กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็กอายุ 0 – 5 ปี
รหัสโครงการ 62-L2536-1-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปูโยะ
วันที่อนุมัติ 31 ตุลาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 13,220.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวซูรีตา ดาโอะ
พี่เลี้ยงโครงการ นางวรรณนา บูแมนิแล
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปูโยะ อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.109,101.993place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 170 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีน เป็นกลวิธีป้องกันที่มีประสิทธิภาพสูงและมีความคุ้มค่ามากที่สุด ประเทศไทยได้ใช้การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเป็นเครื่องมือป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสำคัญอย่างได้ผลดียิ่ง เช่น วัณโรค โรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก ตับอักเสบบี หัด หัดเยอรมัน คางทูม ไข้สมองอักเสบเจอี และโรคพิษสุนัขบ้า เป็นต้น
ในระยะที่ผ่านมา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปูโยะ ได้ให้บริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็กอายุ 0 - 5 ปี พบว่า กลุ่มเป้าหมายได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคไม่ครบตามเกณฑ์ พบกลุ่มเป้าหมายป่วยเป็นโรคหัด จำนวน 1 ราย ผู้ปกครองขาดความรู้ความเข้าใจและไม่เห็นความสำคัญในการรับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค และระบบการติดตามกลุ่มเป้าหมายที่ไม่มารับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคตามนัดขาดความต่อเนื่อง
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปูโยะ จึงได้จัดทำโครงการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคนี้ เพื่อดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในพื้นที่ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เสริมสร้างความรู้และความเข้าใจแก่ผู้ปกครองเด็กในเรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็กที่ขาดนัดรับวัคซีน

ผู้ปกครองเด็กมีความรู้และความเข้าใจการรับวัคซีน

0.00
2 เพื่อให้ผู้ปกครองมีความตระหนักในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก

ผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับวัคซีน ร้อยละ ๘๐

0.00
3 เพื่อให้เด็กที่ขาดนัดรับวัคซีนได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์

เด็กอายุ ๐ – ๕ ปี มารับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคขั้นเพิ่มเติม ร้อยละ ๙๕

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 มี.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมเวทีประชาคมรณรงค์การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็กอายุ ๐ – ๕ ปี 60 1,500.00 1,500.00
1 มี.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมอบรมให้ความรู้และสร้างทีมเครือข่ายติดตามเด็กที่ขาดนัดรับวัคซีน 110 11,720.00 11,720.00
รวม 170 13,220.00 2 13,220.00
  1. ขั้นเตรียมการ 1.1 ประชุมคณะทำงานเพื่อกำหนดรูปแบบและแนวทางการดำเนินงาน 1.2 เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ 1.3 ประชาสัมพันธ์โครงการโดยใช้ไวนิลเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายทราบ
    1. ขั้นดำเนินการ 2.1 พิธีเปิดโครงการ 2.2 ให้ผู้ปกครองทำแบบสอบถามก่อนอบรม 2.3 อบรมให้ความรู้ผู้ปกครองเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนและความสำคัญของวัคซีน 2.4 สร้างทีมเครือข่ายสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค โดยการเลือกตัวแทน อสม. ของแต่ละหมู่บ้าน เพื่อมาเป็นทีมในการค้นหาและติดตามเด็กอายุ 0 - 5 ปี มารับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค 2.5 ทีมเครือข่ายสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ค้นหาและติดตามกลุ่มเป้าหมายที่ขาดนัดมารับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
    2. ขั้นการประเมินผล 3.1 ผู้ปกครองของเด็กที่ขาดวัคซีนมีความรู้ความเข้าใจในการมารับวัคซีนตามเกณฑ์ 3.2 เด็กอายุ ๐ – ๕ ปี มารับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเพิ่มขึ้น 3.4 สรุปผลการดำเนินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กอายุ ๐ – ๕ ปี มารับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคขั้นเพิ่มเติม ร้อยละ ๙๕
  2. ผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับวัคซีน ร้อยละ ๘๐
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2561 15:20 น.