กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุและผู้ป่วยเรื้อรังแบบบูรณาการ
รหัสโครงการ 60-L3016-3-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลปะกาฮะรัง
วันที่อนุมัติ 14 กุมภาพันธ์ 2017
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 50,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางมูเรียมอิสลาม
พี่เลี้ยงโครงการ นายแวบือราเฮง แวซู
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะกาฮะรัง อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.833,101.232place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 400 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อทำให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงหลักประกันสุขภาพโดยไม่มีขีดจำกัดด้านเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดผลดีต่อประชาชน การมีสุขภาพดีเป็นต้นทุนของทุกคน ดังนั้นจึงควรทำให้มีสุขภาพดีตลอด การสร้างนำซ่อมหรือที่เรียกว่าการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจึงเป็นกระบวนการที่สำคัญ แต่ปัจจุบันอัตราการรักษาพยาบาลสูงขึ้นค่าใช้จ่ายในการรักษาเพิ่มมากขึ้น แต่ผลตอบแทนด้านสุขภาพน้อย เห็นได้จากอัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้หรือโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการปฏิบัติตนยังมีอัตราที่สูง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ฯลฯ เครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุข และอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุตำบลปะกาฮะรัง ได้มีการสำรวจกลุ่มผู้สูงอายุ และผู้ป่วยเรื้อรัง พบว่าปัญหาสุขภาพที่สำคัญ ได้แก่ อัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ยังเป็นปัญหาของตำบลปะกาฮะรัง จากสภาพปัญหาที่กล่าวมา รพ.สต.เครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุข และอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุตำบลปะกาฮะรัง สำรวจพบข้อมูลสุขภาพเกี่ยวกับกลุ่มผู้ป่วยเรื้องรังในอัตราที่สูง ซึ่งกลุ่มบุคคลดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับการดูแล การให้คำแนะนำ และการเยี่ยมที่บ้านอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม ซึ่งพบว่าปัญหาระบบสุขภาพที่เน้นการตั้งรับมากกว่าเชิงรุก ขาดการเสริมสร้างสุขภาพและป้องกันโรคแบบองค์รวม การดูแลสุขภาพกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังที่บ้านแบบบูรณาการ การให้คำแนะนำและความรู้แก่ญาติแลผู้ป่วยที่บ้านจะก่อให้เกิดผลแบบองค์รวมทั้งกาย จิต และสังคม และยังมีผลต่อกลุ่มเป้าหมายให้เข้าใจและสามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสมทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลลงได้ด้วย ดั้งนั้นการบริการเชิงรุกโดยการเยี่ยมบ้านติดตามดูแลกลุ่มผู้ป่วยเรื้องรังที่บ้านแบบบูรณาการ จึงเป็นบริการเชิงรุกที่จำเป็นและสำคัญเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวให้ลดลง โครงการฯดังกล่าวปรากฏในแผนงาน/โครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลปะกาฮะรัง อำเภอ เมือง จังหวัดปัตตานี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ยุทธศาสตร์ที่ 3กิจกรรมเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมการเสริมสุขภาพการป้องกันโรคและฟื้นฟูสมรรถภาพและการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิฯ โครงการที่ 3.3

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 2.1.1 เพื่อบริการเยี่ยมบ้านประชากรกลุ่มผู้สูงอายุ และผู้ป่วยเรื้อรัง ในตำบลปะกาฮะรัง ซึ่งเป็นการลดภาวะแทรกซ้อนของผู้สูงอายุ และผู้ป่วยเรื้อรัง โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2.1.2 เพื่อดูแลผู้สูงอายุ และผู้ป่วยเรื้องรัง ที่มีปัญหาด้านสุขภาพ ทั้งด้านร่างกาย,จิตใจ,สังคมและเพื่อเพิ่มพูนทักษะความรู้ในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยและญาติ 2.13 เพื่อส่งเสริมความร่วมมือของภาคีเครือข่ายในชุมชนในการดูแลสุขภาพ 2.1.4 เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์ฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ

2.2.1.อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุจำนวน 20 คน 2.2.2 ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยเรื้อรังมีความรู้ในการรักษาสุขภาพด้วยตนเอง ร้อยละ80

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

3.1 การดำเนินการขั้นต้น 3.1.1 อบรมอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ 3.1.2 ให้ความรู้ด้านสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ 3.1.3 ตรวจสุขภาพ 3.1.4 เยี่ยมบ้านโดยทีมอาสาสมัครดุแลผู้สูงอายุ 3.1.5 มอบชุดดูแลสุขภาพและให้การช่วยเหลือตามสภาพ 3.1.6 สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน 3.2 การดำเนินการต่อเนื่องโครงการ 3.2.1ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการ/ให้ความรู้แก่ผู้นำ/กรรมการหมู่บ้าน/อสม./กลุ่มผู้ป่วยและญาติ เพื่อดำเนินโครงการอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ และผู้ป่วยเรื้อรัง 3.2.2 ออกเยี่ยมบ้านเดือนละครั้ง โดยทีมเยี่ยมบ้านชุมชน อผส.และทีมสหวิชาชีพ 3.2.3 จัดเวทีให้กลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3 เดือน /ครั้ง 3.2.4. ประเมินความพึงพอใจและสรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๗.๑ เด็กได้รับการประเมินพัฒนาการ และการกระตุ้นพัฒนาการที่ถูกต้องตามวัย
๗.๒ เด็ก มีพัฒนาการที่สมวัยทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ๗.๓ เด็กที่พัฒนาการล่าช้าให้ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการให้มีพัฒนาการที่สมวัย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 มี.ค. 2017 12:31 น.