โครงการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคผักปลอดสารพิษ และแปลงสาธิตผักปลอดสารพิษ ศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวงเทศบาลนครสงขลา
ชื่อโครงการ | โครงการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคผักปลอดสารพิษ และแปลงสาธิตผักปลอดสารพิษ ศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวงเทศบาลนครสงขลา |
รหัสโครงการ | 60-L7250-1-17 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง |
วันที่อนุมัติ | 23 กุมภาพันธ์ 2560 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 31 มกราคม 2560 - 30 กันยายน 2560 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 68,180.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางวสุธิดา นนทพันธ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 30 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันเรื่องของปัญหาสุขภาพของประชาชนคนไทยเพิ่มทวีขึ้น ซึ่งเห็นได้จากสถิติของผู้ป่วยที่มารับบริการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ และอัตราการป่วย จากโรคที่ไม่ติดต่อ เพิ่มสูงขึ้น โรงพยาบาลก็ต้องเพิ่มขนาดของโรงพยาบาลเพื่อให้รองรับผู้ที่มารับบริการ ซึ่งเป็นภาระที่รัฐบาลจะต้องเสียงบประมาณในการดำเนินการเป็นอันมาก และเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ เนื่องจาก ต้นเหตุของปัญหาสุขภาพ ที่สำคัญมีสาเหตุ มาจากการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ อาหารที่มีการปลอมปนสารเคมี หรือ ผัก ที่ได้รับสารพิษเพราะเกษตรกรใช้สารกำจัดศัตรูพืช ทำให้สารเคมีที่เป็นโทษเหล่านั้น ตกอยู่กับผู้บริโภคอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง จากสถานการณ์ความปลอดภัยด้านอาหารในจังหวัดสงขลา อยู่ในระดับที่จำเป็นต้องบูรณาการแก้ไขปัญหา เนื่องจากการตรวจพบสารปนเปื้อนในอาหารสดโดยรถตรวจวิเคราะห์สารปนเปื้อนเคลื่อนที่ (Mobile Unit) ในปี 2555 พบว่า การตรวจพบสารเคมีทางการเกษตรตกมาตรฐาน คิดเป็นร้อยละ 11.45 หากแยกตามประเภทอาหารที่ตกมาตรฐานมากที่สุด 5 อันดับ อันดับแรก ได้แก่หัวหอม ใบบัวบก ต้นหอม กะหล่ำดอก ดอกหอม (สถานบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์,2559)แนวทางในการป้องกันปัญหาที่เป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ แบบยั่งยืน คือการให้สุขศึกษาแก่ประชาชน และการส่งเสริมการปลูกผักเพื่อบริโภคในครัวเรือน แต่กระนั้น สำหรับประชาชนที่ไม่เคยปลูกผักเลยก็เป็นปัญหาใหญ่ ในการที่จะเริ่มต้นที่จะเรียนรู้การปลูกผักด้วยตนเอง ดังนั้นศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง ได้เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคผักปลอดสารพิษ และแปรงสาธิตผักปลอดสารพิษ ศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง เทศบาลนครสงขลา ขึ้น เพื่อส่งเสริมการสร้างพฤติกรรมและค่านิยมการบริโภคผักของประชาชนกลุ่มเป้าหมายให้มีสุขภาวะจากการบริโภค และมีความรู้ความเข้าใจในการที่จะเลือกบริโภคผักที่เหมาะสมและถูกต้องตามหลักโภชนาการ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย สามารถ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มาบริโภคผักปลอดสารพิษ
|
||
2 | 2. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้ทดลองปฏิบัติการปลูกผักปลอดสารพิษ
|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
5.1 กิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคผักปลอดสารพิษ 1. ดำเนินการเขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ 2. ประสานงาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3. ประชุมชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่ ผู้เกี่ยวข้อง/คณะทำงาน เพื่อชี้แจงรายละเอียดโครงการ รายละเอียดกิจกรรมและติดตามการดำเนินงานโครงการ 4. ติดต่อประสานงานวิทยากร เชิญชวนกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ 5. ให้ความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคผักปลอดสารพิษและการปฏิบัติตนที่ถูกต้องในการ ป้องกันสารเคมีกำจัดศัตรูพืช 6. ตรวจสารเคมีในเลือดกลุ่มเป้าหมายโดยใช้กระดาษทดสอบ Reactive paper ก่อนดำเนินกิจกรรมบริโภค ผักปลอดสารพิษ 5.2 กิจกรรมแปลงสาธิตผักปลอดสารพิษ 1. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับวิธีการปลูกผักปลอดสารพิษและป้องกันสารเคมีกำจัดศัตรูพืช 2. จัดเตรียม วัสดุ อุปกรณ์ การปลูกผักปลอดสารพิษ 3. กลุ่มเป้าหมายดำเนินการปลูกผักปลอดสารพิษและบริโภคผักปลอดสารพิษ 4. ติดตามการตรวจเลือดกลุ่มเป้าหมายโดยใช้กระดาษทดสอบ Reactive paper หลังบริโภคผักปลอดสารพิษ 5. ติดตามและตรวจเยี่ยมประเมินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคผักปลอดสารพิษ 6. สรุปผลโครงการ
1.ประชาชนมีการปลูกและบริโภคผักปลอดสารพิษเพิ่มมากขึ้น 2.ประชาชนมีความรู้และตระหนักรวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปลูกและบริโภคผักปลอดสารพิษ 3.ประชาชนได้ทำกิจกรรมร่วมกัน ทำให้เกิดความสามัคคีขึ้นในชุมชน 4.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงซึ่งเป็นผู้บริโภคผัก ได้รับการตรวจหาสารเคมีในกระแสเลือด
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 มี.ค. 2560 13:41 น.