กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาและส่งเสริมเครือข่ายชุมชนร่วมใจป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ตำบลละหาร ปี 2560
รหัสโครงการ 60-L3060-02-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ตำบลละหาร
วันที่อนุมัติ 17 มกราคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 49,825.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ รพ.สต.ตำบลละหาร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลละหาร อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.659,101.627place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก เป็นโรคที่นำโดยยุงลาย ซึ่งมีเชื้อไวรัสที่เรียกว่า Dengue virus โดยพิจารณาทางด้านระบาดวิทยามากในเด็กอายุ 5-9 ปี แต่ปัจจุบันพบได้ทุกกลุ่มอายุในแต่ละปีมีผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อๆ และทางด้านการแพทย์ ผู้ป่วยไข้เลือดออกที่รุนแรงอาจเกิดภาวะ ซ็อกซึ่งเป็นมาจากการรั่วของพลาสมา ทำให้เกิดภาวะซ็อคเสียชีวิตอย่างรวดเร็วถ้าไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง
จากการรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาของสำนักงานสาธารสุขอำเภอสายบุรีจังหวัดปัตตานี รายงานสถิติการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของผู้ป่วย 3 ปีย้อนหลังในเขตตำบลละหาร ด้งนี้ ปี 2557-2559พบเท่ากับ 494.64, 57.36 , 307.69 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ (เกณฑ์ตัวชี้วัด ไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร) และปี 2560ตำบลละหารพบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก จำนวน10 ราย คิดเป็น 208.99 ต่อประชากรแสนคน(ตั้งแต่เดือน มกราคม 2560– มีนาคม 2560) ซึ่งดูจากอัตราป่วยพบว่ามีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น หากไม่มีการควบคุม ป้องกัน ที่รวดเร็ว ทันเวลา ถูกต้อง และต่อเนื่อง จากการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่าการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนโดยชุมชนมีส่วนร่วมเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกได้ ดังนั้นการดำเนินการควบคุมป้องกัน โรคไข้เลือดออก จะให้ประสบผลสำเร็จได้ จำเป็นต้องใช้กลยุทธ์เชิงรุก การส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องและชุมชนเป็นแกนหลักในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ประชาชนร่วมมือในการดูแลสิ่งแวดล้อม แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอันเป็นพาหะสำคัญในการแพร่กระจายโรค ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับวงจรชีวิตยุงลาย ให้ความสำคัญในการกำจัดตัวเต็มวัยและลูกน้ำยุงลายอย่างเหมาะสม กระตุ้นให้ประชาชนมีความตระหนักที่จะเฝ้าระวังโรค เห็นความสำคัญและช่วยกันดูแลสิ่งแวดล้อมในชุมชนตนเองอย่างต่อเนื่อง ด้งนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลละหาร จึงได้ทำโครงการนี้เพื่อนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพของคนชุมชนตลอดจนถึงควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาประชาชนในหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา อสม.นักเรียน มีความรู้ความเข้าใจและร่วมมือในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง

 

2 2. เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออกในตำบลละหาร

 

3 3. เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในตำบลละหาร

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00

1.ประชุมชี้แจงและร่วมจัดทำแผนการรณรงค์ควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ให้แก่ เจ้าหน้าที่ สาธารณสุข, เจ้าหน้าที่ อบต., อสม., ผู้นำชุมชน, ผู้นำศาสนา, สมาชิก อบต. และ ครูอนามัยโรงเรียน และจัดตั้งทีมงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม. ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา
2. จัดหาวัสดุในการประชุมชี้แจงและร่วมจัดทำแผนปฏิบัติงาน ควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ 3. จัดหาเคมีภัณฑ์สำหรับการควบคุมป้องกันโรคเมื่อมีโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้น 4. จัดกิจกรรมทบทวนความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก และฝึกปฏิบัติการทักษะการพ่นยุงด้วยเครื่องพ่นยุงสำหรับทีมควบคุมโรคระดับหมู่บ้าน/ตำบล 5. ดำเนินกิจกรรมการรณรงค์ ควบคุม ป้องกัน โรคไข้เลือดออก BIG CLEANNING DAY ในหมู่บ้านดังต่อไปนี้ 5.1 กิจกรรมการประชาสัมพันธ์ก่อนการรณรงค์ โดยให้ความรู้เรื่องไข้เลือดออกผ่านหอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน/มัสยิด รถประชาสัมพันธ์
5.2 จัดทำแผ่นพับความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก และจัดทำไวนิลประชาสัมพันธ์เรื่องการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ในหมู่บ้าน/ชุมชน และสถานที่ราชการต่างๆ 5.3 กิจกรรมการรณรงค์ ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้าน บ้านเรือน มัสยิด โรงเรียน และแจกทรายสารเคมีกำจัดลูกน้ำยุงลาย และแจกเอกสาร /โปสเตอร์เป็นรายครัวเรือน โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม.แกนนำสุขภาพ ฯ ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา แกนนำนักเรียน และครูอนามัยโรงเรียน
6. สรุป และประเมินผลการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก สำหรับ อาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน และผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในตำบลละหารเห็นความสำคัญ และมีส่วนร่วมในการควบคุม ป้องกัน โรคไข้เลือดออก
    1. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 มี.ค. 2560 15:29 น.