กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเสริมสร้างครอบครัวสุขภาวะในชุมชนเทศบาลนครสงขลา เขต 3 ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนเทศบาลนครสงขลา เขต 3
รหัสโครงการ 60-L7250-2-32
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนเขตเทศบาลนครสงขลา เขต 3
วันที่อนุมัติ 23 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 63,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเชาว์สุชลสถิตย์ประธานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนเทศบาลนครสงขลา เขต 3.....
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 78 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ครอบครัวในปัจจุบันเผชิญกับภาวะการเปลี่ยนแปลงอันเป็นผลมาจากปัจจัยภายในครอบครัวและปัจจัยแวดล้อมในชุมชนสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยสภาพเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมซึ่งเปลี่ยนแปลงตามกระแสโลกาภิวัฒน์และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสมัยใหม่ ผลกระทบต่อแบบแผนการดำเนินชีวิตของครอบครัวได้เปลี่ยนแปลงไป จะเห็นได้ว่าครอบครัวไทยมีลักษณะหลากหลายยิ่งขึ้นและสมาชิกในครอบครัวมีวิถีชีวิตที่แตกต่างไปจากเดิมการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอาจยังผลให้เกิดความสั่นคลอนของสถาบันครอบครัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านโครงสร้างความสัมพันธ์หรือพันธะระหว่างสมาชิกภายในครอบครัว ที่มีต่อกันทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของสังคมและประเทศ
ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนเทศบาลนครสงขลา เขต 3 ได้สำรวจสภาพปัญหาสังคมที่อาจจะส่งผลกระทบต่อสถาบันครอบครัวในพื้นที่รับผิดชอบ 13 ชุมชน จึงได้คิดหาแนวทางในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และแก้ไขปัญหาร่วมกัน ใน 5 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ เด็กและเยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส พบว่ากลุ่มคนเหล่านี้เป็นพลังสำคัญยิ่งต่อการพัฒนา ควรจะได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ รวมถึงการเพิ่มทักษะการเรียนรู้ทางสังคม ศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมให้สมาชิกในชุมชนทุกกลุ่ม/ทุกช่วงวัยแนวทางหนึ่ง ให้สามารถรับมือกับปัญหาต่างๆ ได้ จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนเทศบาลนครสงขลา เขต 3 จึงได้จัดทำโครงการเสริมสร้างความสัมพันธ์ให้แก่ครอบครัวที่เข้าร่วมโครงการฯเพื่อให้ผู้ที่เข้ารับการอบรมได้ทบทวนทุกข์สุขของครอบครัว และเห็นความเชื่อมโยงของปัจจัยภายนอกที่เข้ามากระทบต่อครอบครัวและสร้างความอบอุ่นของครอบครัวให้เข้มแข็งและมั่นคงต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมองเห็น รากเหง้าของปัญหา รากเหง้าของความคิด ในเรื่องทุกข์สุขของครอบครัว ปัจจัยและกลไกที่ก่อให้เกิดทุกข์และสุขในครอบครัว โดยใช้หลักรู้จักทุกข์ หาเหตุแห่งทุกข์ปัญหา

1.เชิงปริมาณ ผู้เข้าร่วมโครงการสร้างสัมพันธภาพในครอบครัว จำนวน39ครอบครัว

2 ๒.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ทบทวนทุกข์สุขของครอบครัว และเห็นความเชื่อมโยงของปัจจัยภายนอกที่เข้ามากระทบต่อครอบครัว เริ่มมองเห็นว่าครอบครัวไม่ได้อยู่โดดเดี่ยว แต่เชื่อมโยงกับสังคม ชุมชนด้วย

2.เชิงคุณภาพ
- ติดตามผลความเปลี่ยนแปลง ว่ามีความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือไม่หลังจากเข้าร่วมกิจกรรมร้อยละ80
- เกิดสัมพันธภาพในครอบครัวไปในทางที่ดี ร้อยละ 90

3

3.เชิงเวลา โครงการดำเนินการแล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดร้อยละ90

4

4.เชิงค่าใช้จ่ายโครงการดำเนินการโดยใช้งบประมาณตามที่ประมาณการไว้ไม่น้อยกว่า ร้อยละ90

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. นำเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครสงขลา
  2. ประสานภาคีเครือข่าย หน่วยงาน องค์กรต่างๆ เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณและขอความร่วมมือในด้านต่างๆ
  3. ประสานผู้นำชุมชน/อสม. ในชุมชนพื้นที่เขต 3 เพื่อคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ
  4. ประสานงานเรื่องสถานที่และจัดเตรียม/จัดหาวัสดุ-อุปกรณ์สำหรับในการดำเนินงาน
  5. ดำเนินการตามโครงการดำเนินกิจกรรมด้านครอบครัว ดังนี้ ๕.๑แบ่งกลุ่ม๖กลุ่ม โดยนับ ๑ - ๖ผู้ที่นับได้หมายเลขเดียวกันให้อยู่กลุ่มเดียวกัน ๕.๒แบ่งเป็นกลุ่มทุกข์๓กลุ่ม กลุ่มสุข๓กลุ่ม เพื่อให้เห็นความคิดที่แตกต่าง ๕.๓วิทยากรแจกบัตรคำให้กับผู้เข้ารับการอบรมทุกคนทีละชุด ดังนี้
    ชุดที่๑ผล: ให้ผู้เข้ารับการอบรมเขียน ทุกข์และสุขในครอบครัวที่ท่านกำลังเผชิญอยู่ เขียนเสร็จนำไปติดเป็นผลของต้นไม้ ชุดที่๒ใบไม้: ให้เขียนว่า จากทุกข์และสุขนั้นทำให้เกิดอะไรขึ้นในชีวิตประจำวัน เขียนเสร็จนำไปติดเป็นใบของต้นไม้ ชุดที่๓ราก:ให้เขียนว่า ทุกข์และสุขนั้นเกิดจากสาเหตุ/ปัจจัย แบ่งเป็น ๒ ด้าน เขียนเสร็จนำไปติดที่รากไม้
    -รากที่เกิดจากปัจจัยภายนอก
    -รากที่เกิดจากปัจจัยภายในตัวเรา ๕.๔แต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปรายทำความเข้าใจต้นไม้ของตนที่ปรากฏออกมา ๕.๕แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนนำเสนอต้นไม้แห่งทุกข์และสุข ของกลุ่มตน ๕.๖วิทยากรสรุปให้เห็นรากเหง้าปัญหา/เชื่อมโยงให้เห็นเหตุแห่งทุกข์หรือสุขของครอบครัว โดยเน้นว่าเกิดจาก ๒ ปัจจัยคือ ๕.๖.๑ปัจจัยภายในคือ หลักคิดของตนเอง(สัมมาทิฏฐิ/มิจฉาทิฏฐิ) -ความสุข VS ความหฤหรรษ์ -เงินคือคำตอบทุกอย่างของชีวิต -ชี้ให้เห็นว่าการปรับเปลี่ยนวิธีคิดเป็นหนทางการแก้ปัญหา ๕.๖.๒ปัจจัยภายนอก ปัจจัยที่เข้ามากระทบทำให้เกิดปัญหาขึ้น
    ๕.๗วิทยากรสรุปให้เห็นว่าการจะให้เท่าทันปัจจัยต่าง ๆ นั้น จากที่นำเสนอมาจะเห็นว่าหัวใจสำคัญคือครอบครัวต้องเรียนรู้ ให้เท่าทันและไม่ยอมแพ้แก่ปัญหาติดตามประเมินผล/สรุปโครงการ
  6. สรุปและรายงานผลต่อแหล่งทุนกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครสงขลา
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ทำให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ทบทวนทุกข์สุขของครอบครัวและเห็นความเชื่อมโยงของปัจจัยภายนอกที่เข้ามากระทบต่อครอบครัว เริ่มมองเห็นว่าครอบครัวไม่ได้อยู่โดดเดี่ยว แต่เชื่อมโยงกับสังคม ชุมชนด้วย
  2. ทำให้ชุมชนมีศูนย์รวมในการพัฒนาสถาบันครอบครัวที่มีการจัดการโดยชุมชน
  3. ทำให้ชุมชนได้เรียนรู้ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาสถาบันครอบครัว ที่จะนำไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชนในการบริหารงาน และแก้ไขปัญหาสังคมอย่างยั่งยืนต่อไป
  4. ครอบครัวทุกครอบครัวจะเป็นหน่วยงานพื้นฐานที่เป็นภูมิคุ้มกันปัญหาสังคม แก่สมาชิกทุกวัยในครอบครัว และมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสังคมของตนเองและชุมชน โดยยึดหลักการพึ่งตนเอง
  5. ปัญหาสังคมในชุมชนจะลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 มี.ค. 2560 09:45 น.