กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการกู้ชีพ และช่วยชีวิตทางน้ำเบื้องต้น หมู่ที่ 3 บ้านเกาะนก
รหัสโครงการ 62-L5300-2-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มอาสาพัฒนาสาธารณสุข หมู่ที่ 3 บ้านเกาะนก
วันที่อนุมัติ 21 ธันวาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2562 - 30 เมษายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 พฤษภาคม 2562
งบประมาณ 15,060.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กลุ่มอาสาพัฒนาสาธารณสุข หมู่ที่ 3 บ้านเกาะนก
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.625,100.12place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กวัยเรียน(อายุ 6 ปีขึ้นไป) เสียชีวิตจากการจมน้ำ (คน)
0.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยมีสถิติการเสียชีวิตทางน้ำเป็นจำนวนมาก โดยพบจำนวนผู้เสียชีวิตมาก ในเกณฑ์อายุต่ำกว่า ๑๕ ปี จากข้อมูลผู้เสียชีวิตระหว่างปี พ.ศ. 2552 – 2556 ของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวไว้ว่ามีสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิต ได้แก่ การตกน้ำ หรือการจมน้ำ เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่ง (สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข, ม.ป.ป.) เนื่องจากผู้ประสบภัย ไม่รู้ถึงวิธีการเอาตัวรอดในน้ำและวิธีการช่วยเหลือที่ถูกต้อง จึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตขึ้นในทุกปี จากปัญหาดังกล่าว เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสังคมไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจาก ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่มีเกณฑ์อายุต่ำกว่า ๑๕ ปี เมื่อเกิดเหตุการณ์มักส่งผลกระทบทางด้านจิตใจ แก่ผู้ที่รับข้อมูล ข่าวสาร บ้านเกาะนก หมู่ที่ 3 ตำบลคลองขุด มีคลองหลายสายไหลผ่าน โดยมีเด็กและเยาวชนเล่นน้ำในคลองเป็นประจำ ซึ่งเคยมีผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำ แม้ว่าผู้ที่เสียชีวิตจะไม่ได้เป็นคนที่อาศัยในพื้นที่หมู่ที่ 3 ก็ตาม แต่ถ้าหากว่าผู้พบเห็นคนตกน้ำจมน้ำแล้ว มีหลายกรณีที่พบว่า คนจมน้ำรอดชีวิตเพราะได้รับการช่วยเหลือและปฐมพยาบาลที่เร็วและถูกวิธี จากข้อมูลของกรมควบคุมโรค พบว่าเกือบครึ่งหนึ่งของเด็กที่จมน้ำจะเสียชีวิต ณ จุดเกิดเหตุ เพราะตั้งแต่เด็กตกลงไปในน้ำจนจมอยู่ใต้น้ำ เวลาเพียง 4 นาที ก็ทำให้สมองขาดออกซิเจนและเสียชีวิตได้
กลุ่มอาสาพัฒนาสาธารณสุขหมู่ที่ 3 บ้านเกาะนก ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาและสถานการณ์ที่เกิดขึ้น จึงได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการกู้ชีพ และช่วยชีวิตทางน้ำเบื้องต้น หมู่ที่ 3 บ้านเกาะนก ตำบลคลองขุด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕62 ขึ้น เพื่อให้เยาวชนและผู้ปกครองได้รับความรู้ ความเข้าใจ และได้รับการฝึกปฏิบัติจริงในการช่วยชีวิต ผู้ประสบภัยทางน้ำขั้นพื้นฐาน สามารถช่วยชีวิตผู้อื่น และเกิดแนวทางการป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างความปลอดภัยทางน้ำ โดยชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งและชุมชนพึ่งตนเองได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มทักษะการเอาตัวรอดจากการจมน้ำแก่เด็กวัยเรียน(อายุ 6 ปีขึ้นไป)

จำนวนเด็กวัยเรียน(อายุ 6 ปีขึ้นไป) เสียชีวิตจากการจมน้ำ (คน)

0.00 0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 15.00 1 15,060.00
1 มี.ค. 62 - 30 เม.ย. 62 จัดอบรมให้ความรู้ 0 15.00 15,060.00

1.ประชุมเตรียมความพร้อมคณะกรรมการหมู่บ้าน อาสาพัฒนาสาธารณสุข หมู่ที่ 3 บ้านเกาะนก ตำบลคลองขุด จำนวน 30 คน
2.เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ ในการดำเนินโครงการ 3. จัดอบรมให้ความรู้
  3.1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความปลอดภัยทางน้ำ   3.2 การรู้จักเอาชีวิตรอดเมื่อประสบภัยทางน้ำ   3.3 การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ   3.4 การปฐมพยาบาล ด้วยการผายปอดและการนวดหัวใจให้กับผู้ประสบภัยทางน้ำ   3.5 ฝึกปฏิบัติการเอาชีวิตรอดและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลผลิต 1. ผู้ที่เข้ารับการอบรมมีความรู้และทักษะในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น สามารถช่วยเหลือตนเอง และบุคคลใกล้ตัวได้อย่างปลอดภัยก่อนถึงโรงพยาบาล ร้อยละ 100 2. ผู้เข้าอบรมสามารถฝึกปฏิบัติการเอาชีวิตรอดและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำได้ ร้อยละ 90 ผลลัพธ์ ๑. ผู้ที่เข้ารับการอบรมมีความรู้และทักษะในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น สามารถช่วยเหลือตนเอง และบุคคลใกล้ตัวได้อย่างปลอดภัยก่อนถึงโรงพยาบาล 2. สามารถลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากการจมน้ำและลดค่าใช้จ่ายทางด้านค่ารักษาพยาบาล

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ธ.ค. 2561 09:25 น.