โครงการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนบ้านรำแดง
ชื่อโครงการ | โครงการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนบ้านรำแดง |
รหัสโครงการ | 60 - L5269 05 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | นักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา |
วันที่อนุมัติ | 30 กันยายน 2559 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 6 ธันวาคม 2559 - 30 ธันวาคม 2559 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 6,300.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นักศึกษาพยาบาลศาสตร์บัณฑิตชั้นปีที่ 4 |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลรำแดง อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.29,100.486place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 15 ธ.ค. 2559 | 20 ม.ค. 2560 | 6,300.00 | |||
รวมงบประมาณ | 6,300.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของประเทศไทย ทำให้ประชากรในวัยผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น เนื่องมาจากการพัฒนาด้านสาธารณสุขและทางการแพทย์ ทำให้อัตราการตายลดลงผู้สูงอายุจึงมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น แต่ในทางตรงกันข้ามผู้สูงอายุกลับเป็นวัยที่มีสภาพร่างกายที่เสื่อมและถดถอยลงตามกาลเวลา เป็นผลที่ทำให้โรคภัยไข้เจ็บต่างๆสามารถเข้ามาเบียดเบียนได้ง่าย สอดคล้องกับข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขในปี พ.ศ.2558 พบว่า ปัจจุบันประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมีสัดส่วนผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปสูงถึง 9.4 ล้านคนคิดเป็นร้อยละ 14.5 ของประชากรทั้งประเทศโดยเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 5 แสนคน คาดว่าภายในปี พ.ศ.2568ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society)ซึ่งมีแนวโน้มจำนวนผู้สูงอายุประมาณ 14.4 ล้านคนหรือเพิ่มขึ้นเกินร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด กล่าวคือจะมีผู้สูงอายุ 1 คน ในประชากรทุกๆ 5 คนผลของการเพิ่มจำนวนของผู้สูงอายุนั้นนอกจากส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและ ยังมีผลกระทบและเป็นปัญหาทางชุมชนและสังคมเนื่องจากผู้สูงอายุนั้นมักมีข้อจำกัดในการดูแลสุขภาพของตนเอง จำเป็นต้องได้รับการดูแลและช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด จากการฝึกปฏิบัติงานรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 2 ของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา ได้ศึกษาภาวะสุขภาพชุมชน หมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 6 พบว่า โครงสร้างประชากรของชุมชนเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยมีสัดส่วนประชากรสูงอายุคิดเป็นร้อยละ 20.46 ประชากรทั้งหมด จากสภาพปัญหาดังกล่าวจึงได้นำประเด็นปัญหาดังกล่าวไปจัดเวทีประชาคมหมู่บ้านเพื่อให้ชุมชนได้รับทราบปัญหาและร่วมกันในการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาและวางแผนในการร่วมแก้ปัญหาสุขภาวะชุมชน พบว่า ชุมชนมีความตระหนักและเห็นความสำคัญกับการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ โดยเฉพาะด้านการออกกำลังกาย โดยพบว่าผู้สูงอายุในชุมชนไม่ได้ออกกำลังกาย สูงถึงร้อยละ 52.12 เมื่อวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาร่วมกับชุมชน พบว่าสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการขาดความรู้ ความตระหนักและไม่เห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย จากสภาพปัญหาและสาเหตุดังกล่าวชุมชนบ้านรำแดงร่วมกับ องค์การบริหารส่วนตำบลรำแดง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลรำแดงและนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา จึงร่วมกันจัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนบ้านรำแดง ภายใต้กิจกรรมย่อย “มโนราห์โบราณ วิถีอาหาร สืบสานวัฒนธรรม สร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ” ขึ้นเพื่อส่งเสริมความรู้ ความตระหนักในการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยมีกิจกรรมหลักประกอบด้วยการคัดกรองโรคเบื้องต้น รวมทั้งประเมินสมรรถภาพร่างกายสำหรับผู้สูงอายุ ร่วมกับการให้ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคเรื้อรัง การออกกำลังกายแบบผสมผสานต้านโรคที่เหมาะสมกับผู้สูงวัย รวมทั้งการเสริมสร้างสุขภาวะทางจิตวิญญาณ และการค้นหาบุคคลต้นแบบทางสุขภาพเพื่อมุ่งหวังให้กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวได้มีความรู้ ความเข้าใจและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองได้เหมาะสมสามารถที่จะดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณค่าและมีความสุขต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้เกิดนโยบายสาธารณะเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ร้อยละสถานที่หรือพื้นที่สาธารณะที่มีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
15 ธ.ค. 59 - 15 ม.ค. 60 | การส่งเสริมการออกกำลังกายในวัยผู้สูงอายุ | 50 | 6,300.00 | - | ||
รวม | 50 | 6,300.00 | 0 | 0.00 |
1.ขั้นเตรียม - แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการ - ประชุมปรึกษาหารือกับคณะกรรมการเพื่อชี้แจงและร่วมวางแผนการดำเนินกิจกรรมโครงการ - ประสานงานโครงการกับหน่วยงานต่างๆ - เขียนโครงการและเสนอขออนุมัติจัดทำโครงการ - จัดเตรียมอุปกรณ์และสถานที่ในการจัดทำโครงการ - ประชาสัมพันธ์โครงการ 2.ขั้นดำเนินงาน จัดกิจกรรมโครงการ...สร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนบ้านรำแดง กิจกรรมที่ 1 ขยับกายา ชีวาสดชื่น ยั่งยืนชีวี ประกอบด้วยกิจกรรม ดังนี้ 1.1 การออกกำลังกายแบบผสมผสานที่สอดคล้องกับบริบทวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชุมชนเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ ได้แก่ รูปแบบการออกกำลังกายแบบโนราห์บิคฤาษีดัดตน และท่ากายบริหารอื่นๆ ระหว่างวันที่ 14 – 29 ธันวาคม 2559 ทุกวันจันทร์วันพุธและวันศุกร์ 1.2 การคัดกรองภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ ประกอบด้วย การคัดกรองสุขภาพเพื่อป้องกันโรคเรื้อรังและการประเมินสมรรถภาพร่างกายโดยใช้เครื่องมือทดสอบของกรมวิทยาศาสตร์การกีฬา ได้แก่ การวัดความจุปอด กำลังกล้ามเนื้อแขน ขา ความอ่อนตัวและปริมาณไขมันในร่างกาย เป็นต้น (ประเมินก่อนและหลังดำเนินกิจกรรม)
กิจกรรมที่ 2 เยี่ยมบ้านประสานใจ ผู้สูงวัยในชุมชน
โดยการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุติดเตียงหรือมีข้อจำกัดทางสุขภาพเพื่อประเมินปัญหาและความต้องการในการดูแลสุขภาพ พร้อมทั้งให้การพยาบาลหรือนวัตกรรมทางสุขภาพที่เหมาะสมกับแต่ละราย
(เป้าหมาย 4 ราย) เยี่ยมบ้านและให้การดูและไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง/ราย
กิจกรรมที่ 3 มหกรรมสุขภาพผู้สูงวัย “ชุมชนคนรำแดง วิถีแห่งสุขภาวะ” ในวันที่25 ธันวาคม 2559 ประกอบด้วยกิจกรรม ดังต่อไปนี้
- การลงทะเบียนและพิธีเปิด
- กิจกรรมเรียงร้อยความดีเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โดยการร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีและยืนสงบนิ่งถวายความอาลัย
- กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะสุขภาพและการป้องกันโรคจากวิทยากร ในประเด็นเรื่องการปฏิบัติตัวในผู้สูงอายุ เช่น การออกกำลังกายที่เหมาะสม การรับประทานอาหาร และการนอนหลับพักผ่อน
- กิจกรรมร่วมกับผู้สูงอายุและคนในชุมชนนำปิ่นโตอาหารต้านโรคมาถวายพระและประกวดปิ่นโตอาหารสุขภาพ
- กิจกรรมเสริมสร้างสุขภาวะทางด้านจิตวิญญาณ โดยร่วมทำบุญถวายภัตตาหารเพลแต่พระภิกษุสงฆ์ พร้อมทั้งให้พรเนื่องในโอกาสใกล้วันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่
- กิจกรรม “จากรุ่นเล็กสู่รุ่นใหญ่ สานสายใยของชุมชน”โดยมีการรับประทานอาหารร่วมกันระหว่างผู้สูงอายุกับลูกหลานที่มาร่วมงานเพื่อสายใยรัก ความผูกพันจากรุ่นสู่รุ่น
- กิจกรรมนันทนาการ เช่นร้องเพลง รำวงร่วมกันกับผู้สูงอายุ เพื่อสร้างจิตใจและส่งเสริมความสนุกสนานเพลิดเพลิน
3.ขั้นสรุปและประเมินผล
- ประเมินการดำเนินการของโครงการเป็นเวลา 1 เดือน โดยประเมินสมรรถภาพร่างกายเปรียบเทียบก่อนและหลังการดำเนินโครงการ พร้อมทั้งประเมินความต่อเนื่องของผู้มาเข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกายจากสมุดทะเบียนการเข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกายประจำวัน
- ประเมินโครงการโดยแบบประเมินความพึงพอใจหลังเสร็จสิ้นโครงการ
- สรุปโครงการและจัดทำรายงานสรุปโครงการ
ประชากรผู้สูงอายุชุมชนบ้านรำแดงมีมีการแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ในการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อการมีภาวะสุขภาพที่ดีและเป็นชุมชนต้นแบบในการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ ในทุกมิติทางสุขภาพ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2560 11:36 น.