กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเสี่ยงต่อโรคกลุ่ม metabolic ตำบลละหาร ปี 2560
รหัสโครงการ 60-L3060-02-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต. ตำบลละหาร
วันที่อนุมัติ 17 มกราคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 48,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ รพ.สต.ตำบลละหาร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลละหาร อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.659,101.627place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เบาหวานเป็นโรคซึ่งทั่วโลกกำลังให้ความสนใจอย่างยิ่ง เนื่องจากตัวเลขของผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในปัจจุบันพบว่ามีผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานทั้งสิ้น 189 ล้านคนและคาดว่าในอีก 20 ปี ข้างหน้าจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นถึง 324 ล้านคน ที่น่าเป็นห่วงคือผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนใหญ่เสียชีวิตจากภาวะโรคแทรกซ้อนซึ่งเป็นสิ่งที่เราสามารถป้องกันและควบคุมได้ อีกทั้งยังพบว่า อายุเฉลี่ยของการเริ่มต้นป่วยเป็นโรคเบาหวานนั้นน้อยลงเรื่อยๆ และมีแนวโน้มจะลุกลามไปถึงเด็กในอนาคตอันใกล้ด้วยวิถีการดำรงชีวิตที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะเรื่องการรับประทานอาหาร เบาหวานนอกจากจะเป็นโรคที่รักษาไม่หายแล้ว ยังเชื่อมโยงไปสู่โรคแทรกซ้อนอื่นๆอีกมากมาย เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูงโรคหัวใจและหลอดเลือดสำหรับสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานคือ “กรรมพันธุ์” และ “สิ่งแวดล้อม” ในส่วนของกรรมพันธุ์นั้นเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีอายุมากขึ้น ขณะที่สิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยเสี่ยงที่เริ่มต้นตั้งแต่ในครรภ์แม่ แม้กรรมพันธุ์จะเป็นสิ่งที่แก้ไขไม่ได้ แต่ก็สามารถควบคุมปัจจัยเรื่องอาหารและสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันโรคเบาหวานได้ การรักษาเบาหวานโดยการให้ความสำคัญเฉพาะด้านการแพทย์จึงไม่เพียงพอเพื่อการควบคุมโรคที่สมบูรณ์ ผู้ป่วยและผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงหรือประชาชนทั่วไปต้องได้รับความรู้เรื่องโรค รวมไปถึงความรู้เรื่องโภชนาการและการออกกำลังกายที่ถูกต้อง พร้อมทั้งได้รับการกระตุ้นการเปลี่ยนพฤติกรรมผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น ค่ายเบาหวานหรือกิจกรรมชมรมอย่างสม่ำเสมอซึ่งถ้าปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดตั้งแต่ระยะต้น ก็จะสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขเช่นคนปกติโดยปราศจากโรคแทรกซ้อน ซึ่งทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลละหาร ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับการดูแลตนเองเพื่อให้ห่างไกลโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ประกอบกับผลการตรวจคัดกรองความเสี่ยงในกลุ่มประชาชนตำบลละหารที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลละหาร เดือน ตุลาคม 2559 ถึงเดือน ธันวาคม 2560 จำนวน 1,449 ราย พบว่า ตำบล ละหาร มีผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานจำนวน 167 ราย และเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 228 รายจึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเสี่ยงต่อโรคกลุ่ม Metabolic ตำบลละหาร ปี 2560 ครั้งนี้ขึ้น โดยเน้นที่กลุ่มประชากรที่เป็นกลุ่มเสี่ยงก่อน โดยการจัดกิจกรรมที่เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ด้วยหลัก 3อ. 2ส. ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงของตำบลละหารต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงของตำบลละหาร มีความรู้และได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

 

2 2.เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

 

3 3.เพื่อให้ประชาชนตำบลละหาร ตระหนักและเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพ

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00
  1. ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พร้อมแจ้งรายชื่อกลุ่มเป้าหมายในละแวกที่รับผิดชอบ เพื่อทำความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ด้วยหลัก 3อ. 2ส. พร้อมแจ้งแผนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแก่กลุ่มเป้าหมายต่อไป
  2. จัดเตรียมวัสดุในการดำเนินการประชุมชี้แจงอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
  3. จัดทำสมุดประจำตัวผู้เข้าร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
  4. จัดกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแก่กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ จำนวน 5 รุ่นๆ ละ 20 คน รวม 100 คน ด้วยหลัก 3อ. 2ส.
  5. กิจกรรมการติดตามและประเมิน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สำหรับกลุ่มเป้าหมาย 100 คน หลังจากได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้ว จำนวน 3 ครั้ง
  6. กิจกรรมการประเมิน และสรุปผลการดำเนินงาน แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เครือข่ายประชากรกลุ่มเสี่ยง มีความรู้ และ ทัศนคติที่เหมาะสม ในเรื่องการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมสุขภาพ ด้วยหลัก 3อ.2ส.
  2. กลุ่มเป้าหมายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวาน /ความ ดันโลหิตสูง ได้รับการติดตามประเมินผลเป็นระยะตามที่กำหนดไว้
  3. ประชาชนตำบลละหารมีสุขภาพดี และปฏิบัติตัวด้านสุขภาพที่เหมาะสม ห่างไกลโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคหลอดเลือด
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 มี.ค. 2560 15:34 น.