โครงการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสซิก้า
ชื่อโครงการ | โครงการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสซิก้า |
รหัสโครงการ | 60-L6961-01-11 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม |
วันที่อนุมัติ | 24 กุมภาพันธ์ 2560 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 13 ธันวาคม 2559 - 30 กันยายน 2560 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 73,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสุไหงโกลก |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.008,101.949place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 20000 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้ซิกา เกิดขึ้นโดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรคระยะฟักตัวของโรคไข้ซิกา ใช้เวลาประมาณ 3 - 12 วัน อาการของโรคไข้ซิกา คล้ายกับ โรคที่เกิดจาก อาร์โบไวรัส (Arbovirus) ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่มีแมลงเป็นพาหะนำโรค เช่น โรคไข้สมองอักเสบ โรคไข้เหลือง และโรค ไข้เลือดออก เป็นต้น โดยมีอาการไข้ มี ผื่นแดง เยื่อบุตาอักเสบ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ อาการเหล่านี้ปกติแล้วจะเป็นเพียงเล็กน้อย และอาการจะเป็นอยู่ประมาณ 2 - 7 วันส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ ในผู้ป่วยบางราย ไวรัสซิกาอาจก่อให้เกิดโรคอัมพาต (Guillain-Barre Syndrome หรือกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร) และในสตรีตั้งครรภ์ อาจทำให้เกิดความพิการแต่กำเนิดของทารกในครรภ์ ตามมา โรคนี้ยังไม่มีวัคซีนหรือวิธีการรักษาเฉพาะทาง แต่จะเน้นไปที่การบรรเทาอาการป่วย รวมถึงการพักผ่อน การให้น้ำ และการใช้ยาพาราเซตามอลเพื่อลดไข้และอาการปวด ควรหลีกเลี่ยงแอสไพรินและยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ (NSAID) เช่น ไอบูโปรเฟน การระบาดของโรค จะแพร่กระจายได้ง่าย เนื่องจากการเดินทางที่สะดวกและรวดเร็วอาการของโรคไข้ซิกามีผลต่อระบบประสาท ในระบบภูมิคุ้มกัน
จากการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม – ๖ ธันวาคม ๒๕๕๙ พบว่ามีผู้ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกในอำเภอสุไหงโก-ลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องรวมทั้งสิ้น ๒๕๙ ราย และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูฝน ประกอบกับมีการรายงานว่าพบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสซิกา ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสแล้วหลายรายสำหรับในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกพบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสซิกาแล้ว ๑ ราย ซึ่งโรคทั้ง 2 นี้มียุงลายเป็นพาหะนำโรค การป้องกันที่ดีที่สุดคือการป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด และการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ของลูกน้ำยุงลายต่อเนื่องทุกสัปดาห์ด้วยมาตรการ 3 เก็บ เก็บน้ำ เก็บบ้าน ( หรือสถานที่ทำงาน )เก็บขยะ เพื่อตัดวงจรการแพร่ระบาดของโรค
ดังนั้นเพื่อการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไวรัสซิกาจึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งส่วนราชการภาคประชาชน โรงเรียน วัด มัสยิด ศูนย์เด็กเล็ก โดยเฉพาะชุมชน และย่านการค้าซึ่งต้องดำเนินการอย่างเข้มข้นครอบคลุมและต่อเนื่องในส่วนของกลุ่มเสี่ยงหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งต้องได้รับการคัดกรองตรวจหาเชื้อไวรัสทางห้องปฏิบัติการเพื่อการยืนยันผลตรวจ ต้องได้รับการดูแลติดตามเฝ้าระวังภาวะผิดปกติของทารกในครรภ์ต่อเนื่องจนคลอด ส่วนทารกต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องและประเมินพัฒนาการนาน 2 ปี เช่นกันจากเหตุผลข้างต้น ทางกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จึงขอจัดทำโครงการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสซิกา เขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสซิก้า มีกิจกรรมการเฝ้าระวัง ป้องกัน และ ควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไวรัสซิก้า ในชุมชน |
||
2 | 2.เพื่อสำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ของลูกน้ำยุงลาย มีการลงสำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ของลูกน้ำยุงลาย โดยชุมชน |
||
3 | 3.เพื่อกระตุ้นให้คนในชุมชนตระหนักเห็นความสำคัญในการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสซิกา ชาวชุมชน มีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสซิก้า |
||
4 | 4.เพื่อสร้างจิตสำนึกให้ นักเรียน ชาวชุมชน มีส่วนร่วมในการรณรงค์ และ รักษาความสะอาดภายในโรงเรียนชุมชนเพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์ของลูกน้ำยุงลาย นักเรียนชาวชุมชน มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมรณรงค์รักษาความสะอาดในชุมชนโรงเรียน ศพด. เพื่อลดแหล่งเพาะพันธ์ุลุกน้ำยุงลาย |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
5.1ขั้นเตรียมการ
1.ประชุมคณะทำงานควบคุมโรคระดับตำบล เพื่อวางแผนแนวทางการดำเนินงาน
2.ประชุมชี้แจงโครงการ แผนดำเนินงาน ให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ
3.จัดทำโครงการและเสนอของบประมาณเพื่อสนับสนุนการจัดทำโครงการ
4.ประสานขอความร่วมมือจาก เจ้าหน้าที่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกิจกรรม
5.จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์สื่อประชาสัมพันธ์จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
6.ประสานงานประชาสัมพันธ์ เพื่อออกประชาสัมพันธ์ข่าวสารการระบาดทุกช่องทาง
5.2ขั้นดำเนินการ
- ชุมชน
- แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อเฝ้าระวังโรคระดับชุมชน
- ประชุมชี้แจงแผนปฏิบัติงานแผนรณรงค์แก่คณะทำงานทราบ
- ร่วมกับอสม.จัดรณรงค์ bigcleaning day ในชุมชน หรือ พื้นที่ที่พบผู้ป่วย
- ร่วมกับอสม. จัดกิจกรรมร่วมรณรงค์ ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ของลูกน้ำยุงลายในชุมชนโดยแบ่งการทำงานเป็นโซน 4 โซนๆละ7 - 8ชุมชน ครอบคลุมครบ 28 ชุมชน
- กิจกรรมค้นหากลุ่มเสี่ยงในชุมชน คือหญิงตั้งครรภ์เพื่อเก็บปัสสาวะส่งตรวจหาเชื้อไวรัสซิกา
- ให้สุขศึกษา คำแนะนำเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสซิกาแก่ประชาชน
2.ย่านการค้า
- จัดรณรงค์ในย่านการค้าโดยบูรณาการกิจกรรมร่วมกับ โรงพยาบาลสาธารณสุขอำเภอ ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 1 และ 2 และ อสม.ในเขตเทศบาล
- แบ่ง อสม. ลงพื้นที่ในย่านการค้า เพื่อประชาสัมพันธ์การเฝ้าระวัง และการสำรวจลูกน้ำยุงลาย
- ให้สุขศึกษา คำแนะนำแจกแผ่นพับเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสซิกาแก่ประชาชน
- กิจกรรมค้นหากลุ่มเสี่ยงในชุมชน คือหญิงตั้งครรภ์เพื่อเก็บปัสสาวะส่งตรวจหาเชื้อไวรัสซิกา
- โรงเรียนศูนย์เด็กเล็ก วัด มัสยิด สถานที่ราชการ
- จัดกิจกรรมให้สุขศึกษา คำแนะนำเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสซิกา
- ร่วมกับ อสม. จัดกิจกรรมร่วมรณรงค์ในโรงเรียนศูนย์เด็กเล็ก วัด มัสยิด สถานที่ราชการเพื่อสำรวจ และ ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ของลูกน้ำยุงลาย โดยแบ่งการทำงานของอสม.เป็นโซน 4 โซน
- ร่วมกับ แกนนำอสม.ลงสุ่มประเมินค่า HICI ในโรงเรียนศูนย์เด็กเล็ก วัด มัสยิด สถานที่ราชการทุก 3 เดือน
- กิจกรรมพ่นหมอกควัน พ่นละอองฝอย กำจัดยุงตัวแก่
- ประสานทีมพ่นหมอกควันลงพื้นที่เพื่อพ่นหมอกควันกำจัดยุงตัวแก่ รัศมี 100 เมตร จากบ้านผู้ป่วย - ประสานงานศูนย์ควบคุมโรคติดต่อที่นำโดยแมลง 12.4 จังหวัดนราธิวาส ดำเนินการพ่นละอองฝอย รัศมี 100 เมตร จากบ้านผู้ป่วย
1.เด็ก เยาวชน คนในชุมชน มีจิตสำนึกในการเฝ้าระวัง ป้องกันไข้เลือดออกและช่วยกัน ดูแล รักษาความสะอาด
2.มีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายลดลง ทั้ง HI CI
3.จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกลดลง
4.เกิดภาคีเครือข่ายความร่วมมือระหว่างองค์กรและชาวชุมชนในการดำเนินกิจกรรมเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลสุไหงโก-ลก
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2560 15:26 น.