กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ชาวหนองบัวรวมใจ ป้องกันภัยเด็กจมนำ้ในชุมชน ปี 2560
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัว
วันที่อนุมัติ 8 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 26,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางมาริสามากเพ็ง
พี่เลี้ยงโครงการ -
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหนองบัว อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.978,99.731place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานความปลอดภัยทางถนน , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2560 30 ก.ย. 2560 26,700.00
รวมงบประมาณ 26,700.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 76 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ข้อมูลจาก สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้สรุปสถานการณ์การตกน้ำ - จมน้ำของเด็ก พบว่า จากทั่วโลกกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เสียชีวิตจากการตกน้ำ - จมน้ำ ปีละ 135,585 คน หรือเฉลี่ยวันละ 372 คน ส่วนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจำนวนปีละ 32,744 คน เฉลี่ยวันละ 90 คน ขณะที่ประเทศไทยมีเด็กที่เสียชีวิตจากการจมน้ำมากกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว 5-15 เท่าตัว เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปี ซึ่งเมื่อเทียบกับการเสียชีวิตจากสาเหตุอื่นๆ จะสูงกว่าอุบัติเหตุจราจรประมาณ 2 เท่าตัว และมากกว่าไข้จากไวรัสที่มีแมลงเป็นพาหะและไข้เลือกออกถึง 24 เท่าตัว คิดเป็นจำนวนปีละ 1,420 คน หรือวันละ 4 คน โดยมีภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอัตราการเสียชีวิตสูงสุด รองลงมาคือภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคใต้ จังหวัดนครราชสีมา กรุงเทพมหานคร บุรีรัมย์อุบลราชธานีสุรินทร์ ศรีสะเกษ อุดรธานี และขอนแก่น มีจำนวนการเสียชีวิตมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 5 ปี : ปี 2547 - 2551 )ในขณะที่ช่วงปิดภาคการศึกษาฤดูร้อน (มีนาคม - พฤษภาคม) มีเด็กตกน้ำ จมน้ำสูงถึงเกือบ 500 คน แหล่งน้ำที่มีเด็กเสียชีวิตจากการตกน้ำจมน้ำสูงสุด คือ แหล่งน้ำธรรมชาติ (ร้อยละ 49.9) รองลงมาคือสระว่ายน้ำ (ร้อยละ 5.4) และอ่างอาบน้ำ (ร้อยละ 2.5) (ค่าเฉลี่ย 10 ปี : ปี 2541- 2550) ในการป้องกันเด็กจมน้ำ ประชาชน ชุมชน และหน่วยงานทุกภาคส่วนจำเป็นต้องร่วมมือกันดำเนินการในมาตรการต่างๆเพื่อให้ครอบคลุมปัจจัยเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดการจมน้ำ คือปัจจัยเสี่ยงทางด้านบุคคล และทางด้านสิ่งแวดล้อมเพราะการใช้มาตรการใดเพียงมาตรการหนึ่ง จะไม่สามารถแก้ปัญหาเด็กจมน้ำได้ เนื่องเด็กแต่ละช่วงกลุ่มอายุจะมีมาตรการป้องกันที่ต่างกัน โดยเฉพาะชุมชน/ท้องถิ่นซึ่งเป็นหัวใจหลักของการป้องกันเด็กจมน้ำ เนื่องจากแหล่งน้ำที่เกิดการจมน้ำ มากกว่าครึ่งเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่อยู่ในชุมชน ดังนั้นถ้าทุกคนในชุมชน/ท้องถิ่นร่วมมือกันโดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ให้การสนับสนุนในด้านต่างๆ ก็จะสามารถลดปัญหาเด็กจมน้ำลงได้ จากสถานการณ์เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ตกน้ำ/จมน้ำเสียชีวิต ตำบลหนองบัว อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง ตั้งแต่ ปี 2554 -2559 พบว่า ข้อมูล 5 ปีย้อนหลังในปี 2558 เกิดเหตุเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ตกน้ำ/จมน้ำเสียชีวิต 1 ราย ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัว และจากรายงานการสอบสวนเด็กจมน้ำเสียชีวิต พบว่า การเสียชีวิตในครั้งนี้ เกิดจากปัจจัยเสี่ยงด้านคน แหล่งน้ำ และสิ่งแวดล้อม ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัวจึงจัดทำโครงการนี้ขึ้นมา เพื่อเป็นมาตรการในการป้องกันเด็กจมน้ำเพื่อให้ครอบคลุมปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ ก็จะสามารถช่วยป้องกันและลดปัญหาเด็กจมน้ำในชุมชนที่อาจเกิดขึ้นได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ในเรื่องการป้องกันการจมน้ำในชุมชน

ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ในการป้องกันการจมน้ำในชุมชน

2 เพื่อให้ประชาชน มีความรู้ ทักษะ และรู้จักป้องกันตัวเองให้ปลอดภัยจากการจมน้ำ

ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรม ทักษะที่ถูกต้องในการป้องกันการจมน้ำ

3 เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดการจมน้ำ

ร้อยละ 20 ของปัจจัยเสี่ยงต่อการจมน้ำลดลง

4 เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตจากการตกน้ำ

อัตราการเสียชีวิตของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จากการตกน้ำ ไม่เกิน 8 ต่อแสนประชากร

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 26,700.00 0 0.00
รณรงค์ติดป้ายประชาสัมพันธ์ 0 15,600.00 -
การให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กในชุมชน,การสอนการปฐมพยาบาล/CPR ให้แก่ประชาชน 0 1,900.00 -
การอบรมหลักสูตรว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดในเด็กและประชาชน 0 9,200.00 -
  1. เก็บรวบรวมข้อมูลเด็กจมน้ำในชุมชน
  2. สำรวจแหล่งน้ำเสี่ยงทั้งหมดที่มีอยู่ในชุมชน
  3. จัดประชุมชี้แจงแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกัน
  4. ดำเนินงานป้องกันเด็กจมน้ำตามแผนที่กำหนดไว้ 4.1 กิจกรรมที่ 1 รณรงค์ติดป้ายประชาสัมพันธ์การป้องกันเด็กจมน้ำในชุมชนและการติดป้ายคำเตือนและอุปกรณ์ลอยน้ำได้บริเวณแหล่งน้ำเสี่ยง 4.2 กิจกรรมที่ 2 การให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กในชุมชน, การสอนการปฐมพยาบาล/CPR ให้แก่ประชาชน 4.3 กิจกรรมที่ 3 การอบรมหลักสูตรว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดใน่ด็กและประชาชน
  5. ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน
  6. สรุปผลการดำเนินงานและนำผลที่ได้ไปใช้ปรับปรุงแก้ไขแผนการดำเนินงานในปีต่อไป
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เกิดการขยายผลการดำเนินงานป้องกันการจมน้ำให้ครอบคลุมมาตรการ ต่อเนื่อง และใช้ทรัพยากรในพื้นที่ รวมทั้งร่วมกันดำเนินงานในรูปแบบสหสาขา จึงเกิดขบวนการป้องกันการจมน้ำภายใต้ชื่อ "ผู้ก่อการดี(Merit Maker)" ขึ้น ซึ่งเป็นกลยุทธหลักในการช่วยแก้ปัญหาการจมน้ำของเด็กไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้เกิดการดำเนินงานป้องกันการจมน้ำทุกมาตรการในพื้นที่อย่างต่อเนื่องโดยใช้ความร่วมมือของสหสาขาและใช้ทรัพยากรในพื้นที่

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2560 11:18 น.