กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเคาะประตูดูแลผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน
รหัสโครงการ 62-L5300-1-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลคลองขุด
วันที่อนุมัติ 21 ธันวาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 21 ธันวาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 65,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเกศวรางค์ สารบัญ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.625,100.12place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้านโดยบุคลากรทางการแพทย์
60.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์มีความก้าวหน้าทำให้ผู้ป่วยทั่วไปและเรื้อรังรอดชีวิตจากภาวะวิกฤตมากขึ้น โรงพยาบาลต้องเพิ่มอัตราการหมุนเวียนเตียง เพื่อลดจำนวนวันของการอยู่รักษาในโรงพยาบาล และลดค่าใช้จ่ายของการรักษาพยาบาล ทำให้ผู้ป่วยเรื้อรังต้องถูกจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลเร็วขึ้นทั้ง ๆ ที่อาการยังไม่คงที่ บางรายมีอุปกรณ์ทางการแพทย์ติดตัวมาที่บ้านเป็นเหตุให้ต้องมีการส่งต่อให้ศูนย์บริการสาธารณสุขทำการดูแลอย่างต่อเนื่องแก่ผู้ป่วยและครอบครัวหลังการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ซึ่งผู้ป่วยจำนวนหนึ่งสามารถรักษาอาการให้หายขาดได้ แต่มีผู้ป่วยบางรายไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ กลายเป็นการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังที่มีความยุ่งยากซับซ้อนของการควบคุมอาการของโรคให้สงบได้ ซึ่งต้องการการดูแลเพื่อการรักษาอย่างต่อเนื่อง และต้องให้ญาติมีส่วนร่วมในการดูแล เพื่อช่วยควบคุมอาการของโรคได้ จึงต้องมีการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน ผู้ป่วยเหล่านี้ต้องการการมีส่วนร่วมจากครอบครัวในการดูแล แต่การมีส่วนร่วมของครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยเหล่านี้ยังไม่ดีเท่าที่ควร อันเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจของครอบครัว และจากปัจจัยอื่น ๆ ทำให้ผู้ป่วยเกิดความเครียด ท้อแท้ และหมดกำลังใจ ในปีงบประมาณ พ.ศ.2561 กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมร่วมกับทีมสหวิชาชีพโรงพยาบาลสตูล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด (สาขา) เยี่ยม ดูแล ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง และผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้านในพื้นที่ตำบลคลองขุด จำนวน 62 คน และมอบเวชภัณฑ์และวัสดุทางการแพทย์ที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วย จำนวน 34 คน

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลตำบลคลองขุด ได้เล็งเห็นความสำคัญของการดูแลผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น โดยการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแล เพื่อเป็นการดึงศักยภาพของสมาชิกในครอบครัวให้เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลร่วมกับทีมสุขภาพ ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันที่บ้านได้ ร่วมกับการส่งเสริมสุขภาพในด้านต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการดูแล และใช้ระยะเวลาในการดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังลดการใช้เวลา ยานพาหนะผู้นำส่งในการมารับบริการจากหน่วยงานสาธารณสุขอีกด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครและผู้ดูแลในการดูแลหรือฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน

ผู้ดูแลมีความรู้ในการดูแลหรือฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน อย่างน้อยร้อยละ 70

85.00
2 2.เพื่อให้ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและได้รับการดูแลต่อเนื่องอย่างมีคุณภาพครบทุกมิติของชีวิต

ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและได้รับการดูแลต่อเนื่องอย่างมีคุณภาพครบทุกมิติของชีวิต อย่างน้อยร้อยละ 70

60.00 70.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
4 ต.ค. 61 บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขลงไปประเมินสภาพของผู้ป่วย ให้คำปรึกษา แนะนำ ฟื้นฟูผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้านในพื้นที่หมู่ที่ 3 2 65,500.00 0.00
8 พ.ย. 61 บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขลงไปประเมินสภาพของผู้ป่วย ให้คำปรึกษา แนะนำ ฟื้นฟูผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้านหมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 4 ตำบลคลองขุด 5 0.00 0.00
27 พ.ย. 61 บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขลงไปประเมินสภาพของผู้ป่วย ให้คำปรึกษา แนะนำ ฟื้นฟูผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้านหมู่ที่ 1,5 และ 6 3 0.00 0.00
10 ม.ค. 62 บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขลงไปประเมินสภาพของผู้ป่วย ให้คำปรึกษา แนะนำ ฟื้นฟูผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน 3 0.00 0.00
13 ก.พ. 62 บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขลงไปประเมินสภาพของผู้ป่วย ให้คำปรึกษา แนะนำ ฟื้นฟูผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน 2 0.00 0.00
21 ก.พ. 62 บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขลงไปประเมินสภาพของผู้ป่วย ให้คำปรึกษา แนะนำ ฟื้นฟูผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้านในพื้นที่หมู่ที่ 4 และ 7 1 0.00 0.00
22 - 27 มี.ค. 62 กิจกรรมมอบวัสดุและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยโดยการพิจารณาโดยบุคลากรทางการแพทย์เป็นเฉพาะราย 11 0.00 19,640.00
17 เม.ย. 62 - 10 พ.ค. 62 กิจกรรมมอบวัสดุและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยโดยการพิจารณาโดยบุคลากรทางการแพทย์เป็นเฉพาะราย 5 0.00 8,760.00
16 - 23 พ.ค. 62 บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขลงไปประเมินสภาพของผู้ป่วย ให้คำปรึกษา แนะนำ ฟื้นฟูผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน 3 0.00 0.00
20 มิ.ย. 62 บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขลงไปประเมินสภาพของผู้ป่วย ให้คำปรึกษา แนะนำ ฟื้นฟูผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน 1 0.00 0.00
27 มิ.ย. 62 บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขลงไปประเมินสภาพของผู้ป่วย ให้คำปรึกษา แนะนำ ฟื้นฟูผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน 3 0.00 0.00
28 มิ.ย. 62 กิจกรรมมอบวัสดุและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยโดยการพิจารณาโดยบุคลากรทางการแพทย์เป็นเฉพาะราย 2 0.00 4,160.00
24 ก.ค. 62 - 14 ส.ค. 62 มอบวัสดุทางการแพทย์ที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยที่ต้องได้รับการช่วยเหลือ 2 0.00 4,160.00
25 ก.ค. 62 มอบวัสดุทางการแพทย์ที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยที่ต้องได้รับการช่วยเหลือ 1 0.00 2,080.00
13 ก.ย. 62 มอบวัสดุทางการแพทย์ที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยที่ต้องได้รับการช่วยเหลือ 1 0.00 2,240.00
รวม 45 65,500.00 15 41,040.00

1.บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขลงไปประเมินสภาพของผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน และมอบวัสดุและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยโดยการพิจารณาโดยบุคลากรทางการแพทย์เป็นเฉพาะราย 2.อาสาสมัครสาธารณสุขที่มาดูแลผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้านไปดูแลผู้ป่วยที่บ้านพร้อมทั้งสอนและแนะนำผู้ดูแลในครอบครัวเรื่องการดูแลและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลผลิต 1. อาสาสมัครสาธารณสุขและผู้ดูแลมีความรู้ในการดูแลผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน อย่างน้อยร้อยละ 70 2. ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและได้รับการดูแลต่อเนื่องอย่างมีคุณภาพครบทุกมิติของชีวิต อย่างน้อยร้อยละ 70 ผลลัพธ์ 1. อาสาสมัครสาธารณสุขและผู้ดูแลมีความรู้ในการดูแลผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน และผู้ป่วยได้รับการดูแลช่วยเหลือต่อเนื่องอย่างมีคุณภาพครบทุกมิติของชีวิต 2. ผู้ป่วยและสมาชิกในครอบครัวสามารถดูแลกันเองในครอบครัวได้ 3. ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นตามความเหมาะสม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ธ.ค. 2561 09:12 น.