กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
รหัสโครงการ 62-L2536-1-8
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปูโยะ
วันที่อนุมัติ 31 ตุลาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 67,860.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวปาซีลา ยูนุ๊
พี่เลี้ยงโครงการ นางวรรณนา บูแมนิแล
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปูโยะ อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.109,101.993place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 245 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาโรคไม่ติดต่อ เช่นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในปัจจุบันซึ่งทั่วโลกให้ความสำคัญกับการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากขึ้นเนื่องจากสภาวะความเป็นอยู่ วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปและพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องของประชาชน ทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีจำนวนเพิ่มขึ้นจากรายงานสถิติสุขภาพทั่วโลกปีพ.ศ. 2556ขององค์การอนามัยโลก พบว่า1ใน10ของประชาชนในวัยผู้ใหญ่ป่วยเป็นโรคเบาหวานและ1ใน3มีภาวะความดันโลหิตสูงนอกจากนี้พบว่าประมาณร้อยละ63ของการเสียชีวิตทั้งหมดทั่วโลกเกิดจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สำหรับประเทศไทยรายงานจากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่4พ.ศ.2551 – 2553พบความชุกของโรคเบาหวานในประชากรไทยอายุ15ปีขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ6.9ทั้งนี้พบว่าหนึ่งในสามของผู้ที่เป็นเบาหวานไม่เคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานมาก่อนและมีผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานแต่ไม่ได้รับการรักษาที่ต่อเนื่องคิดเป็นร้อยละ3.3 ทั้งนี้สถิติจากประเทศต่างๆพบว่าผู้ป่วยเบาหวานที่สามารถควบคุมน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้มีประมาณร้อยละ20-70สำหรับความชุกของโรคความดันโลหิตสูงในประชากรไทยอายุ15ปีขึ้นไปพบร้อยละ21.4โดยพบว่าร้อยละ60ในชายและร้อยละ40ในหญิงไม่เคยได้รับได้รับการวินิจฉัยมาก่อนและร้อยละ8-9ได้รับการวินิจฉัยแต่ไม่ได้รับการรักษาที่ต่อเนื่อง (เอกสารข้อมูลโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง (fact sheet) _สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์) การที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่สามารถควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆตามมาข้อมูลจากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุขพบว่าในปีพ.ศ. 2556อัตราการเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีพ.ศ. 2541 – 2555โดยพบว่าโรคความดันโลหิตสูงมีอัตราเพิ่มขึ้นจาก169.6เป็น760.5ต่อแสนประชากรและโรคเบาหวานมีอัตราเพิ่มขึ้นจาก175.7เป็น675.7ต่อแสนประชากรในพ.ศ. 2551และมีผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวานในปีพ.ศ. 2552ประมาณ 7,019คนหรือประมาณวันละ19 คน โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องต่อเนื่องก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในหลายระบบของร่างกายทั้งภาวะแทรกซ้อนแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรังก่อให้เกิดความพิการและตายก่อนวัยอันควรส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตภาวะเศรษฐกิจของผู้ป่วยและครอบครัวรวมทั้งประเทศชาติภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญได้แก่ภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต เท้า เป็นต้น ตำบลปูโยะ เป็นตำบลเก่าแก่ของอำเภอสุไหงโก-ลก เดิมขึ้นกับอำเภอสุไหงปาดี แบ่งการปกครองออกเป็น 6 หมู่บ้าน คือบ้านลาแล บ้านปูโยะ บ้านโต๊ะเวาะ บ้านกูแบอีแก บ้านโต๊ะแดงและบ้านโคกสือแด  มีประชากร 6,350คน 1,128หลังคาเรือน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 95 และพบว่าปัญหากลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยเมื่อลำดับความสำคัญของปัญหาในตำบล พบว่าโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เป็นปัญหาที่สำคัญของตำบล โดยพบว่าสถานการณ์จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนจำนวน ๙๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๑.๕๕ และจำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ขึ้นทะเบียนจำนวน ๒๔๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๓.๗๘ และพบว่าผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานจำนวน ๙ คน และมีภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูง จำนวน ๘ คน ซึ่งส่วนใหญ่เกิดในกลุ่มป่วยที่ขาดการรับประทานยาที่ต่อเนื่อง อีกทั้งจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทุกระดับ รวมทั้งประชาชนอย่างจริงจัง เพื่อให้ประชาชนมีการออกกำลังกายสม่ำเสมอสัปดาห์ละอย่างน้อย 3-5 วันๆละอย่างน้อย 30 นาที ร่วมกับการรับประทานผักและผลไม้สด วันละอย่างน้อยครึ่งกิโลกรัมขึ้นไปหรือกินผักครึ่งหนึ่งอย่างอื่นครึ่งหนึ่ง และลดอาหารไขมัน ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดได้ร้อยละ 30

ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นผู้ป่วยขาดการดูแลที่ต่อเนื่องและเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนมากขึ้น คปสอ.สุไหงโก-ลก ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปูโยะและภาคีเครือข่าย จึงได้จัดทำโครงการ คัดกรองและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี สามารถดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม ครอบครัว  ชุมชน มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพแบบยั่งยืนและมุ่งหวังในการที่จะเสริมสร้างสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ให้ดียิ่งขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนได้รับการคัดกรองโรคเรื้อรัง

ประชากรอายุ ๓๕ ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ร้อยละ ๙๐

0.00
2 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้องเหมาะสม

กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังมีความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ ๘๐

0.00
3 เพื่อลดอัตราการเกิดโรคเรื้อรังเช่น ความดันโลหิตสูง /เบาหวาน / หัวใจ / และหลอดเลือด

กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลง ร้อยละ ๕ และ ๑๐

0.00
4 เพื่อประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

มีข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้ประชาชนได้รับการคัดกรองโรคเรื้อรัง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้องเหมาะสม

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อลดอัตราการเกิดโรคเรื้อรังเช่น ความดันโลหิตสูง /เบาหวาน / หัวใจ / และหลอดเลือด

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 : เพื่อประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

25 ธ.ค. 61 - 31 มี.ค. 62 กิจกรรมการรณรงค์คัดกรองโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน/ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจในกลุ่มประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป 21,220.00 -
1 ม.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมอบรมผู้ดูแลกลุ่มป่วย 14,300.00 -
1 ม.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 จัดทำเวทีประชาคม 1,000.00 -
1 ม.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 การจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 16,000.00 -
1 ม.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 ประกวดครัวเรือนลดเค็ม และครัวเรือนที่มีการปลูกผัก กินเอง 4,340.00 -
1 ม.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 ให้ความรู้ผู้ประกอบการและโรงเรียนเกี่ยวกับการลด หวาน มัน เค็มในอาหารเพื่อ สุขภาพของผู้บริโภค 11,000.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. ขั้นเตรียมการ
    1. ประชาสัมพันธ์โครงการต่อชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น อบต. โรงเรียน 2.ประชาสัมพันธ์โดยการประชุม ถ่ายทอดโครงการสู่ชุมชนที่ประชุมชาวบ้าน ที่ประชุมองค์การบริหารส่วนตำบล 2.ประชุมชี้แจงอาสาสมัครสาธารณสุขเกี่ยวกับรายละเอียดและแผนการดำเนินงานตามโครงการ 3.การใช้ป้ายประชาสัมพันธ์ในชุมชน

    2. ขั้นดำเนินการ 2.1 กิจกรรมที่ 1 รณรงค์คัดกรองโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง/หัวใจและหลอดเลือด และให้ความรู้ในรูปแบบคลีนิกสัญจร   1. คัดกรองภาวะสุขภาพเบื้องต้น
  2.มีการติดตามในรายที่มีปัญหาสุขภาพ มีภาวะเสี่ยงสูง HT+DM 1 เดือน, 2 เดือน ,3 เดือน   3.ส่งต่อเพื่อรับการวินิจฉัยในรายที่สงสัยเป็นผู้ป่วยรายใหม่
      2.2 กิจกรรมที่ 2 ควบคุมโรคในกลุ่มป่วยโดยการจัดอบรมผู้ดูแลกลุ่มป่วย (Caregivermanagement)และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง     1. ผู้ดูแลกลุ่มป่วยเข้ารับการอบรมเกี่ยวกับผู้ดูแลผู้ป่วย     2.การติดตามให้กลุ่มป่วยเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่องและมีคุณภาพ     2.3 กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารลด หวาน มัน เค็มในกลุ่มปกติและกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง     1. จัดทำเวทีประชาคม     2. การจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม     3. ประกวดครัวเรือนลดเค็มและครัวเรือนที่มีการปลูกผักกินเอง     4. ให้ความรู้ผู้ประกอบการร้านขายอาหารเกี่ยวกับการลด หวาน มัน เค็มในอาหารเพื่อสุขภาพของผู้บริโภค
    5. ให้ความรู้โรงเรียนเกี่ยวกับการลดหวาน มัน เค็มในอาหารเพื่อสุขภาพของนักเรียน
  3. ขั้นประเมินผล   1. ประเมินจากแบบรายงานการคัดกรองในโปรแกรม JHCIS และ HDC
  2. จำนวนกลุ่มป่วยและกลุ่มผู้ดูแลผู้ป่วยที่เข้ารับการอบรม   3. ผู้ดูแลมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเรื้อรัง   4. ครัวเรือน โรงเรียนและร้านขายอาหารมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพิ่มขึ้น   5. ประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดหัวใจ 2. กลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการคัดกรองHT/DM ต้องเข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องตามเกณฑ์คุณภาพ คลินิก DPAC (3 อ. 2 ส.) อย่างน้อยร้อยละ 5 3. มี care giver ในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2561 11:19 น.