กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเทศบาลนครหาดใหญ่ (โรงเรียนผู้สูงอายุ) ประจำปีงบประมาณ 2562
รหัสโครงการ 62-L7258-3-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิต
วันที่อนุมัติ 18 ธันวาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2562 - 31 พฤษภาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 267,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประสิทธิ์ รัตนพรหมวุฒิ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.01,100.474place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 90 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันสังคมไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว จากรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทยในปี พ.ศ. 2557 ประเทศไทยมีประชากรทั้งหมด 68 ล้านคน  โครงสร้างอายุของประชากรเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว  อัตราการเกิดของประชากรลดลง  ในขณะเดียวกันประชากรมีอายุยืนยาวขึ้น ในปี 2557 ประชากรสูงวัยที่อายุ 60 ปีขึ้นไป มีจำนวนมากถึง 10 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 15 ของประชากรทั้งหมด และประเทศไทยกำลังจะกลายเป็น “สังคมผู้สูงวัยโดยสมบูรณ์” เมื่อประชากรอายุ 60  ปีขึ้นไปมีมากถึงร้อยละ 20 ในปี พ.ศ. 2564 และคาดว่าจะเป็น “สังคมสูงวัยระดับสุดยอด” ในอีกไม่ถึง 20 ปีข้างหน้าเมื่อประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมีสัดส่วนถึงร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมด       โครงสร้างประชากรของผู้สูงอายุในพื้นที่เทศบาลนครหาดใหญ่ พบว่า ผู้สูงอายุมีอายุยืนยาวมากขึ้นและมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นทุกปี โดยในปีพ.ศ. 2561 เทศบาลนครหาดใหญ่มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 158,963 คน จำนวนผู้สูงอายุ 60 ปี ขึ้นไป จำนวน 23,114 คน คิดเป็นร้อยละ 14.54 ของประชากรทั้งหมด  ถือว่าเทศบาลนครหาดใหญ่ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุแล้วเช่นกัน  สถานการณ์เหล่านี้นำมาสู่ปัญหาของผู้สูงอายุทั้งด้านสุขภาพอนามัย ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม  ซึ่งทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน ชุมชนต้องตระหนักถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นพร้อมก้าวเข้าสู่ยุคสูงวัยอย่างมีคุณภาพ  ผู้สูงอายุไม่ใช่บุคคลด้อยโอกาสหรือเป็นภาระต่อสังคม แต่สามารถมีส่วนร่วมเป็นพลังพัฒนาสังคม จึงควรได้รับการส่งเสริมสนับสนุนให้มีความพร้อมมีศักยภาพ  สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีศักดิ์ศรี เป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ  พึ่งพาตนเองได้ทั้งด้านสุขภาพร่างกาย  จิตใจ  ไม่เหงา  ไม่ซึมเศร้า  ไม่ติดบ้านติดเตียงก่อนเวลาอันควรด้วยการให้ความรู้และวิธีการในการเสริมสร้างสุขภาพอนามัยทั้งสุขภาพทางกาย สุขภาพจิต จิตปัญญารวมทั้งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันให้ผู้สูงอายุในการปกป้องตนเองจากภัยรอบด้านด้วยการให้ข่าวสาร ความรู้ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
      ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการเทศบาลนครหาดใหญ่ ได้จัดตั้งขึ้นโดยเทศบาลนครหาดใหญ่ ตามแนวคิดประชารัฐ เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน ในการดำเนินงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในพื้นที่ทั้งผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน กลุ่มติดเตียง กลุ่มติดสังคม  โดยได้ดำเนินงานดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และการจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพและพัฒนาศักยภาพสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์เทศบาลนครหาดใหญ่ในการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน  เสริมสร้างให้ประชาชนมีทักษะความรู้ ความสามารถและพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีในทุกด้าน  และมีความสุขครอบคลุมทั้ง 5 มิติ คือ สุขสบาย สุขสนุก สุขสง่า สุขสว่าง สุขสงบ ดังนโยบาย “หาดใหญ่ มหานครแห่งความสุข” ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการเทศบาลนครหาดใหญ่  จึงได้ดำเนินโครงการโรงเรียนผู้สูงอายุ เทศบาลนครหาดใหญ่ขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต และนำผู้สูงอายุเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน ผลการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม โครงการโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลนครหาดใหญ่  ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ได้ทำการประเมินผลตามตัวชี้วัดของโครงการ ซึ่งผลการดำเนินงานของโครงการสามารถบรรลุตัวชี้วัดทุกข้อ ดังนี้  1) มีผู้เข้าร่วมโครงการเกินเป้าหมายที่กำหนด  2) ผู้เข้าร่วมโครงการที่ผ่านเกณฑ์การประเมินของเวลาเรียนทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 82.25  3) ผู้เข้าร่วมโครงการเข้าร่วมทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ การช่วยเหลือสังคมและกิจกรรมจิตอาสาต่าง ๆ มากกว่า 2 กิจกรรม รวมทั้งหมด 14 ครั้ง  4) ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความสามารถและทักษะในการดูแลตนเอง อยู่ในระดับมาก  5) ผู้เข้าร่วมโครงการมีภาวะสุขภาพทั้งด้านร่างกาย จิตใจและสังคมโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีภาวะสุขภาพที่ครอบคลุม ทั้ง 5 มิติ ซึ่งประกอบด้วย สุขสบาย สุขสนุก สุขสง่า สุขสว่าง และสุขสงบ และผู้เข้าร่วมโครงการมีความสุขเมื่อได้นำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิตมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด  6) ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจต่อโครงการ อยู่ในระดับมาก  จากผลการประเมินแสดงให้เห็นว่า โครงการโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลนครหาดใหญ่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ตั้งไว้  สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุได้ในทุกด้าน และจากการสำรวจความต้องการของผู้สูงอายุพบว่า มีผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมแสดงความจำนงเข้าร่วมโครงการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 แล้วกว่า 100 คน ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการเทศบาลนครหาดใหญ่ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเทศบาลนครหาดใหญ่ (โรงเรียนผู้สูงอายุ) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุให้มีความรู้ในการดูแลสุขภาพและมีทักษะในการจัดการและดูแลสุขภาพของ ตนเองเพิ่มขึ้น
  1. ผู้สูงอายุเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 90 ขึ้นไป
  2. ผู้เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 70 ผ่านเกณฑ์การประเมินความรู้ก่อน-หลังอบรม
  3. ผู้เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 80 มีความสามารถในการจัดการและดูแลสุขภาพตนเองเพิ่มขึ้น
0.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความสุข ครอบคลุม 5 มิติ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ผู้เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 80 มีความสุขครอบคลุม 5 มิติ คือ สุขสบาย สุขสนุก สุขสง่า
สุขสว่าง สุขสงบ อยู่ในระดับมาก

0.00
3 เพื่อให้ผู้สูงอายุ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ชีวิต และเป็นจิตอาสาร่วมสร้างสรรค์ประโยชน์ ต่อชุมชน/สังคม

1.ผู้เข้าร่วมโครงการได้ทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์หรือช่วยเหลือสังคม อย่างน้อย 1-2 กิจกรรม

2.ผู้เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 85 มีความพึงพอใจต่อโครงการอยู่ในระดับมาก

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 90 267,900.00 3 224,931.00
7 ม.ค. 62 ประชุมชี้แจงคณะกรรมการและผู้เกี่ยวข้องวางแผนงานและประชุมติดตามผลฯ 0 1,500.00 1,375.00
24 ม.ค. 62 - 23 พ.ค. 62 อบรมให้ความรู้ 90 226,400.00 199,556.00
28 ม.ค. 62 นันทนาการสร้างเสริมสุขภาพ 0 40,000.00 24,000.00
  1. สำรวจความต้องการการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ
  2. สำรวจความพร้อมของทรัพยากร ภาคีเครือข่าย ได้แก่ กศน./ศูนย์บริการสาธารณสุข/รพ.หาดใหญ่ /เกษตรอำเภอ/วิทยากรจิตอาสาฯ ความพร้อมของสถานที่
  3. ประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุฯ ร่วมกันเขียนโครงการ
  4. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณ
  5. ประชุมคณะกรรมการเพื่อวางแผนการดำเนินงาน
  6. คณะกรรมการแต่ละฝ่ายดำเนินงานตามแผน
  7. ประชาสัมพันธ์โครงการและเปิดรับสมัครผู้เรียน
  8. ตรวจประเมินภาวะสุขภาพผู้สูงอายุผู้เข้าร่วมโครงการ
  9. จัดอบรมให้ความรู้ในด้านการดูแลสุขภาพครอบทั้ง 4 มิติ กาย จิต สังคม และจิตวิญญาณโดยจัดอบรมสัปดาห์ละ  1 วัน เป็นเวลา 18 สัปดาห์ (18 ครั้ง)
  10. ประเมินผลและจัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์
  11. สรุปและรายงานผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  2. ผู้สูงอายุมีความรู้ ความสามารถและสามารถนำความรู้ประสบการณ์ที่ได้รับไปจัดการและดูแลสุขภาพของตนเองเพิ่มขึ้น
  3. ผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง  มีสุขภาพใจที่ดี  ไม่เหงา ไม่ซึมเศร้า พึ่งพาตนเองได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและมีความสุขครอบคลุม 5 มิติ
  4. ผู้สูงอายุเกิดการรวมกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้และทำกิจกรรมร่วมกัน รวมทั้งเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้เข้าร่วมเป็นจิตอาสาสร้างสรรค์ประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2561 08:43 น.