กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดโรคฉี่หนู (Leptospirosis) ในชุมชนเร่งด่วน
รหัสโครงการ 60-L2481-5-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะท้อน
วันที่อนุมัติ 17 พฤศจิกายน 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 22 มกราคม 2560 - 24 กุมภาพันธ์ 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 102,960.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.เกาะสะท้อน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะสะท้อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.22,102.059place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 512 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์อุทกภัย ภัยพิบัติในพื้นที่ปัจจุบัน ประชาชนเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อสูง ซึ่งในพื้นที่เป็นพื้นที่ลุ่ม เป็นพื้นที่เกษตรกร ปลูกข้าวเป็นส่วนใหญ่ และ มีน้ำขังบริเวณบ้านเป็นจำนวนมาก ประกอบกับมีฝนตกติดต่อกันเป็นเวลานาน ประชาชนขาดรายได้ ไม่สามารถไปทำงานตามปกติได้ ประชาชนที่ทำสวนก็มีปัญหาน้ำท่วมที่ทำกิน จึงส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก ซึ่งโรคเล็ปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) หรือโรคฉี่หนู มักจะมาช่วงฤดูฝน จึงแนะประชาชนเลี่ยงการเดินย่ำโคลนหรือพื้นที่ที่มีน้ำขังด้วยเท้าเปล่า ฝนที่ตกหนักติดต่อกันเป็นช่วงๆ ทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมขังในพื้นที่ต่างๆ เป็นสาเหตุของการเกิดโรคเล็ปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) หรือ "โรคฉี่หนู" ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชื่อว่า เชื้อเลปโตสไปร่า (Leptospira) เข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล รอยขีดข่วน รอยถลอกตามผิวหนัง เยื่อบุตา จมูก ปาก หรือไชเข้าผิวหนังที่แช่น้ำเป็นเวลานาน พบมากในพื้นที่ที่มีการปลูกข้าว เนื่องจากต้องเดินย่ำน้ำหรือพื้นดินที่ชื้นแฉะ อาการของโรคคือมีไข้สูงทันทีทันใด ปวดศีรษะ ปวดเจ็บกล้ามเนื้อที่โคนขาและน่องอย่างมาก คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ตาแดง บางรายอาจมีจุดเลือดออกตามผิวหนัง ไอมีเลือดปนหรือตัวเหลืองตาเหลือง เนื่องจากเยื้อหุ้มสมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ตับวาย ไตวาย และเสียชีวิตได้ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะท้อน มีความห่วงใยสุขภาพประชาชนและตระหนักถึงโรคภัยที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก จึงได้จัดทำโครงการรองเท้าบู๊ทป้องกันโรคฉี่หนูแก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ เพื่อช่วยป้องกันโรคฉี่หนูในช่วงฤดูฝน ประกอบกับประชาชนไม่มีรายได้ จึงสนับสนุนรองเท้าบู๊ทเพื่อป้องกันโรคต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.จัดทำโครงการขออนุมัติงบประมาณดำเนินการ 2.ประสานงานผู้เกี่ยวข้อง 3.จัดประชุมชี้แจง เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง 4.คณะทำงานลงพื้นที่รณรงค์ป้องกันโรคฉี่หนู พร้อมแจกรองเท้าบู๊ทแก่ประชาชนกลุ่ม 5.รณรงค์การปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในชุมชนทุกหลังคาเรือน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้สวมรองเท้าบู๊ทเพื่อป้องกันโรคในช่วงหน้าฝน
  2. ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคเลปโตสไปโรซีสและสามารถป้องกัน และกำจัดพาหะนำโรคได้ด้วยตัวเอง
  3. สามารถประชาสัมพันธ์และรณรงค์กำจัดหนูซึ่งเป็นพาหะของโรคในพื้นที่อย่างทั่วถึง
  4. สามารถลดอัตราการป่วยและเสียชีวิต จากโรคเลปโตสไปโรซีสในเขตตำบลเกาะสะท้อน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 มี.ค. 2560 09:49 น.