กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

1.1 วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกัน ควบคุมรักษาและการเฝ้าระวังโรคชิคุนกุนยาและโรคไข้เลือดออกอย่างถูกต้อง จากการประเมินความรู้ก่อน-หลัง การอบรมให้ความรู้เรื่องโรคชิคุนกุนยาและโรคไข้เลือดออกในการป้องกัน ควบคุม และรักษา มีจำนวนคำถามทั้งหมด 15 ข้อ พบว่ากลุ่มเป้าหมายได้คะแนน ดังนี้ ก่อนการอบรม กลุ่มเป้าหมายได้คะแนนสูงสุดที่ 13 คะแนน จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 10 รองลงมา 12 คะแนน จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 15 และได้คะแนนน้อยที่สุดที่ 7 คะแนน จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 15 หลังการอบรม กลุ่มเป้าหมายได้คะแนนสูงสุดที่ 15 คะแนน จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 42.50 รองลงมา 14 คะแนน จำนวน 9 คน
คิดเป็นร้อยละ 22.50 และได้คะแนนน้อยที่สุดที่ 9 คะแนน จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 2.50 เมื่อนำมาเปรียบเทียบการประเมินความรู้ก่อน-หลังการอบรม กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เพิ่มขึ้นจำนวน 37 คน คิดเป็น ร้อยละ 92.50 และมีความรู้เท่าเดิม จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 7.50

1.2 วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 เพื่อป้องกันยุงลายโดยใช้สเปรย์สมุนไพรไล่ยุง สรุปได้ดังนี้ จากการประเมินความพึงพอใจการใช้สเปรย์ไล่ยุงของผู้ทดลองใช้ จำนวน 100 คน พบว่า ผู้ทดลองใช้ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 57 คน อยู่ในระดับมาก จำนวน 37 คน และอยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 6 คน
1.3 วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันโรคชิคุนกุนยาและโรคไข้เลือดออก โดยใช้มาตราการ 3 เก็บ
จากการเดินรณรงค์การป้องกันโรคชิคุนกุนยาและโรคไข้เลือดออก โดยใช้มาตราการ 3 เก็บ ในชุมชน พบว่า ประชาชนในชุมชนให้ความร่วมมือในการรับฟังการให้ความรู้ในการป้องกันโรคชิคุนกุนยาและโรคไข้เลือดออก และให้ความร่วมมือในการใช้มาตรการ 3 เก็บ (เก็บบ้าน เก็บขยะ เก็บน้ำ) เพื่อช่วยทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย และลดปริมาณยุงให้น้อยลง

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันควบคุมรักษาและเฝ้าระวังโรคชิคุนกุนยาและโรคไข้เลือดออกอย่างถูกต้อง
ตัวชี้วัด : ประชาชนในชุมชนโรงเรียนอนุบาลเมืองสตูลมีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกัน ควบคุมรักษาและเฝ้าระวังโรคชิคุนกุนยาและโรคไข้เลือดออกอย่างถูกต้อง ร้อยละ 80
80.00 92.50

 

2 เพื่อป้องกันยุงลายโดยใช้สเปรย์สมุนไพรไล่ยุง
ตัวชี้วัด : ประชาชนมีความพึงพอใจในการใช้สเปรย์สมุนไพรไล่ยุง
0.00 0.00

 

3 เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันโรคชิคุนกุนยาและโรคไข้เลือดออก โดยใช้มาตราการ 3 เก็บ
ตัวชี้วัด : ชุมชนให้ความร่วมมือในการป้องกันโรคชิคุนกุนยาและโรคไข้เลือดออก โดยใช้มาตราการ 3 เก็บ ร้อยละ 80
80.00 80.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 40
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 10
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันควบคุมรักษาและเฝ้าระวังโรคชิคุนกุนยาและโรคไข้เลือดออกอย่างถูกต้อง (2) เพื่อป้องกันยุงลายโดยใช้สเปรย์สมุนไพรไล่ยุง (3) เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันโรคชิคุนกุนยาและโรคไข้เลือดออก โดยใช้มาตราการ 3 เก็บ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) แจกแผ่นพับให้ความรู้เรื่องโรคชิคุนกุนยาและโรคไข้เลือดออก แก่ประชาชนในชุมชน (2) จัดทำป้านรณรงค์โรคชิคุนกุนยาและโรคไข้เลือดออกจำนวน 3 ป้าย (3) อบรมให้ความรู้เรื่องโรคชิคุนกุนยาและโรคไข้เลือดออกในการป้องกัน ควบคุม และรักษา (4) อบรมเชิงปฏิบัติการการทำสเปรย์สมุนไพรไล่ยุง (5) รณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชน พร้อมทั้งทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh