กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายเด็กและเยาวชน ปี2560
รหัสโครงการ 60-L6961-1-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 24 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 มีนาคม 2560 - 5 เมษายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 127,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลเมืองสุไหงโกลก
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.008,101.949place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายหรือ “คิตาน ในภาษาอาหรับ” หรือ “ทำสุหนัต ที่ใช้ในภาษามลายู” เป็นแนวปฏิบัติของมุสลิมเพื่อการรักษาความสะอาด รวมทั้งช่วยป้องกันและลดปัญหาการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคซิฟิลิส โรคมะเร็ง
นพ.อนุพงศ์ ชิตวรากร นายแพทย์ทรงคุณวุฒิด้านเวชกรรมป้องกัน กรมควบคุมโรค กล่าวในงานสัมมนาระดับชาติเรื่องโรคเอดส์ ครั้งที่ 12 ที่จัดขึ้น ณ อิมแพ็คเมืองทองธานี เปิดเผยถึงวิจัยที่ทำร่วมกับสหรัฐอเมริกา พบการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย สามารถลดความเสี่ยงการติดเชื้อHIV ได้ร้อยละ 50-60 เนื่องจากผิวหนังบริเวณนี้ จะมีต่อมซึ่งจะสร้างสารที่เรียกว่า smegma หรือขี้เปียก หากมีหนังหุ้มไม่สามารถเปิดออกล้างได้ จะทำให้สารดังกล่าวคั่ง ซึ่งจะก่อให้เกิดกลิ่น การติดเชื้อ รวมเกิดมะเร็งที่องคชาติได้ การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย ผู้ขลิบจะลดโอกาสเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ซิฟิลิส แผลริมอ่อน และลดความเสี่ยงของมะเร็งองคชาติ และถ้าหากขลิบในเด็กทารก ก็จะลดโอกาสเกิดการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะในเด็กได้ด้วย ผู้หญิงที่เป็นคู่ของผู้ชายที่ขลิบจะลดความเสี่ยงของการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และลดอัตราเสี่ยงการเกิดมะเร็งปากมดลูกด้วย เด็กและเยาวชนมุสลิมในภาคใต้ มักจะทำสุนัตกับหมอบ้าน หรือ โต๊ะมูเด็ง เป็นเพราะความเชื่อและประเพณีของชุมชน โดยผู้ปกครองเด็กเชื่อว่า “การทำกับแพทย์จะทำให้อวัยวะเพศไม่แข็งแรง” “การทำกับโต๊ะมูเด็งเป็นประเพณีที่คนเฒ่าคนแก่เคยทำกัน” เป็นต้นซึ่งที่ผ่านมาพบว่า การทำสุนัตกับโต๊ะมูเด็งมักจะมีเหตุการณ์เลือดออกมาก(bleeding) ทำให้เกิดภาวะช็อคหรือการติดเชื้อ เช่น ติดเชื้อตับอักเสบ เชื้อ HIV จากการใช้เครื่องร่วมกันโดยไม่ได้ล้างทำความสะอาดอย่างถูกวิธีกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกจึงได้จัดทำโครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายเด็ก และเยาวชนเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกเพื่อ ให้บริการการทำสุหนัตในกลุ่มเด็กและเยาวชนในพื้นที่เขตรับผิดชอบเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ผู้ปกครองเด็ก เยาวชน และชุมชน โดยการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ได้ประสาน ทีมงานจากสมาคมจันทร์เสี้ยวการแพทย์และสาธารณสุขภาคใต้ซึ่งมีบุคลากร ที่ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่มีความรู้ ทักษะด้านการขลิบหนังหุ้มปลายแบบปราศจากเชื้อ รวมทั้งบูรณาการความรู้ด้านศาสนาอิสลามและแนวทางการปฏิบัติที่เกี่ยวกับการดูแลรักษาพยาบาล ทั้งนี้เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นภายหลังการทำสุหนัต

1.หลักการและเหตุผล การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายหรือ “คิตาน ในภาษาอาหรับ” หรือ “ทำสุหนัต ที่ใช้ในภาษามลายู” เป็นแนวปฏิบัติของมุสลิมเพื่อการรักษาความสะอาด รวมทั้งช่วยป้องกันและลดปัญหาการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคซิฟิลิส โรคมะเร็ง
นพ.อนุพงศ์ ชิตวรากร นายแพทย์ทรงคุณวุฒิด้านเวชกรรมป้องกัน กรมควบคุมโรค กล่าวในงานสัมมนาระดับชาติเรื่องโรคเอดส์ ครั้งที่ 12 ที่จัดขึ้น ณ อิมแพ็คเมืองทองธานี เปิดเผยถึงวิจัยที่ทำร่วมกับสหรัฐอเมริกา พบการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย สามารถลดความเสี่ยงการติดเชื้อHIV ได้ร้อยละ 50-60 เนื่องจากผิวหนังบริเวณนี้ จะมีต่อมซึ่งจะสร้างสารที่เรียกว่า smegma หรือขี้เปียก หากมีหนังหุ้มไม่สามารถเปิดออกล้างได้ จะทำให้สารดังกล่าวคั่ง ซึ่งจะก่อให้เกิดกลิ่น การติดเชื้อ รวมเกิดมะเร็งที่องคชาติได้ การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย ผู้ขลิบจะลดโอกาสเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ซิฟิลิส แผลริมอ่อน และลดความเสี่ยงของมะเร็งองคชาติ และถ้าหากขลิบในเด็กทารก ก็จะลดโอกาสเกิดการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะในเด็กได้ด้วย ผู้หญิงที่เป็นคู่ของผู้ชายที่ขลิบจะลดความเสี่ยงของการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และลดอัตราเสี่ยงการเกิดมะเร็งปากมดลูกด้วย เด็กและเยาวชนมุสลิมในภาคใต้ มักจะทำสุนัตกับหมอบ้าน หรือ โต๊ะมูเด็ง เป็นเพราะความเชื่อและประเพณีของชุมชน โดยผู้ปกครองเด็กเชื่อว่า “การทำกับแพทย์จะทำให้อวัยวะเพศไม่แข็งแรง” “การทำกับโต๊ะมูเด็งเป็นประเพณีที่คนเฒ่าคนแก่เคยทำกัน” เป็นต้นซึ่งที่ผ่านมาพบว่า การทำสุนัตกับโต๊ะมูเด็งมักจะมีเหตุการณ์เลือดออกมาก(bleeding) ทำให้เกิดภาวะช็อคหรือการติดเชื้อ เช่น ติดเชื้อตับอักเสบ เชื้อ HIV จากการใช้เครื่องร่วมกันโดยไม่ได้ล้างทำความสะอาดอย่างถูกวิธีกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกจึงได้จัดทำโครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายเด็ก และเยาวชนเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกเพื่อ ให้บริการการทำสุหนัตในกลุ่มเด็กและเยาวชนในพื้นที่เขตรับผิดชอบเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ผู้ปกครองเด็ก เยาวชน และชุมชน โดยการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ได้ประสาน ทีมงานจากสมาคมจันทร์เสี้ยวการแพทย์และสาธารณสุขภาคใต้ซึ่งมีบุคลากร ที่ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่มีความรู้ ทักษะด้านการขลิบหนังหุ้มปลายแบบปราศจากเชื้อ รวมทั้งบูรณาการความรู้ด้านศาสนาอิสลามและแนวทางการปฏิบัติที่เกี่ยวกับการดูแลรักษาพยาบาล ทั้งนี้เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นภายหลังการทำสุหนัต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดบริการทำขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายแก่เด็กและเยาวชนมุสลิม

เด็ก เยาวชน ในเขตเทศบาลได้รับบริการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย

2 เพื่อลดภาวะเสี่ยงการติดเชื้อ และภาวะออกเลือดมาก (bleeding) ภายหลังทำขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ

ไม่พบภาวะแทรกซ้อนการติดเชื้อและภาวะออกเลือดมากหลังทำขลิบ ฯ

3 3.เพื่อให้ความรู้ รณรงค์และสร้างความตระหนัก ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคติดเชื้อ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

เด็กและเยาวชน มีความรู้ ความเข้าใจ ในการดุแลสุขภาพและป้องกันโรคติดเชื้อ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

4 4.เพื่อให้เด็กและเยาวชน สามารถเข้าถึงบริการด้านส่งเสริมและป้องกันโรค

เด็กและเยาวชน สามารถเข้าถึงบริการส่งเสริม ป้องกันโรค

5 5.เพื่อส่งเสริมองค์ความรู้โดยบูรณาการอิสลามกับการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค

เด็กและเยาวชน ได้รับความรู้โดยบูรณาการอิสลามกับการส่งเสริมสุขภาพ

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ

  1. จัดประชุมหารือคณะทำงาน เพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการรวมถึงการประชาสัมพันธ์โครงการ
  2. สำรวจ ประชาสัมพันธ์และรับสมัครเด็กและเยาวชน ในเขตเทศบาล ฯที่สนใจเข้าร่วมโครงการ โดยผ่านทางอสม.ผู้นำชุมชนชมรมโต๊ะอิหม่ามรวมถึงโรงเรียนในเขตเทศบาล
  3. ประสานทีมแพทย์ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อกำหนดวันทำสุนัตหมู่แก่เด็กและเยาวชนมุสลิม
  4. ประสานวิทยากรเพื่อให้ความรู้ การดูแลสุขภาพ
  5. จัดเตรียมสถานที่จัดกิจกรรม
  6. จัดซื้อจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง

ขั้นดำเนินงาน
1. กิจกรรมการให้ความรู้ เรื่อง การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย(Circumc ision )การเตรียมร่างกาย ก่อนหลังทำหัตถการขลิบฯ รวมถึงการป้องกันโรคติดต่อ แก่เด็ก เยาวชน และผู้ปกครอง เพื่อให้มีความรู้ เกิดความตระหนักในการดูแลตนเอง ในการป้องกันโรค
2. กิจกรรมขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย(Circumcision)แก่เด็ก และ เยาวชน 3. กิจกรรมติดตามและประเมินผลเพื่อติดตามและประเมินอาการและผลข้างเคียงภายหลังการขลิบฯ โดยให้อสม.ในต่ละชุมชน ออกเยี่ยมติดตามอาการเด็ก เยาวชน ที่เข้าร่วมโครงการและเก็บข้อมูลส่งให้หน่วยบริการ ในวันที่ 1 หลังขลิบ 4.ในรายที่มีความผิดปกติหลังขลิบ เช่น มีอาการปวดแผลมาก แผลบวมอักเสบมากปัสสาวะขัด มีเลือดออกมากรายงานให้หน่วยบริการศูนย์สุขภาพชุมชน1 / 2เพื่อประเมินอาการและรายงานให้ทีมแพทย์ทราบ เพื่อให้การรักษาเพิ่มเติม 5.สรุปผลการดำเนินโครงการในภาพรวม รวมถึงประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองเด็กเก็บและรวบรวมข้อมูล ตลอดทุกขั้นตอน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เด็กและเยาวชน ที่ได้รับการทำสุหนัต (ขลิบหุ้มหนังปลายอวัยวะเพศชาย) สามารถลดภาวะเสี่ยงของการออกเลือด (bleeding) ภาวะแทรกซ้อน (การอักเสบรุนแรง) และการติดเชื้อ รวมทั้งสร้างความตระหนักแก่ผู้ปกครอง ชุมชน ในการป้องกันโรคติดเชื้อ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2560 14:46 น.