กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคชิคุนกุนยาและโรคไข้เลือดออกด้วยสมุนไพรไทยชุมชนโรงเรียนอนุบาลเมืองสตูล
รหัสโครงการ 62-L7580-2-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนโรงเรียนอนุบาลเมืองสตูล
วันที่อนุมัติ 17 ธันวาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 มีนาคม 2562 - 10 มีนาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 10 เมษายน 2562
งบประมาณ 29,251.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุณี สหับดิน
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาว นิสากร บุญช่วย
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลฉลุง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.725,100.035place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันพบว่ามีประชาชนที่ป่วยเป็นโรคที่เกิดจากยุงเป็นภาหะนำโรคมากขึ้น เช่น ยุงก้นปล่องนำโรคไข้มาลาเรีย ยุงรำคาญนำโรคไข้สมองอักเสบ ยุงหลายชนิดนำโรคเท้าช้าง ยุงลายนำโรคชิคุนกุนยาและโรคไข้เลือดออก ซึ่งพบว่าปัญหาการแพร่ระบาดของโรคชิคุนกุนยาและโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่ิเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเแลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหาจากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุก โดยการใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคชิคุนกุนยาและโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบ พร้อมทั้งกับหาวิธีแก้ไข ปัญหาของโรคชิคุนกุนยาและโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรม และสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคคชิคุนกุนยาและโรคไข้เลือดออกจึงต้องปรัลเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการป้องกันตนเองด้วยการทายากันยุง การนอนกางมุ้ง รวมทั้งการกำจัดและควบคุมยุงตัวแก่ เช่น การพ่นสารเคมีกำจัดยุงลาย และการป้องกันไม่ให้ยุงลายกัด เช่น ทายากันยุง กำจัดยุงโดยการใช้ไม้ช็อตไฟฟ้า จุดสมุนไพรหรือนาจุดไล่ยุง หรือใช้ภูมปัญยาท้องถิ่น เป็นต้น ซึ่งเป็นต้นเหตุของโรค ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายตามมาตรา 3 เก็บ ได้แก่ 1. เก็บบ้านให้สะอดา โปร่ง โล่ง ไม่ให้มีมุมอับทึบ เป็นที่เกาะพักของยุง 2. เก็บขยะ เศษภาชนะรอบบ้าน โดยทำต่อเนื่อง สัปดาห์ละครั้ง ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และ 3. เก็บน้ำสำรวจภาชนะใส่น้ำ ต้องปิดฝาให้มิดชิด ป้องกันยุงลายไปวางไข่ ซึ่งการป้องกันที่ดีที่สุด คือป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุของลูกน้ำยุงลายต่อเนื่องทุกสัปดาห์ ให้ถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน และมีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง           จากสถานการณ์ในจังหวัดสตูลปี 2561 พบว่า มีผู้ป่วยเป็นโรคชิคุนกุนยา จำนวน 539 คน และมีผู้ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก จำนวน 164 คน โดยในเขตเทศบาลตำบลฉลุง มีผู้ป่วยเป็นโรคชิคุนกุนยา จำนวน 50 คน ซึ่งชุมชนโรงเรียนอนุบาลเมืองสตูล ผู้ป่วยเป็นโรคชิคุนกุนยา จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 20 ถือว่าค่อนข้างมาก และในเขตเทศบาลตำบลฉลุง มีผู้ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก จำนวน 2 คน ซึ่งทั้ง 2 คน นั้นอยู่ในพื้นที่ชุมชนโรงเรียนอนุบาลเมืองสตูลถึงแม้ทางเทศบาลจะมีการป้องกันโดยการฉีดพ่นหมอกควันที่เป็นสารเคมี และการให้คำแนะนำจากอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนโรงเรียนอนุบาลเมืองสตูล ก็ยังเกิดการระบาดอย่างต่อเนื่อง อาจเป็นเพราะผู้ป่วยเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา ทำให้เชื้อแพร่กระจายได้ง่าย หรืออาจเกิดการดื้อยาที่เป็นสารเคมีกำจัดยุงลาย รวมทั้งประชาชนยังขาดความรู้ในการป้องกันตนเองจากโรคชิคุนกุนยาและโรคไข้เลือดออก ขาดการละเลยในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนโรงเรียนอนุบาลเมืองสตูล จึงได้ค้นคว้าและสืบค้นภูมิปัญญาในชุมชนที่สามารถควบคุมโรคชิคุนกุนยา และโรคไข้เลือดออก พบว่าสมุนไพรในพื้นที่มีสรรพคุณในการป้องกันพาหพนำโรคได้ คือ ตะไคร้หอมแลพมะกรูด ซึ่งเมื่อนำมาผสมกันกับการบูรและแอลกอฮอล์จะทำให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น           อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนโรงเรียนอนุบาลเมืองสตูล จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคชิคุนกุนยาและโรคไข้เลือดออกด้วยสมุนไพรไทยชุมชนโรงเรียนอนุบาลเมืองสตูล ส่งผลให้ประชาชนมีความเข้าใจ ความตระหนักเกี่ยวกับโรคชิคุรนกุนยาและโรคไข้เลือดออก รวมทั้งวิธีการป้องกัที่ถูกต้อง โดยการใช้สมุนไพรใกล้ตัว ทำให้ลดอัตราการป่วยด้วยโรคติดต่อที่สามารถป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันควบคุมรักษาและเฝ้าระวังโรคชิคุนกุนยาและโรคไข้เลือดออกอย่างถูกต้อง

ประชาชนในชุมชนโรงเรียนอนุบาลเมืองสตูลมีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกัน ควบคุมรักษาและเฝ้าระวังโรคชิคุนกุนยาและโรคไข้เลือดออกอย่างถูกต้อง ร้อยละ 80

80.00
2 เพื่อป้องกันยุงลายโดยใช้สเปรย์สมุนไพรไล่ยุง

ประชาชนมีความพึงพอใจในการใช้สเปรย์สมุนไพรไล่ยุง

0.00
3 เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันโรคชิคุนกุนยาและโรคไข้เลือดออก โดยใช้มาตราการ 3 เก็บ

ชุมชนให้ความร่วมมือในการป้องกันโรคชิคุนกุนยาและโรคไข้เลือดออก โดยใช้มาตราการ 3 เก็บ ร้อยละ 80

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 150.00 5 29,251.00
24 ธ.ค. 61 แจกแผ่นพับให้ความรู้เรื่องโรคชิคุนกุนยาและโรคไข้เลือดออก แก่ประชาชนในชุมชน 0 120.00 120.00
24 ธ.ค. 61 จัดทำป้านรณรงค์โรคชิคุนกุนยาและโรคไข้เลือดออกจำนวน 3 ป้าย 0 3.00 3,671.00
3 มี.ค. 62 อบรมให้ความรู้เรื่องโรคชิคุนกุนยาและโรคไข้เลือดออกในการป้องกัน ควบคุม และรักษา 0 8.00 10,420.00
3 มี.ค. 62 อบรมเชิงปฏิบัติการการทำสเปรย์สมุนไพรไล่ยุง 0 10.00 9,040.00
10 มี.ค. 62 รณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชน พร้อมทั้งทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย 0 9.00 6,000.00
  1. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคชิคุนกุนยาและโรคไข้เลือดออกในการป้องกัน ควบคุม และรักษา
  2. จัดกิจกรรมทำสเปรย์สมุนไพรไล่ยุง ประกอบด้วย ตะไคร้หอม มะกรูด การบูร แอลกอฮอล์ น้ำมันตะไคร้หอม
  3. จัดกิจกรรมรณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธ์ุยุงลายในชุมชน โดยการใช้มตราการ 3 เก็บ คือ( เก็บบ้าน เก็บขยะ เก็บน้ำ) -แจกแผ่นพับให้ความรู้เรื่องโรคชิคุนกุนยาและโรคไข้เลือดออก แก่ประชาชน -จัดทำป้ายรณรงงค์ป้องกันโรคชิคุนกุนยาและโรคไข้เลือดออก จำนวน 3 จุด
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ทำให้ประชาชนมีความเข้าใจ มีความตระหนักเกี่ยวกับโรคชิคุนกุนยาและโรคไข้เลือดออกและวิธีป้องกันที่ถูกต้อง
  2. ทำให้ลดอัตราการป่วยด้วยโรคติดต่อที่สามารถป้องกันได้
  3. สามารถเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการป้องกันโรคชิคุนกุนยาและโรคไข้เลือดออก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2561 09:14 น.