กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การผลิตสื่อและของเล่นเสริมพัฒนาการเด็ก
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลเมืองม่วงงาม
วันที่อนุมัติ 20 ธันวาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มกราคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 18,776.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ เทศบาลเมืองม่วงงาม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลม่วงงาม อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.347,100.476place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

พัฒนาการเด็กเป็นสิ่งที่ผู้ปกครองควรให้ความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะพัฒนาการวัยทารกและเด็กในช่วง 1-5 ปีแรก ผู้ปกครองควรเฝ้าดูพัฒนาการของเด็กอย่างใกล้ชิดเพื่อให้แน่ใจว่าเด็กเติบโตอย่างสมบูรณ์ทุกด้าน หรือหากมีปัญหาก็จะสามารถแก้ไขได้แต่เนิ่น ๆ  ดังนั้นผู้ปกครองควรทราบถึงพัฒนาการที่เหมาะสมของเด็กตามช่วงวัย เรียนรู้วิธีส่งเสริมพัฒนาการ และสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้น    เพื่อคอยดูแลให้เด็กเจริญเติบโตอย่างแข็งแรงสมวัย การเล่นเป็นกิจกรรมสำคัญสำหรับเด็ก เปรียบเสมือนการทำงานของวัยผู้ใหญ่    การจัดการเล่นที่สอดคล้องกับความสามารถและทักษะของเด็กแต่ละวัย จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้มีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น

    จากงานวิจัยของกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูนิเซฟ ตั้งแต่ ปี 2555 ถึง ปัจจุบัน โดยสำรวจเด็กเล็กตั้งแต่แรกเกิด  ถึง 6 ปี พบว่า มีเด็กกว่า 3 ล้านคนในประเทศไทย ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ คิดเป็น 1 ใน 5 ของเด็กทั้งหมดเด็กเหล่านี้ ถูกปล่อยให้สถานรับเลี้ยงเด็ก และ ผู้สูงอายุ เป็นผู้ดูแล เนื่องจากครอบครัวที่ยากจนพ่อแม่ต้องดิ้นรนทำงาน จึงต้องย้ายถิ่นฐานออกมาทำงานในเมือง    และพบว่าเด็กร้อยละ 90 ที่อยู่กับปู่ย่าตายายมีพัฒนาการช้า เรื่องการฟังพูดอ่านเขียน และ สุขภาพจิตแย่กว่าเด็กที่อยู่กับพ่อแม่ พัฒนาการของเด็กแต่ละคนอาจแตกต่างกันไป เด็กบางคนอาจมีพัฒนาการรวดเร็วหรือช้ากว่าเด็กคนอื่น ๆ เล็กน้อย อย่างไรก็ตาม    เด็กส่วนใหญ่มักมีพัฒนาการด้านร่างกาย สติปัญญา ภาษา อารมณ์ และสังคมในแต่ละช่วงอายุ ดังนี้


ตารางการจัดการเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามวัย อายุ พัฒนาการ การเล่น 1-3 เดือน เคลื่อนไหวร่างกาย แขน ขา ได้ 2 ข้างเท่ากัน สำรวจสิ่งต่างๆรอบๆตัว จ้องมองและเคลื่อนสายตาตามวัตถุที่เคลื่อนที่ใช้มือคว้า เอื้อมหยิบสิ่งของ อาจจะจับถูกบ้างผิดบ้าง เนื่องจากการประสานงานระหว่างกล้ามเนื้อตาและมือยังไม่สมบูรณ์ การอุ้มสัมผัสพูดคุย เด็กจะยิ้มและตอบสนองต่อเสียงรอบข้าง ของเล่นกระตุ้นสายตา โมบายสีสดใสกรุ๋งกริ๋งเขย่ามีเสียงดัง ฟังเพลงบรรเลงเบาๆ 4-5 เดือน เด็กเริ่มจำวัตถุและบุคคลใกล้ชิดได้ คอแข็ง พลิกคว่ำได้ ใช้แขนได้ดีขึ้น หมุนตัวหรือคืบไปข้างหน้าได้ พยายามไขว่คว้าสิ่งของที่ต้องการด้วยตัวเอง ชอบถือของเล่นฟาดไปมา จับของเล่นเข้าปาก จับให้นั่งได้แต่ยังนั่งเองไม่ได้ ของเล่นที่ใช้มือจับ เขย่ามีเสียง ควรเป็นของเล่นที่ปลอดภัย ไม่มีความคม และเอาเข้าปากได้โดยไม่เป็นอันตราย เมื่อเล่นหยอกล้ออารมณ์ดีจะหัวเราะเสียงดัง 5-6 เดือน เคลื่อนไหวได้คล่องขึ้น สนใจสิ่งต่างๆรอบตัว อยากรู้อยากเห็น อยากหยิบจับของทุกอย่างที่มองเห็น บางคนสามารถนั่งได้เอง เมื่อจับยืนเท้าสองข้างจะวางแนบกับพื้น เด็กบางคนจะร้องเมื่อเห็นคนแปลกหน้า ของเล่นที่จับแกว่งแล้วมีสียงดัง ยางกัดนิ่มๆ กล่องดนตรี เล่นกับเงาตัวในกระจก 6-7 เดือน นั่งพิงเก้าอี้ได้ นั่งตามลำพังได้ มองของเล่นและพิจารณารายละเอียด ของเล่นประเภทที่มีเสียง เล่นรุนแรงขึ้น เล่นตุ๊กตาล้มลุก ตุ๊กตาไขลาน ชอบเพลงที่มีจังหวะ 7-8 เดือน คลานได้ เริ่มซน บางคนชอบปีนขึ้นเก้าอี้ คลานขึ้นบันได ชอบรื้อของเล่นออกจากกล่อง/ตะกร้า ของเล่น ใช้มือปัดออกเมื่อไม่ต้องการสิ่งนั้น เมื่อถูกแย่งของจะโกรธและร้องไห้ ฟันเริ่มขึ้น ของเล่นชนิดเดิมที่มีเสียง เริ่มสนใจสิ่งของภายในบ้าน ชอบเล่นของเล่นชิ้นใหญ่ เช่น ไม้ขนไก่ ที่ตักผงขยะ โทรศัพท์ เลือกของเล่นด้วยตัวเอง 8-9 เดือน คลานได้คล่องขึ้น คลานไปไหนๆก็ได้ เริ่มปีนขึ้นเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้าน เริ่มเข้าใจความหมายของคำพูดและเปล่งเสียงได้ เช่น หม่ำๆ เลียนแบบคำสั่งง่ายๆได้ เช่น “บ๊ายบาย สาธุ” เล่นจ๊ะเอ๋เป็น ชอบใจจะหัวเราะเสียงดัง ชอบเล่นที่เคาะแล้วมีเสียงดัง เช่น กลอง ระนาด ขยับร่างกายตามจังหวะเพลง 9-10 เดือน เกาะยืนได้ บางคนเกราะเดินได้ ซนมากขึ้นและไม่อยู่นิ่ง สนใจสิ่งของทุกอย่างที่มองเห็น ชอบเลียนแบบท่าทางผู้ใหญ่ เข้าใจคำว่า ไม่ อย่าทำ สนใจสิ่งแวดล้อมในบ้าน ชอบเล่นของใช้ในบ้าน เช่น ถ้วยชามช้อน ขวดเครื่องสำอาง ปลั๊กไฟ เล่นเพราะสำรวจ อยากรู้อยากเห็น ต้องเฝ้าดูอย่างใกล้ชิดและคอยระมัดระวังอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเด็ก 10-11 เดือน เมื่อเกาะเดินเก่งขึ้น เด็กก็จะเริ่มปล่อยมือและตั้งไข่ เปิดบานประตูเล็กได้ เปิดลิ้นชักได้ อยากทดลองทำทั้งๆที่รู้ว่าห้ามทำ บางคนเรียก พ่อ แม่ ได้ เล่นของเล่นที่เป็นบล็อกจับเข้าจับออก ฆ้อนตอกหมุดเป็นสีๆ ดูหนังสือภาพ เปิดหนังสือภาพ เป่ากันหันลม เป่าฟองสบู่
11-12 เดือน เริ่มก้าวเดิน ไต่ขึ้นบันไดได้เอง พูดเป็นคำได้ เช่น หมา ป้า ไป ไม่ เด็กบางคนอาจจะยังไม่พูดแต่ฟังรู้เรื่อง มีความอยากรู้อยากเห็นมากขึ้น ชอบเที่ยวนอกบ้าน เล่นเชิงสำรวจ เล่นรถลาก เล่นสนามเด็กเล่น แกว่งชิงช้า ม้าโยก ม้าหมุน 1 ปี -
1 ปี ๖ เดือน เดินได้เอง ถือถ้วยน้ำดื่มเองได้ ใช้ช้อนตักอาหารเข้าปากได้บ้าง เมื่อกลัวจะเกาะติดแม่หรือพี่เลี้ยง ชอบสำรวจนอกบ้าน พูดเป็นคำๆ และพูดได้หลายคำ เรียกชื่อคนใกล้ชิดได้ เรียนรู้นอกบ้าน เที่ยวสวนสัตว์ ฝึกพูดและจำภาพในสมุดภาพ ฟังนิทานก่อนนอน เล่นตุ๊กตารูปคนและรูปสัตว์ เล่นรถ นั่งบนรถที่ใช้ขายันไปข้างหน้า 1 ปี ๖ เดือน -
2 ปี เดินได้มั่นคง ขึ้นบันไดได้ วิ่งได้ บางคนเริ่มเดินถอยหลังได้ มีความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น พูดคุยรู้เรื่อง แสดงความเป็นเจ้าของในของใช้ของตน เช่น รองเท้า ถ้วยชาม ของเล่น หนังสือ
เล่นเครื่องเล่นกลางสนาม เล่านิทานเสริมสร้างจินตนาการ ต่อบล็อกรูปทรงเรขาคณิต ขีดเขียนบนกระดาษ ปั้นดินน้ำมัน เต้นตามจังหวะเสียงเพลง


2-3 ปี วิ่งเร็วขึ้น ช่วยตัวเองได้มากขึ้น แต่งตัวได้บางส่วน รับประทานอาหารเองได้ จัดดินสอขีดเขียนได้ ชอบเล่นนอกบ้าน เล่นทราย เล่นน้ำ ปั่นจักรยานสามล้อได้ ต่อบล็อก วาดรูประบายสี ดูการ์ตูน เล่นกับเพื่อนวัยเดียวกันได้แต่เล่นได้ไม่นาน ถ้าเล่นในบ้านจะเล่นได้ไม่นาน จินตนาการสูง ชอบเล่นบทบาทสมมุติกับเพื่อน 3-4 ปี จินตนาการสร้างสรรค์พัฒนารวดเร็วมาก ทำกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตัวเองหลายอย่าง ชอบช่วยงานบ้าน มีความอยากรู้อยากเห็น ต้องการค้นหาสิ่งใหม่ๆ เด็กจะมีคำถามถามผู้ใหญ่อยู่บ่อยๆ เล่าเรื่องสั้นๆได้ เล่นของเล่นชนิดเดิม เริ่มแยกเพศ เด็กชายเล่นรถ/หุ่นยนต์ เด็กหญิงเล่นตุ๊กตา แต่งตัวตุ๊กตา ชุดทำครัว ปั้นดินน้ำมัน เล่นเกมแบบมีกติกาการเล่นได้ ฝึกว่ายน้ำได้ หัดถีบจักรยาน 4-5 ปี ใช้แขนขาได้อย่างอิสระตามต้องการ กระโดด ตีลังกา ยืนขาเดียว ว่ายน้ำเป็น เด็กบางคนขี่จักรยาน 2 ล้อได้ เด็กจะจดจำเครื่องหมายและสัญลักษณ์ต่างๆได้แม่นยำ รู้จักวัน เวลา สี มีความฝันตามจินตนาการ เริ่มมีความชอบในการเล่นที่แตกต่างกัน เช่น ชอบร้องเพลง/เสียงเพลง ชอบกีฬา ชอบหนังสือ ชอบศิลปะ ชอบเล่นสิ่งที่ชอบและเล่นซ้ำๆไม่รู้จักเบื่อ สนุกและมีความสุขกับการเล่นสิ่งนั้นๆ 5-6 ปี สามารถทำกิจวัตรประจำวันของตนเองได้และมีความรับผิดชอบ รู้จักความอดทน รู้หน้าที่ ทำกิจกรรมร่วมกับกลุ่มเพื่อนๆได้ กล้าแสดงความคิดเห็นของตนเอง เล่นเหมือนเดิม เล่นกับเพื่อนเป็นกลุ่ม เล่นเป็นทีม เช่น วิ่งเปี้ยว วิ่งผลัด มอญซ่อนผ้า

    ดังนั้นผู้สูงอายุที่มีหน้าที่เป็นผู้ปกครองดูแลเด็กแทนพ่อแม่ จึงควรได้รับการส่งเสริมความรู้เรื่องพัฒนาการของเด็กทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา โดยมีของเล่นเป็นสื่อกลาง ทั้งนี้ ในอดีตของเล่นพื้นบ้านมักจะเป็นของที่ผลิตขึ้นเอง และประยุกต์ดัดแปลงไปตามธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ซึ่งแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างหลากหลายกันไป ของเล่นพื้นบ้านจึงเป็นวัตถุทางวัฒนธรรมที่สะท้อนถึงสภาพวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ภูมิปัญญาของผู้ใหญ่รุ่นปู่ย่าตายาย การจัดทำของเล่นจากภูมิปัญญาท้องถิ่น      ที่จะช่วยในเรื่องของการสืบสานภูมิปัญญาของท้องถิ่น โดยคนเพียงคนเดียวก็สามารถทำการผลิตของเล่นได้ โดยใช้วัตถุดิบ/วัสดุอุปกรณ์ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการประหยัดต้นทุนในการผลิต โดยนำความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น มาถ่ายทอดสู่คนในรุ่นต่อไป ตัวอย่างของเล่นพื้นบ้านชนิดต่างๆ มีดังนี้








    เทศบาลเมืองม่วงงาม มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2552 มาตรา 50 (7) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ ประกอบกับพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอน    การกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2549 มาตรา 16 (10)    สังคมสงเคราะห์และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชราและผู้ด้อยโอกาส เทศบาลเมืองม่วงงามจึงจัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการผลิตสื่อและของเล่นเสริมพัฒนาการเด็ก เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ด้วยของเล่นจากภูมิปัญญาท้องถิ่นและจากวัสดุธรรมชาติในท้องถิ่น รวมทั้งให้ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในการผลิตและเลือกของเล่นที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กได้เหมาะสมกับวัย เพื่อให้สอดคล้องกับประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ภายใต้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ    เรื่อง การจัดบริการสาธารสุขของกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2561 และ พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 25550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ด้วยของเล่นจากภูมิปัญญาท้องถิ่นและจากวัสดุธรรมชาติในท้องถิ่น

เด็กปฐมวัยมีสื่อและของเล่น ที่ส่งเสริมพัฒนาการเพียงพอต่อความต้องการ

50.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในการผลิตและเลือกของเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยได้เหมาะสมกับวัย

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ความเข้าใจในการผลิตและเลือกของเล่นเพื่อเด็กปฐมวัยให้เหมาะสมกับวัย

0.00
3 ข้อที่ 3 เพื่อให้ผู้ปกครองรู้จักผลิตสื่อของเล่นจากวัสดุธรรมชาติ

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการ สามารถนำวัสดุธรรมชาติในท้องถิ่นมาผลิตสื่อและของเล่นได้

0.00
4 ข้อที่ 4 เพื่อให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วนในการพัฒนาสื่อเพื่อเด็กปฐมวัย

สื่อและของเล่นเสริมพัฒนาสามารถใช้งานได้จริงกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
16 ม.ค. 62 จัดซื้ออุปกรณ์ในการผลิตสื่อและของเล่นเสริมพัฒนาการเด็ก 0 10,576.00 -
23 ม.ค. 62 ดำเนินงานโครงการ 50 8,000.00 -
13 ก.พ. 62 สรุปผลและรายงานผลการดำเนินโครงการฯ 0 200.00 -
รวม 50 18,776.00 0 0.00

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)

  1. สำรวจจำนวนผู้ปกครองที่ต้องการฝึกทักษะการผลิตสื่อและของเล่นเสริมพัฒนาการเด็ก
  2. ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ
  3. รับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ
  4. ติดต่อประสานงานวิทยากร
  5. จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการผลิตสื่อและของเล่นเสริมพัฒนาการเด็ก
  6. ดำเนินงานโครงการ
  7. ส่งมอบของเล่นให้กับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของเทศบาลเมืองม่วงงาม
  8. สรุปผลและรายงานผลการดำเนินโครงการ

    กำหนดการ เวลา 08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียน เวลา 09.00 – 09.30 น. พิธีเปิด โดย นายกเทศมนตรีเมืองม่วงงาม เวลา 09.30 – 12.00 น. ให้ความรู้การส่งเสริมความรู้เรื่อง พัฒนาการของเด็กทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา
                      โดยมีของเล่นเป็นสื่อกลาง เวลา 12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน เวลา 13.00 – 15.30 น. ทำกิจกรรม การผลิตของเล่นเสริมพัฒนาการเด็ก จากวัสดุภายในท้องถิ่น เวลา 15.30 – 16.00 น. พิธีปิดและมอบประกาศนียบัตร

*หมายเหตุ: - กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม   - พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม เวลา 10.30 น. และ 14.30 น.

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในการผลิตและเลือกของเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย
  2. ผู้ปกครองสามารถผลิตสื่อและของเล่นจากภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัสดุธรรมชาติในท้องถิ่น
  3. ผู้ปกครองสามารถลดรายจ่ายค่าของเล่นและสื่อส่งเสริมพัฒนาการ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 2561 12:07 น.