กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเพิ่มองค์ความรู้ในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อตามฤดูกาล ประจำปี 2562
รหัสโครงการ 2562-l7255-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองคลองแห ร่วมกับ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองแห
วันที่อนุมัติ 25 ธันวาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 78,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ งานป้องกันและควบคุมโรค กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.055,100.48place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 25 ธ.ค. 2561 30 ก.ย. 2562 78,000.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 78,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 350 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อการท้องเสียจากการบริโภค
60.00
2 จำนวนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด(คน)
60.00
3 ร้อยละของเยาวชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นนักดื่มหน้าใหม่
60.00
4 ร้อยละของเยาวชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อสารเสพติด เช่น กระท่อม เฮโรอีน ยาบ้า เป็นต้น
60.00
5 ร้อยละของประชาชนที่มีพฤติกรรมเพศสัมพันธ์เสี่ยง
55.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคติดต่อ หมายถึง โรคที่สามารถถ่ายทอดติดต่อถึงกันได้ระหว่างบุคคล โดยมีเชื้อจุลินทรีย์ต่าง ๆ เป็นสาเหตุของโรค และถึงแม้ว่าเชื้อโรคจะเป็นตัวก่อเหตุ แต่พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของมนุษย์ ก็เป็นปัจจัยร่วมที่สำคัญที่จะทำให้เกิดโรคติดต่อนั้น ๆ ขึ้น สำหรับในประเทศไทยเป็นบริเวณร้อนชื้น จึงทำให้เชื้อโรคและแมลงที่เป็นพาหะนำโรคเจริญเติบโตและแพร่พันธุ์ได้ง่าย จะเรียกรวมว่า "โรคเขตร้อน" (Tropical Diseases) ซึ่งอาจเกิดจากเชื้อได้มากมายหลายชนิด นับตั้งแต่เชื้อไวรัสซึ่งมีขนาดเล็กมากลงไปจนถึงสัตว์เซลล์เดียว และหนอนพยาธิต่าง ๆ จากรายงานสถานการณ์โรคของศูนย์ข้อมูลระบาดวิทยาอำเภอหาดใหญ่พบว่า มีการแพร่ระบาดของโรคชิคุนกุนยา โรคไข้เลือดออกและโรคติดเชื้อไวรัสชิกาในเขตพื้นที่อำเภอหาดใหญ่  ทั้ง 3 โรคเป็นโรคมีมียุงลายเป็นพาหะนำโรค และโรคที่มีการแพร่ระบาดในพื้นที่อย่างรวดเร็วคือ โรคชิคุนกุนยา สถานการณ์ของศูนย์ข้อมูลระบาดวิทยาอำเภอหาดใหญ่ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2561 อำเภอหาดใหญ่ พบผู้ป่วยอันดับ 1 คือโรคชิคุนกุนยา พบผู้ป่วยจำนวน 1,598 คน อัตราป่วย 502 .55 ต่อแสนประชากร อัตราป่วยสูงสุดคือ ตำบลหาดใหญ่ พบผู้ป่วยจำนวน 912 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 586.74 ต่อแสนประชากร รองลงมาคือตำบลคูเต่า พบผู้ป่วยจำนวน 52 ราย อัตราป่วย 465.95 ต่อแสนประชากร ลำดับที่ 3 คือ ตำบลคอหงส์ พบผู้ป่วยจำนวน 196 ราย อัตราป่วย 424.32 ต่อแสนประชากร อันดับที่ 4 คือ ตำบลคลองแห พบผู้ป่วยจำนวน 145 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 407.15 ต่อแสนประชากร และมีผู้ป่วยแฝงอยู่ในพื้นที่ที่ไม่ได้ผ่านระบบการรายงานของศูนย์ข้อมูลระบาดวิทยาอำเภอหาดใหญ่มีเป็นจำนวนมาก ซึ่งโรคชิกุนคุนยาและโรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสชิกา มียุงลาย เป็นพาหะการนำโรคทั้งสิ้น และจากแนวโน้มการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกพบอัตราสูง 1 ปี เว้น 2 ปี นั้นคาดว่าในปี 2562 จะมีแนวโน้มการแพร่ระบาดสูงมาก  โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่อันตราย เป็นแล้วอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต โรคที่มากับหน้าฝนและหน้าร้อน คือโรคมือเท้าปาก โรคฉี่หนู โรคอุจจาระร่วง ดังนั้น การลดการแพร่กระจายของโรค คือ การควบคุมการแพร่กระจายของโรคคือการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยการเลี้ยงปลาหางนกยูงในอ่างเลี้ยงปลา การใส่ทรายอะเบทในภาชนะที่มีน้ำขัง การพ่นสารเคมีเพื่อกำจัดไข่ลูกน้ำยุงลายจนถึงยุงตัวเต็มวัย การทาโลชั่นกันยุง การให้ความรู้ความเข้าใจในการป้องกันโรคต่างๆ จำเป็นที่จะต้องอาศัยความร่วมมือของอาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่ที่มีสัมพันธภาพที่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด และเป็นผู้นำด้านสุขภาพ จึงจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคตามฤดูกาลอย่างถูกต้องและทันต่อสถานการณ์ มีการวางแผนการดำเนินงานที่สอดคล้องกับบริบทของแต่ละชุมชน เพื่อป้องกันและควบคุมอย่างถูกต้องต่อเนื่องสามารถลดการแพร่ระบาดของโรคได้
  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองแห ร่วมกับกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองคลองแห เล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคระบาดในพื้นที่เทศบาลเมืองคลองแห จึงได้จัดทำโครงการ เพิ่มองค์ความรู้ในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อตามฤดูกาล ประจำปี 2562 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ไขปัญหาประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อการท้องเสียจากการบริโภค

ร้อยละของประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อการท้องเสียจากการบริโภค

60.00 20.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

ร้อยละของการแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด(คน)

60.00 20.00
3 เพื่อลดอัตราเยาวชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นนักดื่มหน้าใหม่

ร้อยละของเยาวชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นนักดื่มหน้าใหม่

60.00 20.00
4 เพื่อแก้ปัญหาเยาวชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อสารเสพติด เช่น กระท่อม เฮโรอีน ยาบ้า เป็นต้น

ร้อยละของเยาวชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อสารเสพติด เช่น กระท่อม เฮโรอีน ยาบ้า เป็นต้น

60.00 20.00
5 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเพศสัมพันธ์

ร้อยละของประชาชนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเพศสัมพันธ์

55.00 15.00
6 เพื่อสร้างองค์ความรู้ให้อาสาสาสมัครสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง

สร้างองค์ความรู้ให้อาสาสมัครสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง

90.00
7 เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยและอัตราป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้

จำนวนผู้ป่วยและอัตราปาวยด้วยโรคที่ป้องกันได้

90.00
8 เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขมีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินงานตามบริบทพื้นที่

อาสาสมัครสาธารณสุขมีส่วนร่วมในการว่างแผนการดำเนินงานตามบริบทพื้นที่

90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 78,000.00 1 78,000.00
28 ธ.ค. 61 กิจกรรมการอบรมให้ความรู้เรื่องโรคตามฤดูกาล /กิจกรรมสันทนาการและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การป้องกันและควบคุมโรคตามฤดูกาล 0 78,000.00 78,000.00
  1. จัดทำโครงการเสนอคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคลองแหเพื่อพิจารณาอนุมัติ
  2. ดำเนินกิจกรรมการอบรมให้ความรู้เรื่องโรคตามฤดูกาล
  3. กิจกรรมสันทนาการและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การป้องกันและควบคุมโรคตามฤดูกาล
  4. สรุปและประเมินผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้ความเข้าใจโรคที่เกิดตามฤดูกาลได้อย่างถูกต้อง 2.อาสาสมัครสาธารณสุขมีการดำเนินการรณรงค์เพื่อป้องกันโรคในพื้นที่ตามบริบทของแต่ละชุมชน 3.สามารถลดจำนวนผู้ป่วยและอัตราป่วยด้วยโรคตามฤดูกาล

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 2561 08:56 น.