสาสมัครสาธารณสุขพบว่า ผู้สูงอายุในเขตพื้นที่มีจำนวน 261 คน คิดเป็นร้อยละ 11.08 ของประชากรทั้งหมด 2,355 คน เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังและมีภาวะเสี่ยง จำนวน 214 คน คิดเป็นร้อยละ 82 เจ็บป่วยด้วยโรคข้อเท้า จำนวน 153 คน คิดเป็นร้อยละ 70.83 อาจส่งผลให้ผู้สูงอายุดังกล่าวขาดความมั่นใจความสุขในการดำรงชีวิตประจำวัน ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลฉลุง ได้เล็งเห็นถึงผลกระทบจากปัญหาดังกล่าวข้างต้น จึงจัดทำโครงการ กาย จิต สัมพันธ์ สร้างพลังต้านภัยโรค ขึ้น โดยใช้กลยุทธ์หลักการ จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว สร้างความสุขให้ผู้สูงอายุ ประกอบกระบวนการให้ความรู้และทักษะในการดูแล ป้องกัน และฟื้นฟูสุขภาพจากการเจ็บป่วย แก่ผู้สูงอายุ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ผู้ที่เตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยสูงอายุ อนึ่งการดำเนินงานดังกล่าว จะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขในการดำรงชีวิตประจำวัน มีภูมิคุ้มกันรู้เท่าทันโรคต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1.เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้และทักษะในการดูแล ป้องกัน และฟื้นฟูสุขภาพจากการเจ็บป่วยโรคเรื้อรัง และข้อเท้า ข้อเข่า

ตัวชี้วัดความสำเร็จ ผู้ผู้สูงอายุมีความรู้และทักษะในการดูแล ป้องกัน และฟื้นฟูสุขภาพจากการเจ็บป่วยโรคเรื้อรัง และข้อเท้า ข้อเข่า มากขึ้น ร้อยละ 80

80.00
2 ข้อที่ 2.เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดี มีความสุขในการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม

ร้อยละ 80 ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมมีสุขภาพจิตที่ดี มีความสุขในการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม

80.00
3 ข้อที่ 3.เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการบำบัดฟื้นฟูข้อเท้าและข้อเข่า ด้วยระบบวารีบำบัด

ร้อยละ 80 ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมได้รับการบำบัดฟื้นฟูข้อเท้าและข้อเข่า ด้วยระบบวารีบำบัด

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 82.00 10 78,550.00
27 ธ.ค. 61 กิจกรรมอบรมให้ความรู้และทักษะในการ ดูแล ป้องกัน และฟื้นฟูสุขภาพจากการเจ็บป่วย ควบคู่การสร้างบรรยากาศความสุข 0 17.00 17,820.00
27 ธ.ค. 61 กิจกรรมนันทนาการ บริหารจิต (สร้างความสุขและรอยยิ้ม ให้ผู้สูงอายุ) 0 9.00 9,070.00
7 ก.พ. 62 กิจกรรมบำบัด ข้อเท้า ข้อเข่า โดยวิธีแช่น้ำเย็น (ลงสระ) (ครั้งที่1) 0 7.00 7,800.00
14 ก.พ. 62 กิจกรรมบำบัด ข้อเท้า ข้อเข่า โดยวิธีแช่น้ำเย็น (ลงสระ) (ครั้งที่2) 0 7.00 7,800.00
21 ก.พ. 62 กิจกรรมบำบัด ข้อเท้า ข้อเข่า โดยวิธีแช่น้ำร้อน (บ่อน้ำร้อน) (ครั้งที่1) 0 7.00 5,490.00
28 ก.พ. 62 กิจกรรมบำบัด ข้อเท้า ข้อเข่า โดยวิธีแช่น้ำร้อน (บ่อน้ำร้อน) (ครั้งที่2) 0 7.00 4,920.00
7 มี.ค. 62 กิจกรรมบำบัด ข้อเท้า ข้อเข่า โดยวิธีแช่น้ำเย็น (ลงสระ) (ครั้งที่3) 0 7.00 7,800.00
14 มี.ค. 62 กิจกรรมบำบัด ข้อเท้า ข้อเข่า โดยวิธีแช่น้ำเย็น (ลงสระ) (ครั้งที่4) 0 7.00 6,220.00
21 มี.ค. 62 กิจกรรมบำบัด ข้อเท้า ข้อเข่า โดยวิธีแช่น้ำร้อน (บ่อน้ำร้อน) (ครั้งที่3) 0 7.00 5,440.00
28 มี.ค. 62 กิจกรรมบำบัด ข้อเท้า ข้อเข่า โดยวิธีแช่น้ำร้อน (บ่อน้ำร้อน) (ครั้งที่4) 0 7.00 6,190.00

1.ขั้นวางแผน 1.1 ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการวางแผนงานร่วมกันระหว่างกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลฉลุง พร้อมทั้งกำหนดวันที่และสถานที่ดำเนินการ
1.2 ประสานงานวิทยากรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่เกี่ยวข้อง 1.3 จัดเตรียมสถานที่และจัดเตรียมกลุ่มเป้าหมาย 2. ขั้นดำเนินการ 2.1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้และทักษะในการดูแล ป้องกัน และฟื้นฟูสุขภาพจากการเจ็บป่วย ควบคู่การสร้างบรรยากาศความสุข เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความสุขในการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น
2.1.1 กิจกรรมอบรม (เป้าหมาย ผู้สูงอายุ 60 คน ผู้ดูแลผู้สูงอายุและสมาชิกสมทบ 10 คน รวม 70 คน) - การดูแลรักษา ฟื้นฟู ข้อเท้า และข้อเข่า - การดูแลรักษา ฟื้นฟู โรคเรื้อรัง (ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเส้นเลือด เส้นเลือดสมองอุดตัน) - การเฝ้าระวัง ดูแล รักษา ฟื้นฟู สุขภาพจิตในผู้สูงอายุ 2.1.2 กิจกรรมนันทนาการ (สร้างความสุขและรอยยิ้ม ให้ผู้สูงอายุ) (เป้าหมาย ผู้สูงอายุ 60 คน ผู้ดูแลผู้สูงอายุและสมาชิกสมทบ 10 คน รวม 70 คน) - สร้างสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนวัยเดียวกัน
- สร้างทีม ดูแลซึ่งกันและกัน - ดนตรีบำบัด 2.2 วารีบำบัด (เป้าหมาย ผู้สูงอายุ 35 คน ผู้ดูแลผู้สูงอายุและสมาชิกสมทบ 5 คน รวม 40 คน) - กิจกรรมบำบัดข้อเท้าและข้อเข่า โดยการออกกำลังกายในน้ำ (สระว่ายน้ำ) โดยจะดำเนินกิจกรรม 2 เดือน เดือนละ 2 ครั้ง - กิจกรรมบำบัดข้อเท้าและข้อเข่า โดยการแช่น้ำร้อน (บ่อน้ำร้อน) โดยจะดำเนินกิจกรรม 2 เดือน เดือนละ 2 ครั้ง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุมีความรู้และทักษะในการดูแล ป้องกัน และฟื้นฟูสุขภาพจากการเจ็บป่วย
  2. ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดี มีความสุขในการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม
  3. ผู้สูงอายุมีสุขภาพข้อเท้า ข้อเข่า ดีขึ้นจากการได้รับการบำบัดฟื้นฟูข้อเท้าและข้อเข่า ด้วยระบบวารีบำบัด
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2561 09:53 น.