กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมเยาวชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลด ละ เลิกบุหรี่ และ สารเสพติด ปี 60
รหัสโครงการ 60-L6961-2-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)
วันที่อนุมัติ 24 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2560 - 30 เมษายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 55,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรม อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.008,101.949place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กลุ่มเยาวชน เป็นกลุ่มเป้าหมายทางสังคมที่ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์ และ สังคมที่จะต้องให้ความสำคัญกับกลุ่มนักเรียน และ เยาวชนในกลุ่มนี้ ซึ่งเป็นกลุ่มที่อ่อนไหว และ เป็นกลุ่มเสี่ยง ถ้าได้รับการอบรมดี ศึกษาเล่าเรียนดีก็จะ เป็นคนดีของสังคม แต่ถ้าไม่ให้ความสำคัญเขาก็จะเป็นกลุ่มที่ติดเพื่อน มั่วสุม เสพ สูบบุหรี่ และ สารเสพติด กลายเป็นปัญหาของครอบครัว ผู้ปกครอง และ สังคม
บุหรี่ เป็นสารเสพติดประเภทหนึ่ง และ เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเสียชีวิต อันดับที่สามของคนไทย รองจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย และ การดื่มสุรา คนไทยเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ ปีละ 42000 - 52000 คน ผู้สูบบุหรี่ โดยเฉลี่ยอายุจะสิ้นลง 12 ปี และ จะป่วยหนัก 1-7 ปี ก่อนจะเสียชีวิต จากการสำรวจการสูบบุหรี่ของเด็กเยาวชน เริ่มทดลองสูบบุหรี่ตั้งแต่อายุ 10 ขวบ ขึ้นไป และ เริ่มสูบมาก อายุ 13-15 ปี บุหรี่เป็นสารเสพติดชนิดแรก ที่เด็กเยาวชนเข้าไปเสพติด ก่อนที่จะเข้าไปติดสิ่งเสพติดอื่นๆ เช่น สุรา กัญชา ยาแก้ไอ และ สิ่งเสพติดร้ายแรงตามมา จังหวัดนราธิวาสของเรา เด็กและเยาวชน ที่ได้กล่าวมานี้ ก็อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต้นๆ ของประเทศไทย และเด็ก เยาวชน ที่ในเรือนจำ หรือ สถานสงเคราะห์เด็ก และ เยาวชนจากอำเภอสุไหงโก-ลกของเรา ดังนั้น ทางคณะกรรมการ ชมรม อสม. เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกของเรา ก็ได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้เยาวชน มีความรู้ ความเข้าใจ โทษพิษภัยของบุหรี่ และ สารเสพติดเพิ่มขึ้น

 

2 2. เพื่อให้เยาวชน มีสุขภาพที่ดีขึ้น ร่างกายจิตใจดี การเรียนดีขึ้น

 

3 3. เพื่อให้เยาวชน ร่วมกิจกรรม บำเพ็ญประโยชน์ต่อสาธารณะ และ ส่วนรวมเพิ่มขึ้น

 

4 4. เพื่อให้เยาวชน เป็นคนดีของครอบครัว ไม่เป็นภาระต่อสังคม

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นตอนการอบรม 1. กิจกรรมอบรม 1.1 ให้ความรู้ทางสื่อ เรื่อง การเริ่มต้นเยาวชน 1.2 ให้ความรู้ เรื่อง บุหรี่ และ สารเสพติด 1.3 โทษ พิษภัยของบุหรี่ และ สารเสพติด 1.4 ปัญหา เด็ก และ เยาวชนต่อสังคม 2. กิจกรรมเข้าฐานเรียนรู้ 2.1 แบ่งกลุ่มละลายพฤติกรรม และ ร่วมทำกิจกรรม 2.2 นำเสนอกิจกรรมตามกลุ่ม 2.3 ทบทวน ถอดบทเรียน 2.4 สรุปการดำเนินงาน ติดตามพฤติกรรมความเสี่ยงของเยาวชน และ กลุ่มเป้าหมาย และ ประเมินผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เยาวชน มีความรู้ ความเข้าใจ โทษพิษภัยของบุหรี่ และ สารเสพติดเพิ่มขึ้น
  2. เยาวชน มีสุขภาพที่ดีขึ้น ร่างกายจิตใจดี การเรียนดีขึ้น
  3. เยาวชน ร่วมกิจกรรม บำเพ็ญประโยชน์ต่อสาธารณะ และ ส่วนรวมเพิ่มขึ้น
  4. เป็นคนดีของครอบครัว ไม่เป็นภาระต่อสังคม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2560 11:04 น.